วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 การออกแบบนิตยสาร
           นิตยสารหรือวารสารมีความหมายที่ใกล้เคียงกันมากในปัจจุบันจน เกือบแยกไม่ ออกว่าเล่มใดคือนิตยสาร เล่มใดคือวารสาร ฉะนั้นในเรื่องต่อไปนี้ จึงกล่าวถึงในลักษณะรวมกันไปทั้งสองชนิด และจะเรียกว่า นิตยสารเท่านั้น

           นิตยสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ต่างจากหนังสือพิมพ์ คือ หนังสือพิมพ์ มุ่งเสนอข้อเท็จจริงและข่าวสารที่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่นิตยสารมุ่งเสนอเนื้อหาทางด้านการบันเทิง วิชาการบทวิเคราะห์ บทความ วิจารณ์และแนวคิด เป็นส่วนใหญ่มิได้มุ่งถึงความสดใหม่ของข่าว และโดยทั่วไปคุณภาพในการพิมพ์และการออกแบบจะดีกว่าหนังสือพิมพ์รายวัน การวางรูปแบบของนิตยสาร จึงมักจะโน้มเอียงในทางการโฆษณามากว่าหนังสือพิมพ์ มีการพิมพ์ภาพสี่สีใช้กระดาษเนื้อค่อนข้างดี ภาพดี เพื่อเรียกความสนใจให้แก่ผู้อ่าน
ลักษณะของนิตยสารทั่วไปควรเป็นดังนี้

           1. มีขนาดเล็กพอที่จะเปิดดูพร้อมกันคราวเดียว 2 หน้าได้
           2. มีหน้าหลายหน้า และมีเรื่องหลายเรื่องต่อกันไปตามลำดับ
จุดมุ่งหมายของการออกแบบหน้านิตยสาร
โดยทั่วไปการวางรูปแบบนิตยสารจะมีจุดมุ่งหมายดังนี้
           1. สร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน เป็นสิ่งสำคัญเบื้องแรกที่ผู้ออกแบบจะต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้สีที่สวยงาม ใช้ภาพที่น่าสนใจ ใช้พาดหัวเรื่อง หรือชื่อเรื่องในแบบที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและเร้าความสนใจ เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามเนื้อหาต่อไป

• หลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับหัวเรื่องหรือชื่อเรื่องบนหน้าของนิตยสารมีดังนี้
                      1. ต้องมีขนาดตัวอักษรโตพอสมควรที่จะเห็นได้ชัดเจน
                      2. มีบริเวณว่างรอบตัวที่เป็นหัวเรื่องเพื่อให้มีความเด่น
                      3. การจัดตำแหน่งของชื่อเองนี้อาจจัดไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด
                      4. ชื่อเรื่องควรสั้นแต่ได้ใจความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
           2. ทำนิตยสารให้อ่านง่ายดูง่าย วัตถุประสงค์ข้อนี้ ทำได้โดยการใช้ตัวอักษรที่อ่านง่ายและ
ออกแบบที่ดี เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสบายตาในการอ่านและติดตามเนื้อเรื่องได้ง่ายที่สุด ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น การใส่คำอธิบายภาพไว้ใกล้ภาพก็จะเป็นการช่วยการอ่านได้อย่างมากเช่นกัน นอกจากนี้ การกำหนดขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมกับขนาดคอลัมน์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้า
คอลัมน์แคบ แต่ใช้อักษรตัวโตเกินไปก็จะทำให้การอ่านไม่เรียบมีการสะดุดตลอดเวลาเพราะ ต้องเปลี่ยนบรรทึกบ่อย แต่ถ้าคอลัมน์กว้างแล้วใช้ตัวอักษรเล็ก ผู้อ่านจะต้องเพ่งสายตามาเพื่อติดตามอ่านข้อความ และอาจหลงบรรทัดได้ง่าย
           3. รูปแบบ (format) นิตยสารมีรูปแบบต่าง ๆ กันและมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กขนาดพอใส่กระเป๋าได้ จนถึงขนาดหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (tabloid) การกำหนดขนาดและรูปแบบของนิตยสารว่าจะเป็นขนาดใดนั้น มักจะเนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ คือ
                      1. เพื่อความสะดวกในการพก เช่น ต่วยตูน, Reader’Digest
                      2. เพื่อให้เหมาะกับลักษณะของเนื้อหา
                      3. เพื่อให้เหมาะกับขนาดของเครื่องพิมพ์
           นิตยสารขนาดใหญ่มักเป็นพวกที่มีเนื้อหาที่ต้องการแสดงภาพ ประกอบหรือนวนิยายเป็น
ส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามนิตยสารโดยทั่วไปก็จะมีเนื้อหาที่เป็นข้อความและเป็น ภาพอย่างละประมาณครึ่งต่อครึ่ง และไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้งเป็นส่วนมาก

           4. การกำหนดกรอบ (frame) กรอบหรือขอบของหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกำหนดในการจัดหน้านิตยสารเพราะ
เป็นเครื่องแสดงจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเนื้อความ เพื่อความสะดวกใน
การสังเกตของผู้อ่าน
การมีกรอบช่วยให้การจัดหน้าทำได้ง่ายขึ้น และยังช่วยในการรวบรวมเรื่องที่
มีลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกันในกรอบเดียวกันด้วย

           5. นิตยสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ผู้อ่านจะมองเห็นพร้อมกันทีเดียว 2 หน้า ซึ่งต่างไปจากหนังสือ
พิมพ์ที่ผู้อ่านจะอ่านคราวละหน้า ฉะนั้นในการออกแบบหน้าใดหน้าหนึ่งจะต้องคำนึงถึงอีกหน้าหนึ่งด้วยเสมอ เช่น ในกรณีที่เป็นเรื่องเดียวต่อเนื่องกันอาจออกแบบให้ชื่อเรื่องหรือภาพคลุมไป ทั้ง 2 หน้า เพื่อแสดงความต่อเนื่องกัน

           6. ในกรณีที่ 2 หน้าซ้ายเป็นคนละเรื่อง จะต้องออกแบบไม่ให้ผู้อ่านเกิดความสับสน จึงต้องออกแบบให้ 2 หน้ามีลักษณะต่างจากกัน เช่น เว้นช่องว่างตรงบริเวณอกหนังสือไว้มากหน่อย และจัดภาพหรือเรื่องให้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

           7. การจัดหน้าของนิตยสารจะต้องมีทั้งความสวยงาม น่าสนใจ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้หลักการแออกแบบหหน้าของส่งพิมพ์ที่กล่าวถึงก่อน หน้าที่แล้ว และข้อควรระวังก็คือ ต้องหลีกเลี่ยงการออกแบบที่ขาดความเป็นระเบียบในการ

           จัดองค์ประกอบ ซึ่งความจริงแล้วในการจัดหน้าหนังสือนั้น ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบมาก ยิ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ มากเท่าใดก็ยิ่งจัดยากเท่านั้น ความเรียบง่ายและได้ประโยชน์ใช้สอยครบครันจะทำให้แลดูงามกว่า แต่ทั้งนี้หน้าหนังสือที่จัดออกมานั้นจะต้องสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะและจุด สำคัญของเรื่องในหน้านั้น ๆ

           8. ปกของนิตยสาร ปกของนิตยสารสวนใหญ่จะประกอบด้วยตัวหนังสือ ภาพ และชื่อนิตยสารนั้น ๆ ซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ และมีขนาดใหญ่ พอที่ผู้อ่านจะเห็นและจำได้ง่าย การออกแบบปกหน้าจะต้องมีความยืดหยุ่นพอควร เพื่อให้สามารถจัดหน้าเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ไม่ซ้ำกันในแต่ละฉบับ
           ภาพประกอบบนปกมักจะเลือกมาจากภาพในเนื้อเรื่อง เพื่อชักนำให้ผู้อ่านติดตามเรื่องภายใน และใช้ตัวหนังสือเป็นเครื่องชี้แนะเรื่องราวภายใน นิตยสารบางฉบับอาจขายพื้นที่บางส่วนบนปกเป็นพื้นที่โฆษณาด้วย ซึ่งผู้ออกแบบก็จะต้องจัดไว้ในมุมที่ไม่บดบังความเป็นเอกลักษณ์ของนิตยสาร นั้น ๆ

           กล่าวโดยสรุปแล้วสามารถนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบมา ใช้ในการจัด หน้านิตยสารได้เป็นอย่างดี และการศึกษาจากนิตยสารต่าง ๆ ที่วางขายในท้องตลาดก็เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่จะเรียนรู้วิธีปฏิบัติ ที่ผู้อื่นได้ทำไปแล้ว

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15 พฤษภาคม 2560 เวลา 03:17

    สั่งพิมพ์นิตยสารจำนวนน้อยๆ ลองพิมพ์เว็บนี้ดูนะคะ https://goo.gl/h6Gxhy

    ตอบลบ