วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทฤษฎีสี


แม่สี

แม่สีจิตวิทยา
ม่ส
กล่าวคือ สีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน

                                        

แม่สีวิทยาศาสตร์
   
  แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ
สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด สีเขียวมรกต และสีม่วง

,
                                                  

แม่สีศิลปะ
.............แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ
ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์
แม่สีศิลปะ
     แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ
ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์
ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
บด้วย


                                                  



แม่สี
 Primary Colour


 แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม  แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ
    1.
แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดงสีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
    2.
แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
    
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน

วงจรสี   ( Colour Circle)


  
 สีขั้นที่ 1
คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
  
   สีขั้นที่
คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
                   
สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
                   
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
                   
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว
  
   สีขั้นที่
คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6  สี คือ
                   
สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
                   
สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
                   
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
                   
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
                   
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
                   
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
  
   วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7
สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
  
  สีตรงข้าม
รือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
     1.
มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
     2.
ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
     3.
ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
  



    สีกลาง
คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทาสีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล   สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา
วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้























































 
 
 
ประเภทของสี
     นอกจากการ ศึกษาเกี่ยวกับแม่สี วงจรสีและวรรณะของสีแล้ว นักเรียนควรได้รู้จักประเภทต่างๆของสีในงานศิลปะด้วย ทั้งนี้เพราะว่าถ้านักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องของสียิ่งมากขึ้นก็จะสามารถ นำความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างถูกต้องตาม โอกาส และความต้องการ ซึ่งผู้เรียนเองต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร ในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้เรื่องสีประเภทต่างๆไปใช้ เพราะถ้าหากขาดการฝึกฝนที่ดีแล้วผลงานก็จะออกมาไม่น่ามอง ดังนั้นการศึกษาถึงประเภทต่างๆของสีจึงมีความจำเป็น ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนที่เป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการ ศึกษาดังนี้

ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี
    
สี ต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และเหลืองหรือเรียกว่าค่าในน้ำหนักของสีหลายสี (Value of different color) ดังตัวอย่าง

                    

                   

     สำหรับ ค่าความเข้มอีกประเภทหนึ่งเกิดจากการนำสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวแล้วนำมาไล่ น้ำหนักอ่อนแก่ในตัวเอง เราเรียกว่าค่าน้ำหนักสีเดียว (Value of single color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝนได้เป็นอย่างดีแล้ว สามารถนำความรู้จากการไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ได้ มากในการสร้างงานจิตรกรรม ดังตัวอย่าง


                   

                   

     นักเรียนหรือผู้ที่ศึกษาทางศิลปะบางคนชอบที่จะให้สีหลายๆสี โดยเข้าใจว่าจะทำให้ภาพสวยแต่ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด กลับทำให้ภาพเขียน ที่ออกมาดูไม่สวยงาม เพราะการที่จะให้สีหลายสีให้ดูกลมกลืนกันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากเราได้มีโอกาสได้สังเกตภาพเขียนที่สวยๆของศิลปินหลายๆท่านจะพบว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้ใช้สีที่มากมายเลย ใช้อย่างมากสองถึงสี่สีเท่านั้นแต่ เราดูเหมือนว่าภาพนั้นมีหลากหลายสีทั้งนี้ก็เพราะว่าเขารู้จักใช้ค่าน้ำหนัก สีๆเดียวโดยการนำเอาสีอื่นเข้ามาผสมผสานบ้างเท่านั้น


สีตัดกัน
.สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเองการที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่
ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดูถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสี คู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริงตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังน
ี้ี้

  
     สีดังตัวอย่างนั้น เป็นคู่สีที่ตัดกันซึ่งการใช้สีตัดกันในการสร้างงานศิลปะนั้นต้องมีหลัก เกณฑ์พอสมควรหากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้ว
จะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วยการสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัด
กันไปใช้บางครั้งทำให้ภาพดูน่าเบื่อหากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ดังนั้นหากจะนำสีตัดกันมาใช้ในงานศิลปะควรต้อง
ศึกษาหลักการต่อไปนี้

                                           
     เมื่อเราระบายสีในภาพโดยใช้โทนสีที่กลมกลืนกัน 5 - 6 สี ถ้าต้องการให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จำเป็นต้องใส่สีคู่ที่ 5 หรือ 6 ลงไป
ให้เลือกเอาสีใดสีหนึ่ง อาจเป็นหนึ่งหรือสองสีที่เกิดการตัดกันกับวรรณะของสีโดยรวมของภาพนั้น ซึ่งไม่เจาะจงให้ตัดกับสีใดสีหนึ่ง
โดยเฉพาะวิธีการใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้

        1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
        2. ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้

- การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
- หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
- หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
- หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ
เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้ดังตัวอย่าง

                                                                                    
                               ตัวอย่างภาพสีตัดกัน                       ตัวอย่างภาพการลดความรุนแรงของสีตัดกันด้วยสีดำ       

อย่างไรก็ตามหลักการใช้สีตัดกันในงานศิลปะที่กล่าวมานั้นอาจเป็นหลัการกว้างๆเท่านั้น
เพราะ เมื่อเราสร้างสรรค์งานศิลปะจริงๆ จะเคร่งคัดตามเกณฑ์ทุกประการไปคงไม่ได้ ผู้สร้างสรรค์ควรต้องมีการฝึกฝน และพลิกแพลงวิธีการใช้งานด้วยตนเอง

สีเอกรงค์
     เอกรงค์ คือ สี สีเดียวหรือสีที่แสดงออกมาเด่นเพียงสีเดียว ซึ่งเหมือนว่าจะคล้ายคลึงกับสีสวนรวมหรือสีครอบงำ แต่ที่จริงแล้วสี
ีทั้งสอง ชนิดมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป สีส่วนรวมนั้นสีที่ใช้อาจเป็นสีสด หรือสีที่ลดค่าลงไปแล้ว แต่สีเอกรงค์ต้องใช้สีใดสีหนึ่งเป็น
สีสด ยืนพื้นเพียงสีเดียวแล้วลดค่า น้ำหนักอ่อนแก่ ในระยะต่างๆ เป็นต้น

     สีดัง ตัวอย่างนั้นเป็นคู่สีที่ตัดกันซึ่งการใช้สีตัดกันในการสร้างงานศิลปะนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควร หากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้วจะ
ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วย การสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัดกัน
ไปใช้บางครั้งทำให้ภาพดูน่าเบื่อหากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ดังนั้นหากจะนำสีตัดกันมาใช้ในงานศิลปะควร ต้องศึกษาหลักการต่อไ
ปนี้
หลัหลัก เกณฑ์คือ เมื่อเอาสีที่สดใสเป็นจุดเด่นของภาพแล้ว สีที่เป็นส่วนประกอบรอบๆต้องลดค่าความสดลงแล้วนำเอาสีที่จุดเด่นนั้นไปผสม ด้วยบ้างทุกๆแห่งในภาพ ข้อสำคัญคือ สีที่จะนำมาประกอบนั้นจะใช้กี่สีก็ตาม แต่โดยมากนิยมใช้ไม่เกิน 5 สีโดยนำเอามาจากวงจรสีด้านหรือวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ไม่นิยมนำมาจากสองวรรณะ รวมทั้งสีที่ต้องการใช้เป็นสียืนพื้น(เอกรงค์)ด้วย เพราะสีที่อยู่ในด้านหรือวรรณะเดียวกันจะผสานกลมกลืนกันง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกสีมา 6 สีจากวงจรสีคือ เหลือง ส้ม แสด แดงชาด แดงเลือดนก และม่วงแดง เมื่อนักเรียนจะทำเอกรงค์ของสีเหลือง ก็ใช้สีเหลืองเป็นหลักหรือสีเด่น วางจุดใดจุดหนึ่งของภาพแล้วนำสีอื่นๆข้างต้นมาลดค่าหรือความสดใส ลง(neutralized) โดยการนำเอาสีตรงข้างของแต่ละคู่มาผสมลงไปพอสมควร เมื่อจะระบายก็นำเอาสีเหลืองที่เป็นสียืนพื้นเข้า
มาผสมด้วยเล็กน้อยก็จะได้สีเอกรงค์ของสีเหลืองตามที่เราต้องการ


                                                    
                                                                      ตัวอย่างสีเอกรงค์ของสีแดง

     การสร้าง สรรค์งานศิลปะด้วยสีเอกรงค์นี้จะได้ผลงานที่งดงาม เพราะโครงสร้างสีจะดูไม่รุนแรง เพราะว่าจะมีมีเรื่องสีตัดกันเข้าไปผสม และสีแต่ละวรรณะก็ไม่เข้าไปปะปนซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นงานศิลปะที่มีโครงสร้างประณีต ผลงานชิ้นเด่นๆของโลกก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของสีเอกรงค์คือ โครงสีจะละเมียดละไม ไม่เบื่อง่ายเหมือนกับการใช้สีหลายสีมาผสมผสานกัน

สีส่วนรวมหรือสีครอบงำ
.     สีส่วนรวมหรือสีครอบงำหมายถึงสีใดสีหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าสีอื่นใน พื้นที่หรือภาพนั้นๆ เช่น ภาพต้นไม่ที่เรามองเห็นเป็นสีเขียว แต่ความจริงแล้วในสีเขียวของต้นไม้นั้นอาจมีสีอื่นประกอบอยู่ด้วยเช่น สี เขียวอ่อน สีเหลือง สีน้ำตาล เป็นต้น งานจิตรกรรมทั้งแนวปัจจุบันและสมัยใหม่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้อิทธิพลของสีส่วน รวมเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น แม้ว่าสีอื่นจะเด่นชัดในบางส่วนของภาพก็ตาม สีส่วรรวมหรือสีครอบงำนี้จะช่วยทำให้ภาพมีเอกภาพและสมบูรณ์ขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพเขียนของศิลปินชาวอิตาเลี่ยนสมันโราณมักจะใช้สีเหลืองหรือสีน้ำตาลเป็นสี ครอบงำทั้งหมดภายในภาพแทบทุกชิ้นทั้งนี้ไม่จำกัด เฉพาะสองสีที่ยกตัวอย่างมาเท่านั้นอาจเป็นสีกลุ่มอื่นๆได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้างสรรค์

     สีครอบงำหรือสีส่วรวม อาจจำแนกได้สองประการคือ
     ประการ แรกครอบงำโดยมีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มภาพ เช่นภาพทุ่งหญ้า ซึ่งแม้จะมีสีอื่นๆของพวกดอกไม้ ลำต้นก็ตามแต่สี ส่วนรวมก็ยังเป็นสีเขียวของทุ่งหญ้าอยู่นั่นเอง เราเรียกสีครอบงำหรือสีส่วรรวมของภาพคือสีเขียวนั่นเองยกตัวอย่างง่ายๆอีก ประการเช่นเวลาเราดูฟุตบอลที่แข่งกันในสนาม จากมุมสูงๆเราจะเห็นสีส่วนรวมเป็นสีเขียวครอบงำอยู่ถึงแม้จะมีสีอื่นๆของนัก กีฬาอยู่ก็ตาม ก็ถูกอิทธิพลของสีเขียวข่มลงจนหมด    
      ประการที่สอง การครอบงำของสีที่เกิดขึ้นระหว่างสี เช่นถ้าเรานำเอาสีแดงและสีเหลืองมาระบายเป็นจุดๆบนกระดาษสลับกันเต็มไปหมด เมื่อดูกระดาษนั้นในระยะห่างพอสมควรเราจะเห็นสองสี นั้นผสมกันกลายเป็นสีส้ม หรือเช่นเดียวกับการที่เราเขียนภาพด้วยสี หลายๆสีแล้วเมื่อดูรวมๆแล้วกลายเป็นสีที่ผสมออกมาเด่นชัด เช่นต้นไม้ ประกอบด้วยสีเหลือง น้ำตาล ดำ เขียวแก่ เขียวอ่อน แต่เมื่อดูห่างๆก็กลับกลายเป็นสีเขียว

     การวาง โครงสร้างสี สำหรับห้องเด็กเล่น ห้องนอน และห้องรับแก จะต้องนำความรู้เรื่องสีส่วนรวมมาใช้ให้ถูกต้องเช่น ห้องเด็กเล่น ควรใช้สีโครงสร้างในวรรณะร้อนเช่น เหลืองอ่อน ม่วงแดงอ่อนๆ ส่วนห้องนั่งเล่นไม่ควรใช้สีฉูดฉาด ควรใช้สีวรรณะเย็นเพราะ เป็นห้องที่ใช้มากที่สุด หากใช้สีสดใสอาจทำให้เบื่อง่าย นอกจากนี้ประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือการนำเอาไปใช้ในการกำหนด โครงสีบนผ้า เช่น ถ้าเป็นเสื้อผ้าเด้กควรเน้นโครงสีที่ดูสดชื่น เช่น เหลือง หรือสีที่มีน้ำหนักตัดกันรุนแรงเช่น ขาวกัยน้ำเงิน ส่วนสี น้ำตาล ปูนแห้ง สีเทา นั้นเหมากับการวางโครงสีในผ้าผู้สูงอายุ เป็นต้น

การนำความรู้เรื่องสีไปใช้
     หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสีมาแล้วในส่วนของเนื้อหาต่างๆ ในส่วนนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้จากการ
ศึกษาไปใช้โดยสรุปและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

1. การใช้สีในสถานที่มืดและสว่าง
การจะเลือกใช้สีสำหรับตกแต่งภายในบ้าน หรือสถานที่ต่างๆนั้น ประการแรกต้องคำนึงถึงก่อนว่าห้องนั้นได้รับอิทธิพลของแสงสว่างจากภาย
นอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า เพราะว่าถ้าห้องนั้นๆมีแสงสว่างส่องถึงมากๆก็ควรใช้สีที่ลดความสดใสลงหรือสีกลางๆ
(neutralized tints) เพื่อจะได้ดูสบายตา นุ่มละมุน หากเราใช้สีที่สว่าง จะดูไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันหากห้องนั้น ได้รับแสงจาก
ภายนอกน้อยเราต้องใช้สีที่สดใส กระจ่ายช่วยในการตกแต่งเพราะห้องจะได้ไม่ดู ทึม มืดทึบ ทำให้รู้สึกหดหู่ หลักการนี้ได้เกิดขึ้น
มานานแล้วยกตัวอย่างเช่นภาพเขียนบนผนังของชาวอียิปต์ ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผนังภายในสิ่งก่อสร้าง ของชาวอียิปต์นั้น
แสงสว่างผ่านเข้าไปได้ น้อยมากดังนั้นชาวอียิปต์นิยมใช้สีที่สดใส สว่างในการสร้างสรรค์ภาพ การเขียนภาพด้วยสีทีสดใสในที่สว่างน้อยนั้น จะทำให้ภาพเขียนสว่างพอดีตามต้องการเพราะความมืดของบรรยาการรอบๆอันเป็นสี กลางเข้ามามีบทบาททำให้สีที่สดใส
ลดความสดใสลงไปเอง แต่ถ้าต้องการวางโครงสีให้สว่างมาก ควรวางโครงสีให้มีความผสานกลมกลืนในจุดพอดี เพราะแสงสว่าง
ไม่ทำให้ดุลย์ภาพของสีเสียไปแต่อย่างใด

2. การใช้โครงสีสำหรับกลางแจ้ง
การนำหลักการด้านโครงสร้างสีไปใช้ในสถานที่กลางแจ้ง นั้นมีหลักการที่ตรงกันข้ามกับประเภทแรก งานสถาปัตยกรรมแถบประเทศทาง
ตะวันออกเช่นสถาปัตยกรรมไทยมักมุงหลังคาบ้านด้วยสีสดใสเช่น แดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ท่ามกลางสภาพอากาศที่แดดจัดจ้าน ร้อนแรง
ซึ่งก็ดูสดใสงดงาม เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่หากเป็นบ้านเรือนในแถบยุโรป ซึ่งบรรยากาศของเขา ทึมๆ ไม่กระจ่างอย่างแถบบ้านเรา
หากใช้สีที่สดใสจะดูไม่น่ามอง บาดตา โดดออกมาจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นควรเลือกใช้สีที่ลดความสดใส ลงจะทำให้น่าดูและกลมกลืน
กับสภาพแวดล้อม

3. สีที่ได้รับอิทธิพลของแสงไฟเข้ามาผสม
แสงไฟนับว่ามีอิทธิพลต่อโครงสร้างของสีพอสมควร อาจทำให้เกิดความผันแปรได้ในรูปแบบต่างอช่น อาจทำให้สีเข้มขึ้น ส่วางขึ้น มืดลง
สลัว หรือจมหายไป เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว ก่อนการที่จะวางโครงสีใดๆควรคำนึงถึงเรื่องของแสงไฟเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
อาจทำโดยกำหนดโครงสร้างของสีแล้วนำมาทดสอบกับแสงไฟจริงดู สังเกตผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดีกว่าเรามาเดาหรือคิดเอง
ดังนั้นการกำหนดโครงสร้างสีควรทำควบคู่ไปกับการติดตั้งระบบไฟ เพื่อจะทำให้ทั้งสองส่วนนั้นได่สัมพันธ์กัน ถ้าแสงไฟที่ใช้เป็น
แบบธรรมดา การจัดสีให้ดูกลมกลืนมีหลักเกณฑ์ดังนี้

     สีแดงจะ ดูสดใสกระจ่าง ส่วนสีแดงเข้มจะออกไปทางสีแสด สีม่วงแดงจะออกไปทางสีแดง สีม่วงครามอาจกลายเป็นม่วง สีครามจะออกไปทางสีเทา สีน้ำเงินจะดูปรากฏเด่นชัดขึ้น ส่วนสีเหลืองจะออกไปทางส้ม และแสงส่วงจัดขึ้นสีเหลืองอาจจมหายไป ดังนั้นผู้สร้างสรรค์ควรต้องศึกษาทำความเข้าใจในจุดนี้ เพื่อประโยชน์เวลานำไปใช้เช่นในการจัดฉากเวทีละคร การแสดง รวมทั้งเครื่องแต่งกายของตัวแสดง เพราะหากไม่ศึกษาอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้เช่นเกิดจุดเด่นในที่ที่ไม่ต้อง การ
สีกับการตกแต่งภายในและภายนอกสถานที่
     การตกแต่งสถานที่ต่างๆให้สวยงาม ถูกใจ สบายใจและรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเมื่ออยู่ในที่นั้นๆ ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเลือกใช้สีที่แสดงออกมาทางจิตวิทยา ที่เกิดผลกับจิตใจมนุษย์อย่างที่เราไม่รู้ตัว นั่นแสดงว่าสีมีอิทธิพลต่อจิตใจเรา
ตัวอย่างเช่น สีแดงและสีเหลืองให้ความรู้สึกตื่นเต้น สีน้ำเงินและสีเขียว ให้ความรู้สึกสงบ จิตใจถูกน้อมลงสู่สันติสุข ซึ่งเป็นหลักจิตวิทยา
ที่เห็นอย่างง่ายๆ ดังนั้นการวางโครงสร้างของสีในการใช้ในชีวิตประจำวันก็ควรจัดสรรให้ถูกต้องกับเรื่องราวหรือประโยชน์ใช้สอย
สีแต่ละสีย่อมแสดงอารมณ์ที่ต่างกันซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

     การตกแต่งสถานที่ต่างๆให้สวยงาม ถูกใจ สบายใจและรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเมื่ออยู่ในที่นั้นๆ ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเลือกใช้สีที่แสดงออกมาทางจิตวิทยา ที่เกิดผลกับจิตใจมนุษย์อย่างที่เราไม่รู้ตัว นั่นแสดงว่าสีมีอิทธิพล
ต่อจิตใจเรา ตัวอย่างเช่น สีแดงและสีเหลืองให้ความรู้สึกตื่นเต้น สีน้ำเงินและสีเขียว ให้ความรู้สึกสงบ จิตใจถูกน้อมลงสู่สันติสุข
ซึ่งเป็นหลักจิตวิทยาที่เห็นอย่างง่ายๆ ดังนั้นการวางโครงสร้างของสีในการใช้ในชีวิตประจำวันก็ควรจัดสรรให้ถูกต้องกับเรื่องราว
หรือประโยชน์ใช้สอย สีแต่ละสีย่อมแสดงอารมณ์ที่ต่างกันซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้


สีทองเงินและสีที่มันวาว แสดงถึงความรู้สึกมั่นคง
สีขาว แสดงถึง ความบริสุทธิ์ เบิกบาน สะอาด
สีดำอยู่กับสีขาว แสดงถึงความรู้สึกทางอารมณ์ที่ถูกกดดัน
สีเทาปานกลาง แสดงถึงความนิ่งเฉย สงบ
สีเขียวแก่ผสมกับสีเทา แสดงถึงความสลด รันทดใจ ชรา
สีเขียวและน้ำเงิน แสดงความรู้สึกสงบเงียบ
สีสดและสีบางๆทุกชนิด แสดงความรู้สึกกระชุ่มกระชวย แจ่มใส
สีดอกกุหลาบ แสดงถึงความอ่อนหวาน นุ่มนวล
สีแดง แสดงถึงความตื่นเต้น เร้าใจ
สีแดงเข้ม แสดงถึงความสง่าผ่าเผย ปีติ อิ่มเอิบ
สีเหลือง แสดงถึงความไพบูลย์

     แต่ทั้งนี้ผู้คนบางคนบางกลุ่มอาจมีความรู้สึกกับสีที่ต่างอารมณ์ ต่างความรู้สึกซึ่งกันและกันได้ อาจเป็นเพราะเหตุผลส่วนตัว
หรือขนบธรรมเนียม จารีตของแต่ละกลุ่มชน สีนอกจากจะให้ความรู้สึกทางอารมณ์ที่ต่างกันแล้วยังแสดงถึงระยะที่ต่างกัน
ของวัตถุที่ต่างกันด้วย
สีกับการตกแต่งภายนอกอาคาร......มีหลักการดังนี้
     1. การใช้สีต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของอาคารนั้นๆ ต้องผสานสัมพันธ์กับสีของอาคารใกล้เคียงเท่าที่จะทำได้
2.อาคารขนาดใหญ่ไม่ควรใช้สีรุนแรง ควรใช้สีเลียนแบบธรรมชาติเช่นสีอิฐ หินอ่อน ยกเว้นสีเทาของปูนจะดูไม่ดี
ส่วนสีหวานๆไม่เหมาะกับอาคารหากแต่เหมาะกับพวกเสื้อผ้า ซึ่งอาคารไม่ต้องการจุดมุ่หมายของอาคารใหญ่ต้องการ
แสดงความตระการตาโอ่อ่า
3.อาคารเล็กควรใช้สีที่สดใสขึ้นกว่าอาคารใหญ่แต่ต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับอาคารแวดล้อมด้วย
4.อาคารที่อยู่ในที่ที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ สามารถใช้สีสดใสอย่างไรก็ได้ ไม่ควรใช้สีฟ้าอ่อนหรือเขียวอ่อนกับอาคาร
ที่มีขนาดใหญ่ปานกลางเพราะจะทำให้ดูโครงสร้างของอาคารอ่อนแอ
5.การจัดสวนซึ่งต้องนำต้นไม้หลายชนิดมาจัดวางเช่นสีเขียว เขียวอ่อน เหลือง แต่โดยรวมแล้วก็เป็นสีเขียวซึ่งอาจดูไม่ดี
เราสามารถนำเอาดอกไม้มาจัดสลับกันไปแต่ต้องจัดวางอย่างมีองค์ประกอบไม่ใช่วางเปะปะ
6.การจัดตู้โชวตามห้างร้าน ไม่จำกัดว่าใช้สีใดเพราะเป็นมุมเล็กๆส่วนหนึ่งของอาคาร การใช้สี ไม่ทำให้อาคารเสียดุลยภาพ
แต่ก็ไม ่ควรเลือกสีที่จัดไปนักเพราะถึงแม้จะดึงดูดความสนใจได้แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เบื่อง่ายเช่นกัน
   
       
 
ความรู้สึกเกี่ยวกับสีในเชิงจิตวิทยา              

สีแดง        ให้ความรู้สึกร้อน  รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย  เคลื่อนไหว  ตื่นเต้น เร้าใจ  มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง  ความรัก ความสำคัญ  อันตราย
สีส้ม          ให้ความรู้สึก ร้อน  ความอบอุ่น ความสดใส  มีชีวิตชีวา  วัยรุ่น  ความคึกคะนอง การปลดปล่อย  ความเปรี้ยว  การระวัง
สีเหลือง    ให้ความรู้สึกแจ่มใส  ความสดใส  ความร่าเริง  ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่  ความสด  ใหม่  ความสุกสว่าง  การแผ่กระจาย  อำนาจบารมี
สีเขียว        ให้ความรู้สึก สงบ  เงียบ  ร่มรื่น  ร่มเย็น  การพักผ่อน  การผ่อนคลาย ธรรมชาติ  ความปลอดภัย  ปกติ  ความสุข  ความสุขุม  เยือกเย็น
สีน้ำเงิน    ให้ความรู้สึกสงบ  สุขุม  สุภาพ  หนักแน่น  เคร่งขรึม  เอาการเอางาน ละเอียด  รอบคอบ  สง่างาม  มีศักดิ์ศรี  สูงศักดิ์  เป็นระเบียบถ่อมตน
สีม่วง         ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์  น่าติดตาม  เร้นลับ  ซ่อนเร้น  มีอำนาจ  มีพลังแฝงอยู่ ความรัก  ความเศร้า  ความผิดหวัง  ความสงบ  ความสูงศักดิ์
สีฟ้า          ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง  กว้าง  เบา  โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย  ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
สีขาว         ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์  สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน  เปิดเผย การเกิด  ความรัก ความหวัง  ความจริง  ความเมตตา ความศรัทธา  ความดีงาม
สีดำ           ให้ความรู้สึก มืด สกปรก ลึกลับ  ความสิ้นหวัง  จุดจบ ความตาย ความชั่ว ความลับ ทารุณ โหดร้าย ความเศร้า หนักแน่น เข้มเข็ง อดทน มีพลัง
สีชมพู      ให้ความรู้สึก อบอุ่น  อ่อนโยน  นุ่มนวล  อ่อนหวาน  ความรัก  เอาใจใส่  วัยรุ่น หนุ่มสาว  ความน่ารัก ความสดใส
สีเทา        ให้ความรู้สึก เศร้า  อาลัย  ท้อแท้   ความลึกลับ  ความหดหู่  ความชรา  ความสงบ ความเงียบ  สุภาพ  สุขุม  ถ่อมตน
สีทอง       ให้ความรู้สึก ความหรูหรา  โอ่อ่า  มีราคา  สูงค่า  สิ่งสำคัญ  ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข  ความมั่งคั่ง  ความร่ำรวย  การแผ่กระจาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น