วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเลือกใช้วัสดุพิมพ์

เลือกวัสดุพิมพ์อย่างไร ให้เหมาะสมกับงานที่จะพิมพ์ …

           การ เลือกใช้วัสดุพิมพ์สำหรับงานพิมพ์ด้วยระบบ Ink Jet ในที่นี้จะขอกล่าวถึงระบบงานพิมพ์ Ink Jet ที่เกี่ยวกับการทำป้ายโฆษณา Outdoor เพียงเท่านั้น สำหรับวัสดุที่ใช้พิมพ์ของระบบงานพิมพ์ Ink Jet อื่นขอให้ติดตามในโอกาสต่อไป
           วัสดุสำหรับงานพิมพ์ Ink Jet หมึกพิมพ์เชื้อ Solvent ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปก็จะกันอยู่ประมาณ 2 ประเภทคือ Flexible Surface หรือที่เรียกกันว่า ไวนิล และ Self Adhesive Vinyl หรือที่เรียกกันว่า สติกเกอร์ และที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปคือสติกเอร์ พีวีซี วัสดุพิมพ์ทั้งสองชนิดก็มีหลากหลายชนิด หลากหลายคุณสมบัติ แต่ละอย่างการนำไปใช้งานก็จะแตกต่างกันไป ในที่นี้จะขอขยายความของวัสดุพิมพ์เพื่อให้เกิดความรู้ซึ่งกันดังต่อไปนี้
           ไวนิล หรือ Flexible Face กระบวน การผลิตเกิดจากการนำเส้นใยโพลีเอสมาทอเป็นผ้า ในความหนา หรือความใหญ่ของเส้นใย การเลือกใช้ความหนาหรือเส้นใยที่แตกต่างกันนั้น บงบอกถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำไปใช้งาน จะขอกล่าวเรื่องคุณสมบัติภายหลังอีกครั้ง เมื่อได้เส้นใยที่ทอเป็นผืนแล้ว กระบวนการต่อไปคือการนำผ้าโพลีเอสไปเคลือบพีวีซีทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ในส่วนของด้านจะเคลือบโดยใช้ปริมาณพีวีซีที่มากกว่า เพื่อต้องการให้ผิวหน้าเรียบสม่ำเสมอ เมื่อพิมพ์สีลงไปจะทำให้ภาพที่ออกมาสวยงาม การเคลือบพีวีซีจะมีอยู่สองประเภท คือประเภทที่หนึ่ง ใช้กาวชนิดพิเศษเป็นตัวประสานระหว่างเส้นใยโพลีเอสเตอร์ กับพีวีซีที่เคลือบ วัสดุที่ทำในลักษณะนี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากราคาจำหน่ายไม่แพงเกินไป และอีกประเภทหนึ่งคือการนำเส้นใยโพลีเอสเตอร์ไปชุบกับพีวีซีเหลว และผ่านขั้นตอนการทำเป็นแผ่น วัสดุที่ผลิตจากกระบวนการนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยม ใช้กับป้ายที่ต้องการความทนทานเป็นพิเศษ หรือป้ายที่ต้องการอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีผิวหน้าสม่ำเสอเป็นพิเศษ ข้อเสียของระบบนี้คือ ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากวัสดุที่กระบวนการผลิตในประเภทนี้ค่อนข้างซับซ้อน และใช้เครื่องจักรที่มีราคาแพงในการผลิต อีกทั้งปริมาณการผลิตก็ยังได้น้อยกว่าในประเภทแรกอีกด้วย
การเลือก ใช้ไวนิล โดยทั่วไปนิยมใช้ความหนาของไวนิลเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของไวนิล แต่ในความเป็นจริงแล้วความหนาเป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่จะดูว่าไวนิลมีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด ให้ไปดูที่รายละเอียดของสินค้า ที่ผู้ผลิตทุกรายจะต้องบ่งบอกสรรพคุณเอาไว้อย่างชัดเจน โดยศึกษาในหัวข้อดังต่อไปนี้
           1. YARN บางแห่งก็จะมีคำต่อท้าย เช่น YARN COUNT หรือผู้ผลิตบางรายอาจจะมีคำอื่น แต่ขอให้สังเกตคำว่า YARN และตัวเลขที่ระบุตามมา ในหัวข้อนี้หมายถึงเส้นใยโพลีเอสเตอร์ย่อยๆ จำนวนกี่เส้นที่มัดรวมกันเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์หนึ่งเส้น ยกตัวอย่าง ผู้ผลิตระบุว่า 500D x 500D นั้นหมายถึงทั้งเส้นใยแนวราบ และเส้นใยแนวตั้ง ในหนึ่งเส้นใยประกอบด้วยเส้นใยเส็กๆ มัดรวมกันจำนวน 500 เส้น และถ้าผู้ผลิตระบุว่า 300D x 200D นั่นหมายถึงเส้นในด้าน 300 หนึ่งเส้นประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆจำนวน 300 เส้นมัดรวมกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งคือเส้นใยเล็กๆ 200 เส้นมัดรวมกันเป็นเส้นใยใหญ่ ในข้อนี้ให้สังเกตว่าหากจำนวนเส้นใยมีจำนวนมาก นั่นหมายถึง ความแข็งแรงของไวนิลนั้นมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าชนิดที่มีจำนวนเส้นใย น้อยกว่า จำนวนเส้นใยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ยังไม่อาจสรุปได้ว่าไวนิลที่มีเส้นใยมากจะ แข็งแรง ทนทาน แต่หากนำปัจจัยในหัวข้อต่อไปนี้มาพิจารณาร่วม ย่อมสามารถสรุปได้ว่าไวนิลนั้นๆมีความแข็งแรง ทนทานมากแค่ไหน
           2. THREAD เช่นเดียวกันกับหัวข้อข้างต้น ผู้ผลิตแต่ละรายจะกำหนดชื่อที่แตกต่างกันไป สำหรับข้อนี้ก็ให้สังเกตตัวเลขที่ระบุตามหลังเช่นกัน ดังจะยกตัวอย่างต่อไป ในหัวข้อนี้ หมายถึงจำนวนเส้นใยทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ในพื้นที่หนึ่งตรารางนิ้ว เช่นระบุว่า 18 x 12 นั่นหมายความว่า ในด้านหนึ่งจำนวนหนึ่งนิ้ว จะมีเส้นใยโพลีเอสเตอร์ใหญ่จำนวน 18 เส้น และอีกด้านหนึ่งจะมีจำนวน 12 เส้น เช่นเดียวกันหากจำนวนเส้นใยยิ่งมากย่อมมีความแข็งแรงมากกว่าเส้นใยที่น้อย กว่า
           3. THICKNESS หรือความหนา ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะระบุเป็นหน่วยมิลลิเมตร ความหนาก็เป็นส่วนหนึ่งของความแข็งแรง
           4. WEIGHT หรือน้ำหนัก ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะระบุเป็นกรัมต่อตารางเมตร หรือมีคำย่อว่า gsm.
           ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงข้อสังเกตพื้นฐานที่ควรจะนำมาพิจารณาเลือกซื้อไวนิลมาใช้งาน หากแต่ยังมีสรรพคุณอีกมากที่ต้องศึกษา ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตไวนิลที่มีราคาสูงจะกำหนดไว้แทบจะทุกเรื่อง แต่สำหรับไวนิลที่ใช้งานพิมพ์ INK JET โฆษณา OUTDOOR แล้ว การรับทราบเพียงข้างต้นก็สามารถทำให้การเลือกใช้ไวนิลมีประสิทธิภาพ และเหมาะกับงาน อาจจะสามารถช่วยลดต้นทุนลงได้
           ปัจจัย อีกตัวหนึ่งที่เป็นปัจจัยภายนอก ที่สามารถสังเกตเห็นได้ทันทีเมื่อผู้ขายนำไวนิลมาส่ง นั่นก็คือความสม่ำเสมอของสีผิวหน้าของไวนิล บางคนอาจจะบอกว่ามันไม่จำเป็นเลย แต่สำหรับผู้พิมพ์งาน INKJET แล้วปัจจัยนี้จะช่วยทำให้งานของผู้พิมพ์มีคุณภาพสูง และยังช่วยประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการทำงานได้อีก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คำตอบง่ายๆ การพิมพ์ INKJET สิ่งสำคัญที่สุดคือสีของงานพิมพ์จะต้องเหมือนกันทุกครั้งที่พิมพ์ หากไม่สามารถควบคุมสีผิวหน้าของไวนิลได้แล้ว การที่จะทำให้สีที่พิมพ์ออกมาเหมือนกันทุกครั้งย่อมเป็นไปไม่ได้ หรือถ้าเป็นไปได้ก็ต้องเสียเวลาในการเพิ่ม หรือลดค่าสี การทดลองพิมพ์ตัวอย่าง และต้องสูญเสียวัสดุพิมพ์ และหมึกพิมพ์ ในการปรุ๊ฟตัวอย่างใหม่
           ชนิดของไวนิลนอกจากที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ไวนิลชนิดทึบแสง สำหรับงานป้ายโฆษณาที่ใช้ส่องด้านหน้า ไวนิลชนิดโปร่งแสง สำหรับงานตู้ไฟ ยังมีไวนิลที่มีคุณสมบัติมากกว่าดังนี้
           1. ไวนิลตาข่าย หรือที่เรียกว่า NET ไวนิล หรือ MESH ไวนิลประเภทนี้นิยมใช้กันโดยทั่วไปคือ การคลุมตึกที่กำลังก่อสร้าง หรือคลุมลานจอดรถ ไวนิลชนิดนี้จะมีคุณลักษณะเด่นคือยอมให้ลมผ่านได้ และสามารถมองทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งได้ ไวนิลชนิดนี้ยังนิยมใช้กันสำหรับทำป้ายขนาดใหญ่ในห้างสรรพสินค้า เพราะไม่บดบังทัศนวิสัยในการมอง อีกทั้งยังนิยมใช้ในการทำป้ายในสถานที่มีลมพัดผ่านแรง เนื่องจากไวนิลชนิดนี้ลมสามารถผ่านได้ จึงไม่ทำให้ต้องแบกรับของแรงลมที่จะมาปะทะกับป้าย
           2. ไวนิลพิมพ์สองด้าน ไวนิลชนิดนี้จะมีผิวหน้าทั้งสองด้านของสินค้าที่เรียบสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีความหนาเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้ลายภาพอีกด้านหนึ่งทะลุมาแสดงอีกด้านหนึ่ง หากพิมพ์สองหน้า หรือบางครั้งผู้ผลิตจะใช้วัสดุสีดำให้อยู่ระหว่างไวนิลทั้งสองด้าน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะทำให้ภาพที่พิมพ์ทั้งสองด้านมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ และตัดปัญหาเรื่องลายภาพทะลุถึงกันได้เลย ไวนิลชนิดนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ผู้พิมพ์ในบ้านเราจะใช้ไวนิลทึบแสงพิมพ์สองแผ่นและมาเย็บติดกัน ซึ่งก็จะพบปัญหาคือ หากนำชิ้นงานดังกล่าวไปแสดงที่ที่มีแสงแดดส่องผ่าน ก็จะเห็นลายภาพของด้านหนึ่งแสดงเป็นเงาสีดำอีกด้านหนึ่ง
           3. ไวนิลผิวหน้าสีขาวแต่ด้านหลังเป็นสีดำ ไวนิลชนิดนี้ออกแบบมาสำหรับงานโฆษณากลางแจ้งหน้าเดียว แต่ป้ายติดตั้งในสถานที่มีแสงผ่านมาก เพราะสีดำอีกด้านหนึ่งของไวนิลจะคอยป้องกันไม่ให้แสงผ่าน จึงทำให้ภาพที่พิมพ์มีความสวยงามตลอดเวลา
           4. นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายยัง ผลิตชนิดที่ไม่มีเส้นใยอยู่ด้านในของไวนิล ข้อดีคือเมื่อนำไวนิลชนิดนี้ไปทำเป็นตู้ไฟจะไม่เห็นเส้นใย ทำให้ป้ายมีความสวยงาม แต่ความทนทานยังเหมือนเดิม ในอดีตหากทำตู้ไฟจะใช้ระบบการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ WATER BASED เพราะวัสดุพิมพ์ของหมึกพิมพ์ชนิดนี้จะไม่มีเส้นใยให้เห็น แต่ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ SOLVENT BASED มีการพัฒนาความละเอียดมากขึ้น จึงมีผู้ผลิตบางรายผลิตสินค้าประเภทนี้ขึ้นมาโดยใช้หมึกพิมพ์ SOLVENT BASED พิมพ์ได้ ช่วยประหยัดในด้านต้นทุนการผลิต และเวลาในการผลิต
           การผลิตไวนิลข้างต้นนั้น ผู้ผลิตหลายรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตที่ส่งสินค้าไปขายยังยุโรป จำเป็นที่ต้องเพิ่มขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญอย่างมากคือ การเคลือบไวนิลไม่ให้เป็นเชื้อที่ติดไฟ หรือเรียกภาษาอังกฤษว่า FLAME RETARDANT เพราะกฎหมายของประเทศนั้นๆ เข้มงวดมาก และในเมืองไทยเริ่มที่จะกล่าวถึงกันมากขึ้น เพราะจะนำไปใช้โฆษณาสินค้าในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
           นอกจากที่กล่าวมา ข้างต้นนี้แล้วในตลาดของผู้ผลิตไวนิลยังต้องมีผู้ผลิต ผลิตสินค้าใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวงการโฆษณาอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอาจจะมีวัสดุแปลกๆมาให้เหลือกใช้กันมากขึ้น

แฟชั่นคอนเนอร์





นาฬิกาเปี่ยมพลัง
     ปารีส II คือนาฬิการุ่นที่ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีจาก ชาร์ลิโอล์ Noir Chic ส่งผลให้ได้ภาพลักษณ์สีดำล้วน คอลเลกชั่นใหม่นี้มีทั้งขนาด 42 มม.สำหรับสุภาพบุรุษ และ 33 มม.สำหรับสุภาพสตรี ความพิเศษอยู่ตรงการผสมผสานของตัวเลขบอกเวลา กับเครื่องหมายบอกชั่วโมงเป็นขีดคู่สลับกันเป็นลำดับ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแบตเตอรี่ แสดงเวลาเป็นชั่วโมง นาที วินาที และวันที่



รองเท้าติดซิป

สาวๆ ไม่ควรพลาด จีอ๊อกซ์ รุ่นล่าสุด ดอนนา เอลลา ด้วยดีไซน์เรียบหรูเอาใจสาวๆ เวิร์กกิ้ง วูเมน ด้วยคัชชูส้นสูงประมาณ 2 นิ้ว แอบเปรี้ยวด้วยซิปโลโก้แบรนด์ด้านหลัง ผลิตจากหนังนูบัคนุ่มสบายเท้า มาพร้อมเทคโนโลยีระบายอากาศมีให้เลือก 3 สี เทา ดำ และน้ำตาล

เท่ เซอร์ แบบตะวันตก

ชาร์ล แอนด์ คีธ พาสาวๆ ท่องโลกตามแบบฉบับนักเดินทาง กับอารยธรรมสุดขอบแดนอเมริกันตะวันตก ถูกผสมให้เกิดเป็นกระเป๋าในคอลเลกชั่นใหม่ในโทนสีเข้ม ลวดลายของงานหัตถกรรม ลายกราฟฟิก การประดับประดาของพู่ระบาย นับเป็นศิลปะความหรูหราแบบดิบๆ ประกอบกับกลิ่นอายคาวบอยตะวันตกให้ลุคมัสคูลินแบบเท่เซอร์ๆ

แฟชั่น ทรงผมทอม TOMBOY หล่อ ๆ


อันสืบเนื่องมากจาก ได้รับ คำชี้แนะมาว่า อยากจะได้ เรื่องราว แฟชั่น ผู้ทอม มากกว่านี้ และโดยเฉพาะ ทรงผม…
พี่เมย์ มาคิด ๆ ดู ก็น่าจะจริงนะ เสื้อผ้า หน้า ผม นี่สำคัญ วันนี้ เลย จัดไปนะน้องนะ วันนี้เลย ตะลุย กูเกิ้ล ค้นหามาเลย
เฉพาะ ทรงผม เจ๋ง ของ น้องทอม พี่ทอมหล่อ ทั้งหลาย ….จะให้ไปเดินถ่ายแต่ละคน ก็กลัวจะชักช้าไม่ทันใจ ….
ดังนั้น คอลัมนี้ จะขอโชว์เฉพาะ ทรงผมที่เข้าตากรรมการ … บวกใบหน้าอันน่ารักน่ากิน ของทุกคน ใครเป็นใคร ….บอกไม่ได้ ไม่ใช่ไม่บอก เพราะ ค้นมาแต่รูปไม่ถึงกับทำประวัติ …..หากเจ้าของรูปท่านใด ได้มาเจอรูปตนเอง อย่าตกใจ ขอให้ดีใจว่า ท่านเข้ากรรมการแล้วอย่างจัง ….
ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้า สำหรับผู้เข้าตากรรมการทุกท่าน…ขอให้หล่อ ๆ ไปตลอดกาลนะค๊า

เพราะฉะนั้น หัวข้อนี้ จะรวบรวม ประมวลภาพ ทอมน่ารัก ทอมหล่อ หล่อน้อยไปถึงหล่อมา และหล่อจังเล้ยยยยยยย
มาให้ชมกันอย่างจุใจ วันนี้ใครอยากทำทรงไหนเลือกเอาเลยนะจ๊ะ….แถม เสื้อผ้า และการโพสท่าถ่ายรูปแนว แนว ให้อีกด้วย ….หุหุหุ ….

กับ ทริกเล็กน้อย เรื่อง การเลือกทรงผม ที่เหมาะสมกับตัวเอง…นะคะ

ที่สำคัญที่สุด คือรูปหน้า ของตัวเอง เพราะผมกับรูปหน้าสัมพันธ์กันเป็นที่
สุดสไตลิสต์ขอแนะนำว่าหากคุณ

หน้ากลม ; ตัดผมเป็นมุมแหลมด้านหน้า

หน้าเหลี่ยม กรามใหญ่ ; ผมสั้นเสมอคาง

หน้ายาว : ผมม้า เอียงซ้ายหรือขวา

แก้มเยอะ : ผมสั้นไว้จอนยาวเล็กน้อย ผมยาวไล่จากกลางแก้ม

อาชีพ ….ทรงผมกับอาชีพบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือและกาลเทศะดังนั้นวางใจได้ว่าคุณจะสวยสมบุคลิกและหน้าที่การงานของคุณแน่ๆ

การแต่งกาย…..บางครั้งการแต่งกายก็บอกลักษณะความเป็นจริงของคุณ การออกแบบทรงผมให้เข้ากับบุคลิกของคุณจากการแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญ

สีผิว….. เพราะสีผิวกับสีผม มีส่วนทำให้คุณดูหม่นหมองหรือสดใสขึ้นได้เช่นเดียวกัน ถ้าคุณผิวเข้ม แต่อยากผมสีม่วงแบบ in trend ที่นี่เขายินดีทำให้แต่ Technician จะคุยกับคุณก่อนว่า in trend ทั้งศีรษะเห็นจะไม่ดีแน่ เปลี่ยนมาทำไฮไลต์ด้วยสีม่วงจะดีกว่า ….ประมาณนี้นะจ๊ะ อย่าถึงกับมั่นใจตัวเอง (แบบผิดผิด) บางอย่างปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเป็นดี

วันนี้ดูตัวอย่างกันก่อนเลยนะ…..ใครดูบทความนี้แล้วไม่ เม้นให้คะแนน คนหล่อ…ล่ะก็ ….ครั้งหน้าคนเขียน จะงอน …ไม่หามาให้ยลโฉมกันแล้วนะ จะบอกให้…

P.S. ใครอยากได้ เรื่องอะไรเป็นพิเศษ เสนอแนะมาได้เลยค่ะ

ขอบคุณ http://www.xn--o3cumxid2q.com/%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A1-tomboy-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD-%E0%B9%86.html

‘ทอมบอย’ ในวงการบันเทิงไทย เพราะสังคมเปิดใจรับสาวหล่อ…หรือสุดท้ายแค่แฟชั่น




ที่ ผ่านมา ถ้าพูดถึงวงการบันเทิง ภาพที่อยู่ในหัวของใครหลายๆ
คน ก็คงจะหนีไม่พ้นภาพของหนุ่มหล่อสาวสวยที่กรุยกรายฉุยฉายอยู่ภายใต้แสงไฟ
สปอตไลท์ ซึ่งดูเหมือนว่า ที่อยู่ที่ยืนของพวกเขาจะจำกัดวงอยู่เฉพาะ
ชายจริงหญิงแท้เท่านั้น
น้อยครั้งที่เราจะเห็นเพศที่สามก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในวงการบันเทิง


เพราะส่วนใหญ่ เพศที่สามที่โผล่มาให้เห็นหน้ากันในโลกบันเทิง
ก็จะมาในฐานะของสีสัน มากกว่ามาเป็นตัวชูโรง และที่มีให้เห็นกันบ่อยๆ
ก็คงจะเป็นเหล่าบรรดาเกย์ และกะเทยที่ออกมาสร้างความสนุกสนาน
วี้ดว้ายกระตู้วู้ไปตามเรื่องตามราว เพียงเพื่อสร้างสีสันก็เท่านั้นเอง
ซึ่งในกรณีนี้
ก็มีให้เห็นหนาตาและเกือบจะกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว
ส่วนเพศที่สามที่มีเพศสภาพ (ร่างกาย) เป็นฝ่ายหญิงนั้น
ถึงแม้จะมีมาให้เห็นอยู่บ้าง
แต่ก็ไม่มากเท่าเพศที่สามที่มีร่างกายเป็นผู้ชาย


ทว่าในช่วงปีที่ผ่านมา เหมือนกับว่า เทรนด์ของทอมบอยหรือสาวหล่อ
จะมีให้เห็นมากกว่าแต่ก่อน และบรรดาสาวหล่อเหล่านั้น
ก็ไม่ได้มาในฐานะของตัวประกอบหรือตัวช่วยในการสร้างสีสัน
หากแต่พวกเขามาในฐานะของตัวเอก ซึ่งมีบทบาทสำคัญ


ไม่ว่าจะเป็น ซี – มัฑณาวี คีแนน ซึ่ง
เป็นนักร้องสาวหล่อ ที่โด่งดังเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ว่า
ชื่อของเธอนั้นติดอันดับคำค้นหมวดคนดังหน้าจอ เป็นอันดับ 2 ของกูเกิลในปี
2010 (อันดับ 1 คือซีเอ็น บลู ซึ่งเป็นนักร้องเกาหลี) หรือจะเป็น
การออกมาทำตลาดของหนังเรื่อง ‘Yes or No อยากรัก ก็รักเลย’
ซึ่งเป็นหนังที่มีแนวทางแบบหญิงรักหญิงอย่างชัดเจน โดยมี ติ๊นา – ศุภนาฎ
จิตตลีลา มารับบทเป็นพระเอกสาว (???) ของเรื่อง


นอกจากนี้ บนแผงหนังสือก็ยังมีนิตยสารสำหรับหญิงรักหญิงวางจำหน่าย
โดยมีแฟชั่นเซตของสาวหล่อบรรจุอยู่ภายใน ซึ่งนายแบบสาวหล่อเหล่านนั้น
ล้วนมีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่พร้อมจะออกมาโลดแล่นในวงการบันเทิงในกาลต่อ
ไป


ไม่ใช่ว่าเพิ่งมี

หากจะพูดถึงสาวหล่อในวงการบันเทิงไทยในอดีตที่ผ่านมา ชื่อของ อัญชลี จงคดีกิจ คง
เป็นชื่อแรกๆ ที่ คนไทยนึกถึง เพราะเธอเป็นเสมือนสาวหล่อรุ่นบุกเบิก
ที่เสนอผลงานผ่านลุคแบบห้าวๆ
ก่อนที่จะมีศิลปินเพลงรุ่นน้องที่ยึดแนวทางในการพรีเซนต์ตัวเองในแบบเดียว
กับอัญชลี ที่ชื่อ อลิศ คริสตัน ตามมา


นอกจากนี้ ในวงการเพลง ก็ยังมี อ้อม-สุนิสา สุขบุญสังข์ อีกคนที่มีลักษณะการนำเสนอตัวเองแบบสาวห้าว (ซึ่งในช่วงนั้น อ้อมยังไม่ได้ถูกนับอยู่ในประเภทของสาวหล่อ)


ทว่าเอาเข้าจริงแล้ว ลุคแบบทอมบอยของคนบันเทิงนั้น
ก็มีปรากฏให้เห็นมาก่อนการมาถึงของอัญชลี จงคดีกิจอยู่นานโข
ถ้าย้อนกลับไปสักเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ชื่อของ สาลิกา กิ่งทอง เจ้าของผลงานเพลง ‘แต๋วจ๋า’ ก็นับได้ว่า เป็นที่รู้จักกันในฐานะของนักร้องลูกทุ่งทอมบอย หรือในฝั่งดารา ก็มี อ้อย-จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่
ถือเป็นดาราทอมบอยรุ่นบุกเบิก และถ้ามองออกไปนอกวงการบันเทิง
ก็เชื่อเถอะว่า เรื่องราวของผู้หญิงที่มีลักษณะเป็นทอมบอยนั้นมีมานานแล้ว
เพียงแต่เราไม่ค่อยพูดถึงกันเท่านั้นเอง


“จริงๆ แล้ว เรื่องของทอมบอยนั้น มันมีมานานแล้วในประวัติศาสตร์
ซึ่งเราสามารถพบได้ตามจดหมายเหตุและบันทึกต่างๆ ซึ่งเขาใช้คำว่า
‘เล่นเพื่อน’ ซึ่งในแง่มุมทางสังคมวิทยา สังคมไทยเป็นสังคมของชายเป็นใหญ่
ดังนั้นเมื่อพูดถึงลักษณะของความเป็นผู้หญิง
รวมถึงทางด้านความต้องการทางเพศ มันจะไม่ค่อยถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็น
เท่าไหร่ ส่วนมากจะมองว่าผู้หญิงนั้นเป็นที่รองรับอารมณ์ของผู้ชาย
การที่ผู้หญิงไปมีอะไรกันกับผู้หญิงด้วยกันนั้นมันเป็นแค่เรื่องชั่วคราว
สุดท้ายก็ต้องกลับมาคู่กับผู้ชายอยู่ดี
เรื่องของทอมบอยจึงไม่เป็นที่ใส่ใจและได้รับการพูดถึง”
สันต์ สุวัจฉราภินันท์ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่และเพศวิถี
เล่าให้ฟังถึงมุมมองที่คนในสังคมไทยมองทอมบอย แต่ในปัจจุบัน บทบาทของทอมบอย
กลับเด่นชัดขึ้นมาผ่านสื่อกระแสหลัก
หรือว่านั่นจะเป็นเครื่องยืนยันให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง
ว่าเดี๋ยวนี้คนไทยส่วนหนึ่งมีมุมมองต่อทอมบอยเปลี่ยนไป เพราะอย่างน้อยๆ
ก็หันมาสนใจ และยอมรับมากขึ้นว่าทอมบอยนั้นมีอยู่จริง

อิโนะ เคย์ (Hey!Say!JUMP) กับบทบาท “นักวางผังเมืองแห่งมหาวิทยาลัย Meiji” ตัวจริงที่เท่ห์ยิ่งกว่า!



นอกจากบทบาทสมาชิกกลุ่มไอดอลที่กำลังมาแรง อีกด้านหนึ่งของ อิโนะ เคย์ (Inoo Kei) แห่ง Hey!Say!JUMPคือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Meiji ประเทศญี่ปุ่น และตอนนี้เขาก็กำลังวุ่นอยู่กับการทำวิทยานิพนธ์จบการศึกษา
[2012/8/7] ในภาพ อิโนะ กำลังให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อปี 2011
มหาวิทยาลัย Meiji ของเขาเป็นหนึ่งในผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยพิบัติด้วยการเข้าไปก่อสร้างอาคารให้ใหม่ โดยผู้ประสบภัยกำลังได้รับความช่วยเหลือจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัย ที่เข้ามาช่วยด้วยความเต็มใจอย่างยิ่งในการก่อสร้างอาคารใหม่ให้กับพวกเขา
สำหรับ อิโนะ เคย์ (Inoo Kei) เขาเป็นหนึ่งใน “นักปฏิบัติการวางผังเมือง” ของมหาวิทยาลัย Meiji ด้วย
อีกด้านนึงของ อิโนะ เคย์ (Inoo Kei) กับชีวิตนักศึกษา
(บทความจาก HEY! SAY! JUMP CALENDAR 2012.04~2013.03 | INOO KEI)
ในปี 2012 นี้ ผมก็จะกลายเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 4 แล้ว อืม นั่นจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อผมผ่านขึ้นชั้นต่อไปได้นะ (หัวเราะ) ผมอยากสำเร็จการศึกษาโดยสมบูรณ์ครับ
แต่ก่อนหน้านั้น ก็มีกำแพงที่ใหญ่มากอยู่ระหว่างทาง นั่นคือการทำวิจัยต่างๆ และการทำวิทยานิพนธ์จบการศึกษาให้สำเร็จ
ผมหลงใหลในสถาปัตยกรรม แต่ผมไม่ได้แค่สนใจในตัวของอาคารต่างๆ นะครับ แต่ผมสนใจในการสร้างเมืองทั้งเมืองด้วย
นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมถึงไม่อยากจะติดแหงกอยู่กับโต๊ะทำงาน แต่อยากที่จะออกไปตามเมืองต่างๆ และพูดคุยกับคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น เพื่อสร้างวิทยานิพนธ์ของผมขึ้นมา
ครั้งนึงเมื่อตอนที่ผมไปเมืองโอกิน่าว่าในเวลาส่วนตัว ผมได้รับการบอกเล่าจากคุณลุงคนนึงที่เดินผ่านไปว่า “บ้านทั้งหลายที่อยู่ในโอกินาว่าหน่ะ มีผนังที่ทำมาจากปะการังนะ!”
ผมอยากได้รับความรู้อะไรแบบนั้นให้มากกว่านี้จังเลย !

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 ข้อคิดในการออกแบบสิ่งพิมพ์

ความละเอียดของ file ภาพ (File Resolution)ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ก่อนทำการพิมพ์งาน
           ความละเอียดของ file ภาพ (File Resolution)ของการออกแบบสิ่งพิมพ์ มีหน่วยวัดเป็น dots per inch (DPI) หรือ pixels per inch (PPI) คือความหนาแน่นของเม็ดสีต่อความยาว 1 นิ้ว ในแนวตั้ง/แนวนอน ความหนาแน่น (DPI) ยิ่งมาก ความละเอียดและความคมชัดของภาพจะยิ่งสูงขึ้น ความละเอียดของภาพที่แสดงบนจอ monitor จะอยู่ที่ 72 DPI ก็เพียงพอ แต่สำหรับงานพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแล้ว การออกแบบสิ่งพิมพ์จำเป็นต้องใช้ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 DPI ภาพพิมพ์ที่ได้จึงจะมีความคมชัดและให้รายละเอียดที่ดี และถ้าสามารถกำหนดให้การออกแบบสิ่งพิมพ์ละเอียดยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ภาพพิมพ์ออกมามีคุณภาพดียิ่งขึ้น
อนึ่ง หากในช่วงการจัดทำการออกแบบสิ่งพิมพ์ file ภาพ มีการขยายจากภาพที่มีความละเอียด 300 DPI หรือต่ำกว่า ภาพใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีปัญหาด้านความคมชัดได้ หรือ หากภาพเดิมมีความละเอียดต่ำกว่า 300 DPI แล้วมาแปลงเป็น 300 DPI ก็จะประสพปัญหาด้านคุณภาพเช่นกัน
การเลือกใช้ Color Mode ในการออกแบบสิ่งพิมพ์
           เนื่องจากระบบสีที่ ใช้ในการพิมพ์ เป็นแบบ CMYK ในขณะที่ระบบที่ใช้บนจอ monitor เป็นแบบ RGBในช่วงการจัดทำการออกแบบสิ่งพิมพ์ file งานเพื่อใช้ทำสิ่งพิมพ์บนคอมพิวเตอร์นั้น ท่านสามารถทำงานใน RGB color mode ทุกครั้งที่ท่านต้องการตรวจสอบสีที่จะเกิดขึ้นเมื่อนำไปพิมพ์ ท่านสามารถทำได้โดยกด ปุ่ม ‘Ctrl’ กับ ‘Y’ ในโปรแกรม Photoshop เมื่อท่านจัดทำ file งานจนเป็นที่เรียบร้อยพร้อมที่จะส่งมายังโรงพิมพ์ ท่านก็แปลงภาพทั้งหมดให้อยู่ใน CMYK color mode แล้วจึงจัดส่ง file งานให้กับทางโรงพิมพ์ข้อ ควรระวังคือ ไม่ควรแปลง file ภาพกลับไปมา ระหว่าง RGB mode กับ CMYK mode เพราะการแปลงแต่ละครั้ง จะเกิดการเพี้ยนของสีเล็กน้อย การแปลงกลับไปมาหลาย ๆ ครั้ง ยิ่งทำให้ความเพี้ยนมากขึ้น
การเผื่อพื้นที่รอบขอบของงานออก แบบสิ่งพิมพ์
           ในการจัดทำ อาร์ตเวิร์คสำหรับงานพิมพ์นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงภาพหรือสีส่วนที่ปรากฏโดยรอบขอบของชิ้นงานพิมพ์ หากเราออกแบบสิ่งพิมพ์ให้ภาพ/สีบริเวณนั้นไปสิ้นสุดที่แนวขนาดของชิ้นงาน พิมพ์ ชิ้นงานพิมพ์ที่ออกมาอาจจะปรากฏขอบขาวได้ทั้งนี้เกิดจากความคลาดเคลื่อนช่วง ตัดเจียนขอบชิ้นงานพิมพ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในขบวนการผลิต การทำอาร์ตเวิร์คจึงต้องเผื่อพื้นที่ของภาพ/สีเกินออกนอกบริเวณขอบที่เป็น แนวของขนาดชิ้นงานพิมพ์ ดังนั้นจึงมีการกำหนดขอบเขตโดยรอบชิ้นงานดังนี้
           ขอบนอกสุดของการออกแบบสิ่ง พิมพ์ คือแนวสิ้นสุดของภาพ/สีของชิ้นงาน พิมพ์นั้น แนวนี้จะห่างออกมาจากแนวตัดเจียน (แนวที่เป็นขนาดจริงของชิ้นงาน) อย่างต่ำ 0.125 นิ้ว บางครั้ง เราเรียกบริเวณนี้ว่าบริเวณเผื่อตัดตก ในการจัดทำอาร์ตเวิร์คถ้ามีภาพ/สีปูถึงบริเวณแนวขอบตัดเจียน ให้ขยายพื้นที่ภาพ/สีเลยออกจากแนวตัดเจียนมาสิ้นสุดที่ขอบนอกสุดนี้
           ขอบตัดเจียน/ขอบขนาดของชิ้นงาน ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ คือแนว ที่เป็นขนาดจริงของชิ้นงานพิมพ์/ขนาดที่ใช้อ้างอิงในการสั่งซื้อ
ขอบทำงานของการออกแบบสิ่ง พิมพ์ คือกรอบของพื้นที่ที่ ปลอดภัยจากความคลาดเคลื่อนในการตัดเจียน แนวของขอบทำงานจะร่นเข้าไปในเนื้องาน ไม่ต่ำกว่า 0.125 นิ้ว จากแนวตัดเจียน ดังนั้นเนื้องานที่สำคัญ เช่น ข้อความต่าง ๆ จะไม่ถูกตัดขาดหายไปถ้าถูกจัดวางไม่เลยออกนอกขอบทำงานนี้ สำหรับงานหนังสือ (โดยเฉพาะหนังสือที่เย็บมุงหลังคา) แนวด้านข้างของขอบทำงานต้องห่างจากแนวตัดเจียนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการซ้อนกันของหน้าหนังสือตามแนวสัน ทำให้หน้าที่อยู่ใน ๆ แคบกว่าหน้าที่อยู่นอก ๆ
ปัญหาเรื่อง Fonts และ Transparency ของการออกแบบสิ่งพิมพ์
           สำหรับ file งานที่ทำในโปรแกรม InDesign และ Illustrator หรือโปรแกรมที่เป็น vector format ก่อนที่จะทำการส่ง file งานให้โรงพิมพ์ ควรใช้คำสั่ง Flatten ส่วนที่เป็น transparency หรือ ส่วนที่เป็น effect ทั้งหลาย อีกทั้งให้ทำ outline สำหรับ font ของตัวอักษรทั้งหลาย ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการตกหล่นของส่วนที่เป็น transparency หรือความคลาดเคลื่อนของ font ที่อาจเกิดขึ้นได้
Background สีดำของงานออกแบบสิ่งพิมพ์
           ในการให้สีพื้นหลัง (Background) ที่เป็นสีดำ (K 100) ให้ตรวจสอบดูว่าบริเวณดังกล่าวมีเปอร์เซ็นต์ของแม่สีอื่น ๆ ติดอยู่เท่าไร หากมีเปอร์เซ็นต์ของแม่สีอื่น ๆ อยู่สูง เช่น Y 100 M 100 C 100 จะทำให้การพิมพ์มีปัญหา เวลาพิมพ์งาน ชั้นของหมึกบริเวณนั้นจะหนามากและจะแห้งช้า ทำให้สีไปเลอะบนแผ่นพิมพ์ที่อยู่ติดกันและจะทำให้งานเสียหาย เพื่อป้องกันไม่เกิดอาการนี้ ควรตั้งเปอร์เซ็นต์ของสีสำหรับพื้นที่สีดำ ดังนี้ K 100 Y 40 M 50 C 40 (เปอร์เซ็นต์ของ Y M และ C สามารถลดต่ำกว่านี่ได้) หรืออาจ จะตั้งค่า K เท่ากับ 100 แล้ว เลือกสีอื่นสีใดสีหนึ่ง ตั้งค่าไม่เกิน 50
           ในตามความเป็นจริงนั้น การตั้งค่า K เท่ากับ 100 เพียงสีเดียวในส่วนที่เป็นพื้นดำก็น่าจะเพียงพอ แต่ที่มีเปอร์เซ็นต์ของสีอื่นเพิ่มเข้ามาเป็นเพราะในช่วงเวลาพิมพ์ บางครั้งอาจเกิดมีฝุ่นผงในภาพของหมึกพิมพ์ทำให้หมึกสีดำที่จุดนั้นไม่ไปเกาะ บนกระดาษ เกิดเป็นจุดขาวซึ่งมองดูสดุดสายตา แต่ถ้ามีหมึกสีอื่นปูซ้อนทับอยู่ด้วย จะทำให้จุดนั้นลดความเด่นลง และยังช่วยให้พื้นดำนั้นมีน้ำมีนวลมากขึ้นมีความเงามากขึ้นอันเนื่องมาจาก ชั้นของหมึกหนาขึ้น อนึ่ง การเพิ่มสีอื่นลงไปในพื้นดำในเปอร์เซ็นที่ไม่สูงมาก จะไม่ทำให้พื้นสีดำนั้นมีความดำที่ผิดเพี้ยนไปจนเป็นที่สังเกตุ
ตัวอักษรเจาะขาว
           บ่อย ครั้งที่นักออกแบบนิยมทำตัวอักษรเจาะขาวบนพื้นสีเข้มเพื่อดูสะดุดตา หากตัวอักษรดังกล่าวมีขนาดเล็กและบางมากจะสร้างปัญหาให้กับการพิมพ์ทำให้ตัว อักษรขาดหายอ่านไม่ออก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดได้จากการจ่ายหมึกมากเกินไป และหรือมีการเหลื่อมกันของสีแต่ละสีอันเนื่องจากการพิมพ์ซ้อนทับของสีคลาด กันหรือเนื่องจากปัญหาจากกระดาษยืดหดในระหว่างพิมพ์ จึงทำให้พื้นที่ที่เจาะขาวมีสีเข้าไปทับเป็นเหตุให้ตัวอักษรขาดหายไป ดังนั้นการทำตัวอักษรเจาะขาวไม่ควรให้เส้นบางจนเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ดังกล่าว
ภาพต่อระหว่างหน้าของงานออกแบบสิ่งพิมพ์
           การ ออกแบบหน้าหนังสือโดยมีภาพขนาดใหญ่ต่อกันระหว่างสองหน้าที่อยู่ติดกันไม่ได้ เป็นข้อจำกัดใด ๆ ตรงข้าม การพิมพ์และการเข้าเล่มหนังสือที่มีภาพต่อดังกล่าวเป็นความท้าทายสำหรับโรง พิมพ์ การควบคุมการพิมพ์ให้สีคล้ายกันที่สุด (โดยส่วนใหญ่พิมพ์คนละกรอบกัน) และการเข้าเล่มให้ภาพต่อกันได้สนิทจึงต้องอาศัยประสบการณ์และการดูแลอย่าง ใกล้ชิด สิ่งที่ควรระวังเป็นเพียงให้มั่นใจว่าภาพทั้งสองฝั่งมาจาก file เดียวกัน ไม่ได้มีการปรับแต่งฝั่งใดฝั่งเดียว หากมีการตัดภาพออกจากกัน ให้มั่นใจว่าการต่อภาพถูกต้องสมบูรณ์
สีบนจอกับสีในงานพิมพ์ของการออกแบบสิ่ง พิมพ์
           มักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าทำไมภาพบนจอ monitor จึงดูสดใสกว่างานพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจาก ภาพที่เห็นบนจอ monitor เกิดจากจุดกำเนิดแสงสี 3 สี (red, green, blue) ส่องทะลุผ่านจอเข้าตาของเรา ผิดกับภาพที่เห็นบนแผ่นกระดาษพิมพ์ซึ่งเกิดจาก แสงสีขาวสะท้อนผิวขาวของกระดาษผ่านชั้นหมึกพิมพ์ 4 สี (yellow, magenta, cyan, black) แล้วจึงเข้าสู่ตาของเรา หาก file งานเป็น RGB file สีบางเฉดสีที่เห็นบนจอซึ่งเกิดจากการผสมของแม่สี RGB (สีบางสีมีความสดมาก) ไม่สามารถแปลงค่ามาอยู่ในระบบแม่สีแบบ CMYK ได้ จึงทำให้สีเพี้ยนไปไม่เหมือนหน้าจอ เพื่อให้ดูใกล้เคียงกับงานพิมพ์ ให้กด ‘Ctrl’ กับ ‘Y’ เพื่อทดสอบดูสีในระบบ CMYK และก่อนส่ง file งานให้ทางโรงพิมพ์ ให้แปลง file งานให้อยู่ใน mode CMYK
ที่มา : http://www.supremeprint.net
 การออกแบบโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์
           สำหรับการโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ในปัจจุบันนี้ก็ได้แพร่หลายขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์และรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์มีวิวัฒนาการก้าวหน้าไป กว่าเดิมอย่างรวดเร็ว อาจครอบคลุมไปถึงสื่อตัวกลางทุกประเภทที่จะสามารถใช้เป็นพื้นที่ที่พิมพ์ข้อ ความโฆษณาลงไปได้ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ใบปลิว เอกสารแผ่นพับ ป้ายประกาศโฆษณา(โปสเตอร์) หีบ ห่อ กล่องบรรจุสินค้า ฯลฯ
           ในการออกแบบโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภท ใด หลักพื้นฐานที่นักออกแบบโฆษณาควรจะต้องทราบ ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ขั้นตอนของการทำงานออกแบบ และหลักเกณฑ์ในการออกแบบ อย่างไรก็ดีแบบของตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาหนึ่ง ๆ ก็ไม่ควรจะมีมากเกินไปนัก เพราะถ้าหากมากแบบไป อาจจะทำให้แลดูยุ่งเหยิง ด้อยรสนิยม และอาจทำให้หาจุดเด่น คือ พาดหัวสำคัญไม่พบก็ได้ อาจกล่าวได้ว่าพาดหัวโฆษณาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชิ้นงานโฆษณา เพราะเป็นส่วนที่นำเสนอแก่น หรือหัวใจของงานโฆษณานั้น ถ้าผู้อ่านเพียงแต่อ่านพาดหัวก็อาจจะ
องค์ประกอบของโฆษณาในสิ่งพิมพ์
           โดยทั่วไปองค์ประกอบของโฆษณาในสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยองค์ ประกอบใหญ่ 4
ประการ ดังนี้

          
1. พาดหัวโฆษณา (headline) คือ ส่วนที่เป็นตัวอักษรมักมีลักษณะเป็นประโยคที่ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ อาจมีประโยคเดียว บรรทัดเดียว หรือหลายบรรทัด หรือหลายประโยค หลายบรรทัดก็ได้ ในกรณีที่พาดหัวโฆษณายาว อาจจัดแบ่งเป็นพาดหัวใหญ่และพาดหัวรอง พาดหัวรองก็จะเป็นส่วนขยายพาดหัวใหญ่ ใช้ตัวอักษรขนาดเล็กกว่า หรืออาจจะให้แบบตัวอักษรต่างจากพาดหัวใหญ่ก็ได้ ดังนั้นในพาดหัวโฆษณาจึงอาจมีแบบของตัวอักษรได้มากกว่าหนึ่งแบบอย่างไรก็ดี แบบของตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาหนึ่ง ๆ ก็ไม่ควรจะมีมากเกินไปนัก เพราะถ้าหากมากแบบไป อาจจะทำให้แลดูยุ่งเหยิง ด้อยรสนิยม และอาจทำให้หาจุดเด่น คือ พาดหัวสำคัญไม่พบก็ได้

          
อาจกล่าวได้ว่าพาดหัวโฆษณาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชิ้นงานโฆษณา เพราะเป็นส่วนที่นำเสนอแก่น หรือหัวใจของงานโฆษณานั้น ถ้าผู้อ่านเพียงแต่อ่านพาดหัวก็อาจจะสามารถรู้ทุกสิ่งที่ผู้โฆษณาต้องการจะ บอกกล่าวก็ได้ ดังนี้ในบางครั้งโฆษณาทั้งชิ้นอาจมีเพียงแต่พาดหัวโฆษณาแล้วมีชื่อผู้โฆษณา ต่อท้ายเท่านั้น ก็เรียกว่าเป็นชิ้นงานโฆษณาที่สมบูรณ์ชิ้นหนึ่งแล้ว พาดหัวโฆษณาอาจจะปรากฎที่ตำแหน่งใดในพื้นที่ชิ้นงานโฆษณานั้นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบน ส่วนกลาง หรือส่วนกลาง หรืออาจจะตะแคงพาดมุมซ้าย มุมขวาก็ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเมื่อประกอบกับองค์ประกอบนั้น ๆ และวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบว่าต้องการจะใช้พาดหัวโฆษณานั้นให้เกิดผลประการ ใดต่อผู้อ่าน

           นอกจากเรื่องการออกแบบและการกำหนดขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับเนื้ หาและอารมณ์ ของโฆษณาแล้ว สิ่งที่ผู้ออกแบบพึงระวังเกี่ยวกับเรื่องพาดหัวโฆษณาก็คือ การแบ่งประโยคของพาดหัว หากเป็นกรณีที่พาดหัวมีขนาดยาว หรือพื้นที่โฆษณาจำกัด จำต้องแบ่งพาดหัวเป็นหลายบรรทัด ถ้าแบ่งประโยคผิด ก็อาจทำให้ความหมายของพาดหัวนั้นคลาดเคลื่อนและทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ ผิดก็ได้ อีกประการหนึ่ง คือ เรื่องเครื่องหมายวรรคตอน ควรจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักภาษาด้วย

           2. เนื้อหาความโฆษณา (copy block) คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหารายละเอียดของโฆษณาทั้งหมด เป็นส่วนขยายของพาดหัวโฆษณา มักจะเรียงเป็นคอลัมน์หรือบล็อก ขนาดตัวอักษรของเนื้อหาความจะมีขนาดเล็ก บทบาทหน้าที่ของเนื้อความ คือ ช่วยย้ำความมั่นใจของผู้อ่านส่วนมากวิธีการเขียนเนื้อความ มักจะเขียนให้สั้น กะทัดรัด และรวบรัด แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับการโฆษณาสินค้าบางชนิดที่จำเป็นจะต้องเขียนให้ยาวและ อธิบายละเอียด เช่นการโฆษณาบริการที่ไม่อาจจะแสดงภาพให้เห็นชัด และจำเป็นต้องอธิบายชักจูงใจให้มาก เพื่อสร้างความมั่นใจกับลูกค้า เช่น บริการประกันชีวิต เป็นต้น และนอกจากนี้ การโฆษณาบางประเภทก็อาจจะเน้นที่เนื้อความโดยตรง เช่น โฆษณาส่งถึงลูกค้าโดยตรงทางไปรษณีย์และสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ จำเป็นจะต้องใช้เนื้อความยาวและอธิบายละเอียด
           ในกรณีที่เนื้อความมีความยาวมาก ผู้ออกแบบควรจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นบล็อกสั้น ๆ แต่ละบล็อกอาจมีหัวเรื่องซึ่งเป็นใจความสำคัญของบล็อกนั้นเป็นบรรทัดนำ แล้วล้อมรอบทั้งหัวเรื่องและบล็อกนั้นไว้ด้วยพื้นที่ว่างสีขาว ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้พักสายตาเป็นช่วง ๆ

           3. ภาพ (art) ที่จริง คำว่า “art” ในที่นี้มีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ได้เป็นตัวอักษร คือ หมายความถึง ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด ภาพระบายสี กรอบของภาพ เครื่องประดับตกแต่ง แท่งสีต่าง ๆ พื้นสีเทาโทนต่าง ๆ ที่เป็นพื้นหลังของชิ้นงานโฆษณานั่น พื้นที่ว่างสีขาว ตลอดจนแบบของตัวอักษรเอง ก็สามารถจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะในงานโฆษณาได้
           สำหรับภาพถ่ายและภาพวาดนั้น ต่างก็มีประโยชน์ต่องานโฆษณาไปในแง่มุมที่แตกต่างกัน ภาพถ่ายสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และให้ความรู้สึกกับคนดูภาพว่า เป็นของจริงและพร้อมจะเชื่อถือ ส่วนภาพวาดนั้นสามารถที่จะแสดงจินตนาการทุกอย่างได้ในขณะที่ภาพถ่ายอาจจะทำ ไม่ได้ นอกจากนี้ภาพวาดก็ไม่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพฤดูกาลดินฟ้าอากาศเหมือนอย่างการ ถ่ายภาพด้วยกรอบภาพเป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่น่าคำนึงถึง เพราะนอกจากใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งแล้ว ยังมีประโยชน์มากในแง่แยกโฆษณาซึ่งงานของเราไม่ได้ไปปะปนกับงานโฆษณา ซึ่งมีขนาดเท่ากันหรืออยู่ข้างเคียงกัน

           4. ชื่อผู้โฆษณา (signature) องค์ประกอบสุดท้าย เป็นส่วนที่จะบอกกล่าวกับผู้อ่านโฆษณาว่า ใครเป็นเจ้าของโฆษณาชิ้นนั้น โดยปกติชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณามักจะใช้แบบตัวอักษรที่แตกต่างไปจาก ตัวอย่างของเนื้อความโฆษณา เพราะเมื่อจบเนื้อความโฆษณาแล้วในบางชิ้นงานโฆษณาก็จะต่อท้ายด้วยชื่อและที่ ออยู่ของผู้โฆษณาเลย ดังนั้น ก็ควรจะเล่นลวดลายตัวอักษรให้ต่างกัน อย่างไรก็ตามชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณาไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ท้ายเนื้อความ โฆษณาเสมอไป อาจจะไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม ส่วนมากมักจะอยู่ตอนล่างสุดของเนื้อที่ โฆษณา ศัพท์คำว่าชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณานี้ อาจจะมีศัพท์คำอื่นที่ใช้แทนได้ และก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว้างขวางในวงการโฆษณาด้วย เช่น คำว่า “logotype” หรือ “logo”
           นอกจากชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณาแล้ว ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญอีกสองประการสำหรับองค์ประกอบสุดท้ายนี้ คือ เครื่องหมายการค้าและคำขวัญ ซึ่งมักจะอยู่รวมกับกลุ่มกันกับชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณา
ขั้นตอนในการปฏิบัติงานออกแบบโฆษณา
           การปฏิบัติงานออกแบบโฆษณาซึ่งเรียกกันว่า ทำเลย์เอ้าท์นั้นมีหลายขั้นตอนและมีคุณภาพหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นหยาบ หรือคร่าวๆ ที่สุดขึ้นไป จนถึงขั้นละเอียดที่สุด จนอาจจะมองไม่ออกว่าเป็นการวาดหรือเป็นการพิมพ์กันแน่น การทำงานออกแบบจะหยาบหรือละเอียดอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่า จะใช้การออกแบบนั้นเพื่ออะไร เช่น ถ้าหากว่าเพื่อจะส่งให้คนเขียนเนื้อความโฆษณาเอาไปพิจารณาเรื่องขนาด เนื้อที่ที่เขาควรจะเขียนข้อความหรือให้ช่างภาพดูเพื่อเป็นแแนวทางว่าควรจะ จัดภาพอย่างไร หรือเป็นแนวทางให้ช่างพิมพ์ให้ขนาดตัวพิมพ์ ถ้าเป็นเช่นนั้น การออกแบบก็ไม่ต้องละเอียดมาก แต่ถ้าเป็นกรณีเสนอต่อลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจก่อนที่เขาจะต้องจ่าย เงินเป็นจำนวนมาก เพื่อโฆษณาสินค้าของเขาการออกแบบก็ควรจะต้องละเอียดมากขึ้น
การทำเลย์เอ้าท์ ไม่ใช่ว่าคิดแบบแรกได้แล้ว ก็จะสามารถใช้ได้ทันที กว่าที่กระบวนการการทำเลย์เอ้าท์จะเสร็จสิ้นเป็นที่ตกลงใจกันได้ทุกฝ่ายนั้น โฉมหน้าของเลย์เอ้าท์ อาจจะเปลี่ยนไปจากความคิดครั้งแรกห่างไกลจนเป็นคนละภาพเลยก็เป็นได้
ระดับขั้นตอนความละเอียดของการทำเลย์เอ้าท์
           2.1 ภาพร่าง (thumbnail) เป็นขั้นตอนแรกของการทำเลย์เอ้าท์ ส่วนมากมักจะใช้ขนาดพื้นที่ราว 1/4 ของพื้นที่จริงของโฆษณา ในพื้นที่ย่อส่วนจากของจริงนี้ นักออกแบบก็จะสะดวกเข้าในการสเก็ตคร่าว ๆ เช่น ลากเส้นขยุกขยิกแทนภาพ ใช้ดินสอแรเงาเป็นฟันปลาแทนตัวอักษร ในขั้นภาพร่างนี้ เรื่องที่สำคัญกว่าละเอียดของภาพ คือ เรื่องสัดส่วนไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของรูปภาพ ขนาดตัวอักษร ความยาวของเนื้อความโฆษณา ถึงจะย่อลงมาจากของจริงก็จะต้องย่อลงมาในลักษณะที่ถูกสัดส่วน

           2.2 รูปแบบสำเร็จ (finished layout) เป็นการทำเลย์เอ้าขั้นละเอียดขึ้นมากกว่าภาพร่าง
แต่ก็ยังไม่ละเอียดที่สุด ในขั้นนี้มีการออกแบบตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาเห็นชัดทั้งในรูปแบบ สไตล์และขนาด สำหรับภาพก็ไม่ใช้เส้นขยุกขยิกแสดงสัดส่วนภาพเท่านั้น แต่เป็นการแสดงภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพวาด – ภาพเขียน – ภาพถ่าย ก็ได้เหมือนกัน เมื่อโฆษณาจะออกสู่สายตาสาธารณชน ขนาดตัวอักษรของข้อความโฆษณาตลอดจนกรอบเนื้อที่ก็จะกำหนดอย่างถูกต้อง

           2.3 รูปแบบสมบูรณ์ (comprehensives) เป็นการออกแบบพื้นที่ละเอียดกว่า ข้นที่ 2 เป็นการนำเสนอชิ้นงานโฆษณาต่อลูกค้า ดังนั้น จึงต้องมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ เพื่อให้ลูกค้าพิจารณาก่อนตกลงใจเสียเงินเป็นจำนวนมาก ในขั้นนี้ตัวอักษรพาดหัวจะต้องเขียนเหมือนของจริงทุกประการ ส่วนภาพถ้าใช้วาดก็จะต้องวาดให้เหมือนจริง หากเป็นภาพถ่ายก็จะถูกปะไว้ในจุดที่เป็นจริง ข้อความโฆษณาจะต้องทำให้เห็นขนาดเนื้อที่ถูกต้อง ถ้าไม่พิมพ์ให้เหมือนจริงก็จะต้องลากเส้นคู่แสดงขนาดตัวอักษรให้แน่นอน เมื่อเสร็จแล้วก็มีการเข้ากรอบปิดด้วยแผ่นพลาสติกใส เพื่อให้ปลอดภัยคงสภาพดีจนไปถึงมือลูกค้าถ้าชิ้นงานโฆษณานั้นจะต้องพิมพ์ใน ระบบออฟเซต การทำเลย์เอ้าท์ก็ต้องมีขั้นตอนเพิ่มอีกขั้นหนึ่ง คือ การตัดองค์ประกอบทุกอย่างที่จัดทำไว้ปะ (paste up)ลงไปในขนาดพื้นที่เท่าจริง ให้ทุกอย่างประกอบกันในลักษณะที่เหมือนของจริงที่สำเร็จรูปแล้ว ทุกประการ เพื่อเอาไปทำแม่พิมพ์
 การออกแบบโปสเตอร์
           โปสเตอร์ (poster) เป็นแผ่นภาพโฆษณา หรือประกาศบอกข่าวสารที่มีมาแต่สมัยโบราณ เช่น ที่ชาวฟินิเชียน และชาวเมืองปอมเปอิ ได้วาดภาพบนผนังข้างนอกอาคารร้านค้าของตนเพื่อบอกกล่าวว่าร้านตนเป็นร้านขาย จนมปัง ไวน์ หรือเครื่องปั้นดินเผา นับได้ว่าโปสเตอร์เป็นช่องทางการสื่อสารที่สำคัญในสมัยโบราณอีกประการหนึ่ง นอกเหนือไปจากการบอกข่าวบ่าวร้องด้วยคำพูดจากปาก
ต่อมาเมื่อถึงยุคกำเนิดการพิมพ์ ทำให้มีการพิมพ์ใบปลิวเผยแพร่ข่าวสารขึ้น โปสเตอร์
ก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างมาเป็นรูปแบบใบปลิวด้วย และเมื่อมีการค้นพบวิธีการพิมพ์หินขึ้นอีกในประเทศเยอรมนี ก็เป็นการเปิดทางแนวใหม่ให้โปสเตอร์เปลี่ยนรูปลักษณะมาเป็นโปสเตอร์ใน
ปัจจุบัน คือทำให้ให้สมาชิกสามารถพิมพ์เป็น “รูปภาพ” ออกมาได้คราวละเป็นจำนวนมาก

           โปสเตอร์ ได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงระหว่าง ค.ศ.1960-1970 ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่โปสเตอร์มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านศิลปะการออกแบบ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเทคนิควิธีการผลิต โปสเตอร์ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ในกิจกรรมนานา ประการ เช่น ส่งเสริมการศึกษา ส่งเสริมการท่องเที่ยว การกีฬา และดนตรี โดยเฉพาะโปสเตอร์ขนาดเล็กใช้ได้ทั้งเป็นสื่อสำหรับการโฆษณา และเป็นเครื่องประดับตกแต่งห้องมีผู้นิยมกันถึงขั้นสะสมกันเหมือนกับสะสม แสตมป์ เนื่องจากอิทธิพลของวงดนตรีประเภทต่าง ๆ และอิทธิพลของดารานักร้องที่มีกลุ่มแฟนคลับสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมาก เพื่อจำหน่ายให้แฟนเพลงวัยรุ่นที่ยอมรับโปสเตอร์ ในลักษณะเป็นสัญลักษณ์แห่งศิลปะซึ่งแสดงออกถึงวัฒนธรรมของกลุ่มวัยของเขา

          
จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ โปสเตอร์ยังคงมีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในวงการโฆษณาสินค้า นอกจากวงการโฆษณาแล้ว โปสเตอร์ยังเป็นประโยชน์กับวงการอื่น ๆ อีกมาก เช่น วงการการเมือง การกุศล มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น เพราะโปสเตอร์เป็นช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารที่มีประสิทธิภาพช่องทางหนึ่งใน ท่ามกลางช่องทางการสื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในสังคมปัจจุบัน
ขนาดรูปทรงและประเภทของโปสเตอร์
           โปสเตอร์มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก ใช้แขวนหรือปิดประดับผนังห้อง ปิดตามที่สาธารณะ ตู้โชว์สินค้าตามร้านค้า ติดประกาศบนกำแพง ไปจนถึงขนาดใหญ่มากหลายสิบฟุตที่ติดตั้งริมถนนหนทาง หรือบนผนังตึกใหญ่ ๆ

           นอกจากนี้โปสเตอร์ยังมีรูปทรงหลายแบบ เช่นแบบปกติที่เป็นลักษณะกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง จนถึงรูปทรงที่ผิดแปลกออกไปจากรูปกรอบทรงเรขาคณิตคือใช้ลักษณะของรูปภาพเป็น กรอบไปในตัว เช่น รูปทรงต้นไม้ รูปทรงของร่างกาย

           ส่วนประเภทของโปสเตอร์นั้น ถ้าเราจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้หรือเนื้อหาของข่าวสารที่ปรากฎ เราก็จะได้ประเภทโปสเตอร์เพื่อการโฆษณาสินค้าและบริการ และโปสเตอร์ซึ่งมิใช่เพื่อการค้า เช่น โปสเตอร์โฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง รณรงค์เพื่อการกุศล เป็นต้น แต่ถ้าเราจะจำแนก

           ประเภทโปสเตอร์ตามลักษณะสถานที่ตั้งโปสเตอร์ เราก็จะได้โปสเตอร์ที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น บิลล์บอร์ด(Billboard) ในวงการโฆษณา ซึ่งหมายถึงโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่ตั้งไว้ตามข้างถนนหนทาง หรือตั้งไว้บนกำแพงผนังตึกริมถนน คำว่า บิลล์บอร์ด นี้มีที่มาจากวงการโฆษณาในประเทศ

           สหรัฐอเมริกาตอนต้น ค.ศ.1900 เมื่อกิจการร้านค้าต่าง ๆ ได้เช่าพื้นที่บนกระดานไม้ (board) ไว้คอยติดประกาศข้อความโฆษณาของตน (bill) ถึงแม้ว่าในสมัยปัจจุบันนี้ แผ่นกระดานไม้ที่ปิดป้ายโฆษณาจะเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่นไปแล้ว เช่น อะลูมิเนียมแต่ศัพท์คำว่า บิลล์บอร์ด นี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ตลอดมา

           โปสเตอร์ประเภทที่ปิดไว้ตามยวนยานพาหนะที่เป็นบริการสาธารณะ เช่น รถโดยสารประจำทาง นั้นเรียกว่า คาร์การ์ด(car cards) ซึ่งปิดไว้ได้ทั้งข้างในรถ ที่ปิดไว้ท้ายรถภายนอกมักจะเรียกว่า บัสแบค(bus back) และถ้าปิดด้านข้างจะเรียกว่า บัสไซด์ นอกจากตามยานพาหนะแล้ว ยังมีโปสเตอร์ซึ่งปรากฎปิดอยู่ตามที่สาธารณะอื่น ๆ เช่น สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสารประจำทาง ป้ายรถประจำทาง
องค์ประกอบของโปสเตอร์
           โปสเตอร์โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือเป็นประเทศใดก็ตาม จะมีองค์ประกอบดังนี้
รูปภาพของสินค้า หรือบริการหรือเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสาร
มีถ้อยคำที่เป็นตัวอักษรประกอบ ซึ่งโดยมาเป็นข้อความที่ไม่ยาวนัก
ชื่อของผู้เป็นสปอนเซอร์ หรือผู้ที่ผลิตโปสเตอร์นั้น
สำหรับโปสเตอร์โฆษณาสินค้า ในบางครั้งก็อาจเพิ่มเติม เครื่องหมายการค้า (trade mark)
หรือคำขวัญเข้าไปด้วยๅ
ข้อควรคำนึงถึงก่อนการลงมือออกแบบโปสเตอร์
           โปสเตอร์เป็นช่องทางการสื่อสารประเภทสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเฉพาะ ตัวแตกต่างไป จากสื่อสิ่งพิมพ์อื่นคือ โปสเตอร์ติดอยู่กับที่ที่ติดตั้ง ต้องรอคอยให้ผู้ดูเป็นฝ่ายเดินทางไปถึงจุดที่ตั้งแสดงอยู่ ในขณะที่สื่ออื่น ๆ เช่นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ จะเสนอเนื้อหาข่าวสารไปถึงผู้อ่าน
ผู้ชม ในที่อยู่อาศัยโดยตรง
ดังนั้นงานสำคัญที่ผู้ออกแบบโปสเตอร์จะต้องพยายามทำให้สำเร็จก็คือจะต้อง สร้างและยึดความสนใจของผู้ที่มองเห็นโปสเตอร์แล้วให้ได้ตั้งแต่เขาชายตา ชำเลืองมองในครั้งแรกหัวใจสำคัญของวิธีการที่จะจับความสนใจผู้ดูโปสเตอร์ นั้นก็คือ ความง่าย (simplicity) และความตรงไปตรงมา (directness) ในการสื่อสาร
ความง่ายในที่นี้หมายถึง ความง่ายที่เข้าใจในองค์ประกอบของโปสเตอร์ โดยเฉพาะองค์ประกอบสำคัญก็คือส่วนที่เป็นภาพ และส่วนที่เป็นถ้อยคำ ตัวอักษร ที่ประกอบกันแล้วจะต้องสอดคล้องกันเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและประทับใจ
วิธีที่จะทำให้โปสเตอร์ดูเข้าใจได้ง่ายมีดังนี้
           1. องค์ประกอบส่วนที่เป็นภาพ ควรเป็นภาพจำลองของจริง ซึ่งเมื่อมองเห็นแล้วก็
สามารถเข้าใจได้ทันที ไม่ควรเป็นภาพที่แสดงระดับงานศิลป์ที่สูงส่ง ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านศิลปะเป็นพื้นฐานลึกซึ้งเพียงพอที่จะเข้าใจ ได้ และไม่ควรเป็นภาพประเภทแอบสแทรค (abstract) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลแปลความหมายของภาพไปได้นานาประการ
           2. เป็นภาพจำลองของจริงซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนในลักษณะขยายใหญ่ (closeup) เฉพาะในส่วนที่เป็นหัวใจของเรื่องที่ต้องการเสนอ ผู้ดูจะรู้สึกเหมือนได้เห็นภาพห่างไม่กี่ฟุตทั้งที่โดยความจริงแล้วอาจจะยืน ดูภาพอยู่เป็นระยะทางไกลหลายช่วงตึกก็ได้
           3. ในส่วนที่เป็นตัวอักษร ควรคำนึงถึงเรื่องหลักของการอ่านได้ง่ายเป็นสำคัญ เช่น การใช้สีตัดกันของตัวอักษรกับพื้นภาพ ตามหลักควรให้ตัวอักษรเป็นสีเข้ม ส่วนพื้นที่เป็นสีอ่อนดีกว่าจะใช้ตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นสีเข้ม สีที่ดีที่สุดของตัวอักษรสำหรับโปสเตอร์ที่จะทำให้เห็นได้ชัดและอ่านได้ง่าย โดยเฉพาะโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต้องมองดูในระยะไกล คือตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลือง
           4. ในการเลือกแบบตัวอักษร ไม่ควรเลือกแบบตัวอักษรที่มีลักษณะผอมสูง และไม่ควรให้ช่องไฟเบียดติดกัน สำหรับขนาดก็ควรใช้ขนาดตัวอักษรใหญ่ ๆ ได้สัดส่วนกับพื้นที่และองค์ประกอบอื่น
หากจำเป็นจะต้องวางตัวอักษรทับไปบนส่วนที่เป็นภาพ ไม่ควรให้พื้นภาพบริเวณที่
ตัวอักษรจะทบลงไปนั้นเป็นลวดลาย เราะจะทำให้เห็นตัวอักษรไม่ชัดเจน ไม่สะดวกกับการอ่าน
ที่มา : http://viriya.sru.ac.th 
 การออกแบบนิตยสาร
           นิตยสารหรือวารสารมีความหมายที่ใกล้เคียงกันมากในปัจจุบันจน เกือบแยกไม่ ออกว่าเล่มใดคือนิตยสาร เล่มใดคือวารสาร ฉะนั้นในเรื่องต่อไปนี้ จึงกล่าวถึงในลักษณะรวมกันไปทั้งสองชนิด และจะเรียกว่า นิตยสารเท่านั้น

           นิตยสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ต่างจากหนังสือพิมพ์ คือ หนังสือพิมพ์ มุ่งเสนอข้อเท็จจริงและข่าวสารที่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่นิตยสารมุ่งเสนอเนื้อหาทางด้านการบันเทิง วิชาการบทวิเคราะห์ บทความ วิจารณ์และแนวคิด เป็นส่วนใหญ่มิได้มุ่งถึงความสดใหม่ของข่าว และโดยทั่วไปคุณภาพในการพิมพ์และการออกแบบจะดีกว่าหนังสือพิมพ์รายวัน การวางรูปแบบของนิตยสาร จึงมักจะโน้มเอียงในทางการโฆษณามากว่าหนังสือพิมพ์ มีการพิมพ์ภาพสี่สีใช้กระดาษเนื้อค่อนข้างดี ภาพดี เพื่อเรียกความสนใจให้แก่ผู้อ่าน
ลักษณะของนิตยสารทั่วไปควรเป็นดังนี้

           1. มีขนาดเล็กพอที่จะเปิดดูพร้อมกันคราวเดียว 2 หน้าได้
           2. มีหน้าหลายหน้า และมีเรื่องหลายเรื่องต่อกันไปตามลำดับ
จุดมุ่งหมายของการออกแบบหน้านิตยสาร
โดยทั่วไปการวางรูปแบบนิตยสารจะมีจุดมุ่งหมายดังนี้
           1. สร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน เป็นสิ่งสำคัญเบื้องแรกที่ผู้ออกแบบจะต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้สีที่สวยงาม ใช้ภาพที่น่าสนใจ ใช้พาดหัวเรื่อง หรือชื่อเรื่องในแบบที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและเร้าความสนใจ เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามเนื้อหาต่อไป

• หลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับหัวเรื่องหรือชื่อเรื่องบนหน้าของนิตยสารมีดังนี้
                      1. ต้องมีขนาดตัวอักษรโตพอสมควรที่จะเห็นได้ชัดเจน
                      2. มีบริเวณว่างรอบตัวที่เป็นหัวเรื่องเพื่อให้มีความเด่น
                      3. การจัดตำแหน่งของชื่อเองนี้อาจจัดไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด
                      4. ชื่อเรื่องควรสั้นแต่ได้ใจความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
           2. ทำนิตยสารให้อ่านง่ายดูง่าย วัตถุประสงค์ข้อนี้ ทำได้โดยการใช้ตัวอักษรที่อ่านง่ายและ
ออกแบบที่ดี เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสบายตาในการอ่านและติดตามเนื้อเรื่องได้ง่ายที่สุด ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น การใส่คำอธิบายภาพไว้ใกล้ภาพก็จะเป็นการช่วยการอ่านได้อย่างมากเช่นกัน นอกจากนี้ การกำหนดขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมกับขนาดคอลัมน์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้า
คอลัมน์แคบ แต่ใช้อักษรตัวโตเกินไปก็จะทำให้การอ่านไม่เรียบมีการสะดุดตลอดเวลาเพราะ ต้องเปลี่ยนบรรทึกบ่อย แต่ถ้าคอลัมน์กว้างแล้วใช้ตัวอักษรเล็ก ผู้อ่านจะต้องเพ่งสายตามาเพื่อติดตามอ่านข้อความ และอาจหลงบรรทัดได้ง่าย
           3. รูปแบบ (format) นิตยสารมีรูปแบบต่าง ๆ กันและมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กขนาดพอใส่กระเป๋าได้ จนถึงขนาดหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (tabloid) การกำหนดขนาดและรูปแบบของนิตยสารว่าจะเป็นขนาดใดนั้น มักจะเนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ คือ
                      1. เพื่อความสะดวกในการพก เช่น ต่วยตูน, Reader’Digest
                      2. เพื่อให้เหมาะกับลักษณะของเนื้อหา
                      3. เพื่อให้เหมาะกับขนาดของเครื่องพิมพ์
           นิตยสารขนาดใหญ่มักเป็นพวกที่มีเนื้อหาที่ต้องการแสดงภาพ ประกอบหรือนวนิยายเป็น
ส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามนิตยสารโดยทั่วไปก็จะมีเนื้อหาที่เป็นข้อความและเป็น ภาพอย่างละประมาณครึ่งต่อครึ่ง และไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้งเป็นส่วนมาก

           4. การกำหนดกรอบ (frame) กรอบหรือขอบของหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกำหนดในการจัดหน้านิตยสารเพราะ
เป็นเครื่องแสดงจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเนื้อความ เพื่อความสะดวกใน
การสังเกตของผู้อ่าน
การมีกรอบช่วยให้การจัดหน้าทำได้ง่ายขึ้น และยังช่วยในการรวบรวมเรื่องที่
มีลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกันในกรอบเดียวกันด้วย

           5. นิตยสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ผู้อ่านจะมองเห็นพร้อมกันทีเดียว 2 หน้า ซึ่งต่างไปจากหนังสือ
พิมพ์ที่ผู้อ่านจะอ่านคราวละหน้า ฉะนั้นในการออกแบบหน้าใดหน้าหนึ่งจะต้องคำนึงถึงอีกหน้าหนึ่งด้วยเสมอ เช่น ในกรณีที่เป็นเรื่องเดียวต่อเนื่องกันอาจออกแบบให้ชื่อเรื่องหรือภาพคลุมไป ทั้ง 2 หน้า เพื่อแสดงความต่อเนื่องกัน

           6. ในกรณีที่ 2 หน้าซ้ายเป็นคนละเรื่อง จะต้องออกแบบไม่ให้ผู้อ่านเกิดความสับสน จึงต้องออกแบบให้ 2 หน้ามีลักษณะต่างจากกัน เช่น เว้นช่องว่างตรงบริเวณอกหนังสือไว้มากหน่อย และจัดภาพหรือเรื่องให้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

           7. การจัดหน้าของนิตยสารจะต้องมีทั้งความสวยงาม น่าสนใจ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้หลักการแออกแบบหหน้าของส่งพิมพ์ที่กล่าวถึงก่อน หน้าที่แล้ว และข้อควรระวังก็คือ ต้องหลีกเลี่ยงการออกแบบที่ขาดความเป็นระเบียบในการ

           จัดองค์ประกอบ ซึ่งความจริงแล้วในการจัดหน้าหนังสือนั้น ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบมาก ยิ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ มากเท่าใดก็ยิ่งจัดยากเท่านั้น ความเรียบง่ายและได้ประโยชน์ใช้สอยครบครันจะทำให้แลดูงามกว่า แต่ทั้งนี้หน้าหนังสือที่จัดออกมานั้นจะต้องสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะและจุด สำคัญของเรื่องในหน้านั้น ๆ

           8. ปกของนิตยสาร ปกของนิตยสารสวนใหญ่จะประกอบด้วยตัวหนังสือ ภาพ และชื่อนิตยสารนั้น ๆ ซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ และมีขนาดใหญ่ พอที่ผู้อ่านจะเห็นและจำได้ง่าย การออกแบบปกหน้าจะต้องมีความยืดหยุ่นพอควร เพื่อให้สามารถจัดหน้าเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ไม่ซ้ำกันในแต่ละฉบับ
           ภาพประกอบบนปกมักจะเลือกมาจากภาพในเนื้อเรื่อง เพื่อชักนำให้ผู้อ่านติดตามเรื่องภายใน และใช้ตัวหนังสือเป็นเครื่องชี้แนะเรื่องราวภายใน นิตยสารบางฉบับอาจขายพื้นที่บางส่วนบนปกเป็นพื้นที่โฆษณาด้วย ซึ่งผู้ออกแบบก็จะต้องจัดไว้ในมุมที่ไม่บดบังความเป็นเอกลักษณ์ของนิตยสาร นั้น ๆ

           กล่าวโดยสรุปแล้วสามารถนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบมา ใช้ในการจัด หน้านิตยสารได้เป็นอย่างดี และการศึกษาจากนิตยสารต่าง ๆ ที่วางขายในท้องตลาดก็เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่จะเรียนรู้วิธีปฏิบัติ ที่ผู้อื่นได้ทำไปแล้ว
 หลักการออกแบบสิ่งพิมพ์เบื้องต้น
           สิ่งพิมพ์ที่พบเห็นโดยทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ตัวอักษรหรือข้อความ ภาพประกอบ เนื้อที่ว่าง และส่วนประกอบอื่น การออกแบบสิ่งพิมพ์ต้องคำนึงถึงการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันโดยใช้หลักการดังนี้ ทิศทางการและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement)

           เมื่อผู้รับสารมองดูสื่อสิ่งพิมพ์ การรับรู้เกิดขึ้นเป็นลำดับตามการมองเห็น กล่าวคือเกิดขึ้นตาม การกวาดสายตาจาก องค์ประกอบหนึ่งไปยังอีกองค์ประกอบหนึ่ง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการดำเนินการวางแผน กำหนดและชักจูงสายตาของผู้รับสารให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ถูกต้อง ตามลำดับ ขององค์ประกอบที่ต้องการให้รับรู้ก่อนหลัง โดยทั่วไปหากไม่มีการสร้างจุดเด่นขึ้นมา สายตาของผู้รับสารจะมองดูหน้ากระดาษที่เป็นสื่อพิมพ์ในทิศทางของตัวอักษรซี (Z) ในภาษาอังกฤษ คือ จะเริ่มมองที่มุมบนด้านขวา แล้วไล่ลงมายังมุมล่างด้านซ้าย ไปจบที่มุมล่างด้านขวาตามลำดับ การจัดองค์ประกอบที่สอดคล้องกับธรรมชาติของการมองนี้ เป็นส่วนช่วยให้เกิดการรับรู้ตามลำดับที่ต้องการ

           เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony) เอกภาพคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งในการจัดทำเลย์เอาต์หมายถึงการนำเอาองค์ประกอบที่แตกต่างกันมาวางไว้ใน พื้นที่หน้า กระดาษเดียวกันได้อย่างกลมกลืน ทำหน้าที่สอดคล้องและส่งเสริมกันและกันในการสื่อสารความคิดรวบยอดและ บุคลิกภาพของสื่อ สิ่งพิมพ์นั้น ๆ การสร้างเอกภาพนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเลือกใช้แบบตัวอักษรเดียวกัน การเลือกใช้ภาพขาว ดำทั้งหมด เป็นต้น การสร้างความต่อเนื่องกันให้องค์ประกอบ องค์ประกอบ เช่น การจัดให้พาดหัววางทับลงบนภาพ การใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความ ล้อตามทรวดทรง ของภาพ เป็นต้น การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด ซึ่งจะทำให้พื้นที่ว่างนั้นทำหน้าที่เหมือนกรอบสีขาวล้อมรอบองค์ประกอบทั้ง หมดไว้ภายในช่วยให้องค์ ประกอบทั้งหมดดูเหมือนว่าอยู่กันอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน

           ความสมดุล (Balance) หลักการเรื่องความสมดุลนี้เป็นการตอบสนองธรรมชาติของผู้รับสารในเรื่องของ แรงโน้มถ่วง โดยการจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษ จะต้องไม่ขัดกับความรู้สึกนี้ คือจะต้องไม่ดูเอนเอียงหรือหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยไม่มีองค์ประกอบมาถ่วงในอีกด้าน การจัดองค์ประกอบให้เกิดความสมดุลแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ

           สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวา ของพื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองข้าง ซึ่งองค์ประกอบ ที่เหมือนกันใน แต่ละด้านนี้จะถ่วงน้ำหนักกันและกันให้เกิดความรู้สึกสมดุล

           สมดุลแบบอสมมาตร(AsymmetricalBalance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวาของ พื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง แม้องค์ประกอบ จะไม่เหมือนกันในแต่ละด้าน แต่ก็จะถ่วงน้ำหนักกันและกันให้เกิดความสมดุล

           สมดุลแบบรัศมี (Radial Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบ โดยให้องค์ประกอบแผ่ไปทุกทิศทุกทางจากจุดศูนย์กลาง

           สัดส่วน (Proportion) การกำหนดสัดส่วนนี้เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ในเรื่องของขนาด ซึ่งมีความสำคัญ โดยเฉพาะในหน้ากระดาษของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการให้มีจุดเด่น เช่น หน้าปกหนังสือ เป็นต้น เพราะองค์ประกอบที่มีสัดส่วนแตกต่างกันจะดึงดูดสายตาได้ดีกว่าการใช้ องค์ประกอบทั้งหมดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในการกำหนดสัดส่วนจึงต้องพิจารณา องค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษไปพร้อม ๆ กัน ว่าควรจะเพิ่มหรือลด องค์ประกอบใด ไม่ใช่ค่อย ๆ ทำไปทีละองค์ประกอบ

           ความแตกต่าง (Contrast) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่มขนาดให้ ใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกมองดูองค์ประกอบที่ใหญ่กว่าก่อน ความแตกต่างโดยขนาด เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เด่นขึ้นมาด้วย การเพิ่มขนาดให้ใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกมองดูองค์ประกอบที่ใหญ่กว่าก่อน ความแตกต่างโดยรูปร่าง เป็นวิธีที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้รูปร่าง ที่แตกต่างออกไปจาก องค์ประกอบอื่นในหน้ากระดาษ เช่น การไดคัตภาพคนตามรูปร่างของร่างกายแล้วนำไปวางใน หน้ากระดาษที่มีภาพแทรกเล็กๆ ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเป็นต้น ความแตกต่างโดยความเข้ม เป็นวิธีการที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้ เพิ่มหรือลดความเข้มหรือ น้ำหนักขององค์ประกอบนั้นให้เข้มหรืออ่อนกว่าองค์ประกอบอื่นที่อยู่ร่วมกัน ในหน้ากระดาษ เช่น การใช้ตัวอักษรที่เป็นตัวหนาในย่อหน้าที่ต้องการเน้นเพียงย่อหน้าเดียวใน หน้ากระดาษ เป็นต้น ความแตกต่างโดยทิศทาง ทิศทาง เป็นวิธีการที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการวางองค์ ประกอบที่ ต้องการจะเน้นนั้นให้อยู่ในทิศทางที่แตกต่างจากองค์ประกอบอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกัน ในหน้ากระดาษเช่น การวางภาพเอียง 45 องศา ในหน้ากระดาษที่เต็มไปด้วยตัวอักษรที่เรียง เป็นแนวนอน เป็นต้น

           จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition) การจัดวางองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นโดยกำหนดตำแหน่งให้เกิดมีช่องว่างเป็นช่วง ๆ ตอน ๆ อย่างมีการวางแผนล่วงหน้า จะทำให้เกิดจังหวะและลีลาขึ้น และหากว่าองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นนั้นมีลักษณะซ้ำกันหรือใกล้เคียงกัน ก็จะยิ่งเป็นการเน้นให้เกิดจังหวะและลีลา ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลักษณะตรงกันข้ามกับแบบแรก จังหวะและลีลาลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึก ที่ตื่นเต้น ดูเคลื่อนไหวและมีพลัง
การใช้สีกับสื่อสิ่งพิมพ์
            ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ มีความสดใส สวยงาม น่าสนใจ และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณภาพอีกด้วย ดังนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด
ทฤษฎีของสี
           อารมณ์และความรู้สึกจะเป็น ตัวกำหนดความชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสีของแต่ละคน แต่ละกลุ่มเป้าหมายมีส่วนที่จะชักจูงให้เกิดความรู้สึกสนใจ และเข้าใจถึงคุณค่าของภาพเหล่านั้นสามารถตอบสนองแรงกระตุ้นได้ตามวัตถุ ประสงค์ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญของงานออกแบบมีทฤษฎีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องของสี ที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่าง ในเรื่องของความหมายและอิทธิพลของสีที่มีต่อการรับรู้ต่อการมองเห็นภาพที่ ปรากฏ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย
วงล้อสีธรรมชาติ
ในส่วนของวงล้อสีธรรมชาติมีรายละเอียด ดังนี้
           * มีทุกสีในวงล้อสีเป็นสีแท้หรือฮิว เพราะทุกสีจะมีความเข้มหรือความสดในในตัวของมันเอง ซึ่งเกิดจากการผสมของแม่สี
           * เมื่อนำสีทุกสีมาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน จะทำให้เกิดเป็นสีที่เป็นกลางหรือนิวทรัล
           * สีที่อยู่ใกล้กันจะมีความกลมกลืนกัน เพราะเป็นการผสมสีจากสีร่วมกัน
           * สีที่ตรงกันข้ามกันในวงล้อจะมีลักษณะของสีที่ตัด กัน
โทนของสี
           โทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอยู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ
           1. โทนสีร้อน (warmtone)
           2. โทนสีเย็น (cooltone)
จิตวิทยาในการเลือกใช้สี
           สีถึงแม้จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการนำไปใช้งาน แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว เมื่อสายตาได้พบเห็นวัตถุที่มีความแตกต่าง หลากหลายของสีในวัตถุ ย่อมเกิดความรู้สึกต่าง ๆ
หลักการพิจารณาในการเลือกใช้สี
           การใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้งาน นั้นมีความสวย งามน่าดู น่าชม หรือส่งเสริมให้เนื้อหาสาระที่นำเสนอมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งคนแต่ละวัยจะมีความสนใจกลุ่มสีที่แตกต่างกัน
 เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับการผลิตสิ่งพิมพ์
           ในทาง เทคนิคแล้วน้ำบริสุทธิ์นั้นไม่สามารถผลิตได้ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ น้ำจากก๊อกน้ำทั่วไปโดยทั้งหมดแล้วล้วนแต่ปนเปื้อนแร่ธาตุต่างๆในปริมาณไม่ มากก็น้อยทั้งสิ้น ในแนวทางเดียวกับความจริงที่ว่าน้ำที่ห่อหุ้มผิวโลกอยู่นี้มีเพียง 2% เท่านั้นที่สามารถใช้ดื่มได้ น้ำเป็นตัวทำละลายที่ยอดเยี่ยมและดูเหมือนว่ามันจะพยายามละลายทุกอย่างที่ มันทำได้ แต่โชคไม่ดีนักที่น้ำจากก๊อกของเรานั้นไม่ถึงกับบริสุทธิ์แต่ในที่นี้มิได้ หมายความว่าเป็นน้ำสกปรกหากแต่เจือปนไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ น้ำยังสามารถจะมีความเป็นกรดหรือด่าง ด้วยการทำละลายเกลือในธรรมชาติ เช่นการไหลผ่านชั้นดินและหินจนกว่าจะเดินทางไปถึงแหล่งเก็บกักน้ำ ในทางนี้เอง ที่น้ำมีความเป็นกรดหรือด่าง ยังสามารถเรียกได้ว่าน้ำนั้นมีความกระด้างอีกด้วย ข้อมูลต่อไปนี้จะนำท่านสู่ข้อมูลโดยสรุป คำจำกัดความที่สำคัญ และความรู้ที่จะทำให้เราเข้าใจในเรื่องนี้
กรดและด่างกับค่า pH
           ความ สมดุลของกรดและด่างของน้ำสามารถกำหนดได้ด้วยค่า pH ค่า ดังกล่าวนี้สามารถวัดได้โดยง่ายด้วยวิธีการทั่วไป ค่า pH จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 14 โดยค่า pH ตั้งแต่ 0 – 7 จะบอกได้ว่าน้ำนั้นมีค่า เป็นกรด ค่า pH นี้ยังเป็น index ของเลขยกกำลัง โดยอาจกล่าวได้ว่า ค่า pH ลดลงจาก 7 ไปถึง 6 หมายความว่าค่าอิออนของกรดเพิ่มขึ้นในอัตรา 10 และหาก pH ลดลงจาก 7 ถึง 5 หมายความว่าค่าอิออนของกรด เพิ่มขึ้นในอัตรา 100 ค่า pH 5 บอกถึงว่าน้ำนั้นเป็นกรดอ่อนและค่า pH ต่ำกว่า 2 จะเริ่มระคายเคืองผิวหนัง และทำให้เกิดแผลไหม้ ในทางกลับกันน้ำที่มีค่า pH ตั้งแต่ 7 – 14 จะมีความเป็นด่าง
ผลกระทบจากความกระด้างของน้ำ
           คำ อธิบายที่ค่อนข้างเข้าใจง่ายและชัดเจนของความกระด้างคือ น้ำกระด้างคือน้ำที่จะทำให้สบู่เกิดฟองได้ยากและใช้เวลานาน น้ำกระด้างยังก่อให้เกิดตะกรันในท่อน้ำและส่วนประกอบต่างๆของระบบท่ออีกด้วย ความกระด้างของน้ำจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณเกลือแคลเซียมที่ถูกละลายและ เจือปนอยู่ในน้ำดังกล่าว ค่าที่จะวัดความกระด้างของ น้ำโดยส่วนใหญ่จะยอมรับกันในหน่วย ppm. หรือ ส่วนในล้านส่วน ในที่นี้คือ ปริมาณส่วนของเกลือแคลเซียม ในล้านส่วนของน้ำ ปกติแล้วน้ำในแหล่งเก็บกักจะมีค่า 100 ppm. และ น้ำตามลำธารโดยทั่วไปมักจะมีความกระด้างมากกว่าและมีค่าประมาณ 200 – 300 ppm. อย่างไรก็ตาม น้ำกระด้างก็เป็นน้ำที่สามารถใช้ดื่มได้เป็นอย่างดี แต่อาจไม่เหมาะกับการพิมพ์ offset
ความซับซ้อนของกระบวนการ offset dampening
           โดย ทั่วไปน้ำยา fountain เข้มข้นจะถูกผสมกับน้ำจาก แหล่งประปาโดยทั่วไป เช่นจากก็อกในโรงพิมพ์ของเราเพื่อใช้ในการพิมพ์ offset ส่วนผสมดังกล่าวนี้มีความ สำคัญอย่างมากเพื่อให้การพิมพ์ของเราปราศจากปัญหา จึงไม่มีข้อสงสัยว่าคุณภาพของน้ำยา fountain นี้มีความ สำคัญอย่างมาก โดยพื้นฐานแล้วน้ำยา fountain นี้จะมี หน้าที่รักษาคุณสมบัติ hydrophilic ของเพลทอะลูมิเนียม (hydrophilic property คือ คุณสมบัติที่ทำให้บริเวณหนึ่งๆมีความไวต่อการเข้ากับน้ำ) ระหว่างการพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้จุดพิมพ์ของเรามีความคมชัดและส่งผลต่อคุณภาพการพิมพ์ ที่ดีโดยการป้องกันไม่ให้หมึกไหลเข้าไปเลอะในในบริเวณที่ไม่ใช่ภาพที่ต้อง การจะพิมพ์ ในการพิมพ์ระบบออฟเซ็ทนี้คุณภาพในการพิมพ์จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น หมึก,ลูกน้ำ, ผ้ายาง และเพลท กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การ พิมพ์ที่มีคุณภาพจึงอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลกันของหมึกและน้ำยา fountain นี้เอง
น้ำยาฟาวเท่นที่ดีคืออย่างไร
           จะ เห็นว่าน้ำยาฟาวเท่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับ 4 ส่วนของขบวนการพิมพ์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ เพลท หมึก และน้ำ ดังนั้น น้ำยาฟาวเท่นที่ดี จะต้องมีผลต่อ ทั้ง 4 ส่วนดังนี้ คือ
ผลต่อเครื่องพิมพ์
           1. จะต้องไม่ทำ ให้หน้าผ้ายางเสียหาย
           2. จะต้องไม่ทำ ให้ลูกกาวเสียหาย
           3. ต้องรักษา ผ้ายางให้ใช้งานได้นาน
           4. ช่วยรักษา ระบบจ่ายน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ
           5. จะต้องไม่ทำ ให้เครื่องพิมพ์เกิดสนิม
ผลต่อเพลท
           1. จะต้องรักษา พื้นที่ไม่มีภาพของเพลท ให้ปราศจากหมึกตลอดเวลา
           2. ทำให้ เพลมล้างทำความสะอาดได้ง่าย
           3. ไม่ทำลายผิว หน้าเพลทให้เสียหาย หรือทำให้เพลทหลุดง่าย
           4. ต้องไม่ทำ ให้เพลทเกิดสนิม
           5. ช่วยรักษา หน้าเพลทให้มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา
           6. สามารถใช้ ได้ดีกับเพลททุกชนิดทั้งเพลทสำเร็จ และเพลทเกรน
ผลต่อหมึก
           1. ไม่ไปทำลายคุณสมบัติพื้นฐาน ของหมึก
           2. จะต้องสร้าง และรักษาความคงที่ของหมึก
           3. จะต้องปรับสภาพความสมดุลระหว่างหมึก และน้ำได้อย่างรวดเร็ว
           4. จะต้องไม่มี ผลทำให้ความคมของเม็ดสกรีน
           5. ไม่มีผลต่อ การเซ็ตตัวของหมึก
ผลต่อระบบน้ำ

           1. ทำให้ค่าความเป็นกรดเป็น ด่าง (pH value) มีความคงที่ตลอดเวลา
           2. ช่วยลดแรง ตึงผิวของน้ำ
           3. ไม่ทำให้ เกิดเชื้อรา และตะไคร่น้ำ
           4. สามารถผสม กันได้กับแอลกอฮอลล์และสารเพิ่มเติมตัวอื่น ๆ
           5. สามารถควบ คุมสารแคลเซี่ยม ไม่ให้ไปกำตามภาชนะ และท่อที่ไหลผ่าน
           6. ไม่ทำให้ เกิดฟอง
 กระดาษมีความสำคัญอย่างไร
           ของใช้ในชีวิตประจำวันที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เช่น หนังสือที่เรากำลังอ่านอยู่นี้ หนังสือพิมพ์ ถุงใส่ขนม กล่องใส่ของ ธนบัตร กระดาษเช็ดหน้าเช็ดปาก ตั๋วรถเมล์ ตลอดจนแผ่นป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ตามสถานที่ทั่วไป ล้วนแล้วแต่ทำด้วยกระดาษทั้งสิ้น
           มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีทำกระดาษเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าปีมาแล้วในประเทศจีน โดยเอาฟางมาแช่น้ำทิ้งไว้ ครั้นฟางเปื่อยดีแล้วนำไปตีจนและจึงกรองเยื่อที่ได้ออก เอาไปล้างให้สะอาดอีกครั้งก็จะได้เยื่อกระดาษ วิธีทำกระดาษให้เป็นแผ่นในสมัยนั้น ทำโดยเอาเยื่อกระดาษที่ล้างสะอาดแล้วมาละลายน้ำอีกครั้งหนึ่งในถังไม้ น้ำที่ใช้ผสมต้องมากประมาณ ๑๐-๑๕ เท่าของเนื้อเยื่อ แล้วใช้ตะแกรงไม้ไผ่ตาถี่ช้อนลงไปในถัง เนื้อเยื่อจะติดตะแกรง พอหมาดดีแล้วลอกเยื่อกระดาษที่ติดตะแกรงเป็นแผ่นออกไปตากแดดจนแห้ง กระดาษจะหนาหรือบางขึ้นอยู่กับความข้นของเยื่อ ถ้าต้องการกระดาษหนาก็ผสมเยื่อให้ข้น กระดาษที่ได้มีสีน้ำตาลเพราะทำจากฟาง จึงเรียกว่า กระดาษฟาง ต่อมามีการใช้ผ้าขี้ริ้วหรือเศษผ้าแช่ กับน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้าแล้วตีจนเละเช่น เดียวกับวิธีทำกระดาษฟาง แต่กระดาษที่ได้มีสีเทา และเนื้อละเอียดกว่ากระดาษฟางมาก
           เคล็ดลับวิธีทำกระดาษได้ตกทอดไปยังทวีปยุโรป ประเทศอังกฤษได้รู้จักทำกระดาษใช้เมื่อ พ.ศ. ๑๘๕๒ ในสมัยนั้น กรรมวิธีทำกระดาษส่วนใหญ่ยังทำด้วยมือ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๔๒ จึงมีชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ นิโคลาส โรแบร์ต (Nicolas Robert) ได้ประดิษฐ์เครื่องทำกระดาษขึ้นมา โดยทำเป็นเครื่องมือแบบง่ายๆ และแผ่นกระดาษที่ได้ยังต้องนำไปตากให้แห้งด้วยการผึ่งลมในห้อง
           วัสดุ ที่ใช้ทำกระดาษมีหลายอย่าง เช่น เศษผ้า ฟาง ปอ หญ้า ไม้ ไม้ไผ่ และชานอ้อย เช่น โรงงานกระดาษ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบสำคัญ โรงงานกระดาษบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ฟางข้าว โรงงานเยื่อกระดาษ ที่จังหวัดขอนแก่น ใช้ปอเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ในแถบนั้น ๆ ส่วนโรงงานทำกระดาษที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบยังไม่มี แต่มีโครงการจะตั้งโรงงานผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์โดยใช้ไม้จากป่าสนทาง ภาคเหนือในอนาคต
           กระดาษประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ รวมเป็นเนื้อเดียวกันกระดาษบางชนิดจะแลเห็นเนื้อเยื่อเหล่านี้ชัดเจนมาก เช่น กระดาษสาที่ใช้ทำตัวว่าวและกระดาษถุงสีน้ำตาล เป็นต้น ไม้ทุกชนิดใช้ทำเยื่อกระดาษได้ แต่มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษ ไม้ที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษจะต้องให้เยื่อเหนียว ยาว มียางน้อย เพราะยางไม้ทำให้เปลืองสารเคมีเมื่อต้มเยื่อ และยังทำให้กระดาษขาดง่ายขณะทำเป็นแผ่นต้องเป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ปริมาณไม้ต่อเนื้อที่สูงและไม่มีคุณค่าในการทำ เครื่องเรือน
            ไม้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมักจะเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สน ไม้ประเภทสนมีอยู่หลายชนิด ตามลักษณะของใบ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ได้ทดลองปลูกสนชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ผลปรากฏว่าสนหลายชนิดสามารถปลูกขึ้นในประเทศไทย และเจริญเติบโตเร็วกว่าในต่างประเทศ ไม้เนื้ออ่อนบางชนิดที่มีขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศ เช่น ต้นนุ่น งิ้ว ก้ามปู ก็สามารถใช้ทำกระดาษได้
           ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น ประเทศพม่า อินเดีย ปากีสถาน จีน ต่างก็ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบทั้งสิ้น เนื่องจากไม้ไผ่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ปริมาณไม้ไผ่ที่ได้ต่อเนื้อที่น้อยกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ จึงยังไม่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษขนาดใหญ่
           ฟางและชานอ้อยให้เยื่อกระดาษสั้นและไม่เหนียวจึงเหมาะที่จะใช้ทำ กระดาษคุณภาพต่ำ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ แต่ถ้าจะใช้เยื่อที่ได้จากฟางหรือชานอ้อยทำกระดาษคุณภาพดี เช่น กระดาษสมุด ต้องผสมเยื่อยาวที่ได้จากไม้สนหรือไม้ไผ่ลงไปประมาณร้อยละ ๓๐-๕๐
           ไม้ที่ใช้ทำกระดาษ เมื่อขนส่งมาถึงโรงงาน จะถูกปอกเปลือกออกหรืออาจจะลอกเปลือกออกทันทีด้วย เครื่องจักรหรือมือหลังการโค่น การลอกเปลือกทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ใส่ท่อนไม้ที่ตัดสั้นลงไปในถังใหญ่ที่หมุนในแนวระดับ ไม้จะถูกันเองจนเปลือกหลุด หรืออาจใช้น้ำที่มีความดันสูงระหว่าง ๑,๕๐๐-๒,๕๐๐ ปอนด์ตารางนิ้ว ฉีดบนท่อนซุง แรงดันของน้ำทำให้เปลือกไม้หลุดออกได้ เปลือกไม้จะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไปในโรงงานทำกระดาษนั่นเอง จากนี้ท่อนซุงที่ปราศจากเปลือกแล้วจะถูกนำไปทำให้กลายเป็นเยื่อกระดาษต่อไป กรรมวิธีทำเยื่อกระดาษมีอยู่ ๒ วิธีคือ
            ๑. กรรมวิธีบด ท่อนซุงที่ปอกเปลือกแล้ว จะถูกนำป้อนเข้าไปฝนกับโม่หิน โดยมีน้ำฉีดเพื่อให้โม่หินเย็นลง และหาเยื่อกระดาษออกไปทำกระดาษต่อไป
            ๒. กรรมวิธีทางเคมี ท่อนซุงจะถูกทำให้เป็นเยื่อกระดาษโดยสารเคมี เยื่อกระดาษที่ได้จากวิธีนี้จะมีสีขาวกว่า แต่จะมีราคาแพงกว่ากระดาษที่ทำด้วยกรรมวิธีบด ท่อนซุงจะถูกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผ่านไปยังหม้อย่อยไม้ เศษไม้จะถูกต้มกับสารเคมีนาน ๖-๒๔ ชั่วโมง จึงจะได้เยื่อกระดาษที่จะทำเป็นกระดาษต่อไป
            สารเคมีสำคัญๆ ที่ใช้ต้ม มีอยู่ ๓ ประเภท ดังนั้น เยื่อกระดาษที่ได้จึงมี ๓ ประเภทตามชนิดของสารเคมีที่ใช้ คือ เยื่อกระดาษโซดา (soda pulp) ใช้สารละลายด่างแก่ หรือโซดาแผดเผา (caustic soda) เยื่อกระดาษซัลไฟด์ (sulfide pulp) ใช้แคลเซียมไบซัลเฟต (calcium bisulfate) และเยื่อกระดาษ ซัลเฟต (sulfate pulp) ใช้โซเดียมซัลเฟต (sodium sulfate) รวมกับโซดาแผดเผา โซเดียมซัลไฟด์ (sodium sulfide) และโซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate) สารเคมีแต่ละชนิดทำให้เยื่อกระดาษมีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน เช่น เยื่อกระดาษโซดาจะอ่อนนุ่มและขาวสะอาดเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษสมุดหนังสือ และหนังสือพิมพ์ เยื่อกระดาษซัลไฟด์จะเหนียวกว่า เหมาะที่จะใช้ทำกระดาษที่เหนียวขึ้น ส่วนเยื่อกระดาษซัลเฟตนั้นเหนียวมาก และยังฟอกสีให้ขาวได้ยาก จึงเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษสีน้ำตาล ใช้ห่อของ บางทีเราเรียกว่า กระดาษคราฟต์ (kraft paper คำว่า kraft ในภาษาเยอรมันแปลว่า ความแข็งแรง) กระดาษชนิดนี้เริ่มผลิตในประเทศเยอรมันจึงได้ชื่อมาจนทุกวันนี้
            เยื่อกระดาษที่ได้จะมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแก่ แล้วแต่กรรมวิธีที่ผลิตเยื่อ ถ้าต้องการเยื่อสีขาวสำหรับกระดาษสมุดหรือกระดาษพิมพ์จะต้องผ่านการฟอกสี ด้วยสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้ฟอกสีกระดาษ ได้แก่ ก๊าซคลอรีน ผงฟอกสี คลอรีนไดออกไซด์ เป็นต้น เมื่อได้เยื่อกระดาษมาแล้ว นำไปทำเป็นแผ่นกระดาษโดยเอาเยื่อกระดาษมากวน กับน้ำให้เข้ากันในถังใหญ่ ใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ผสมสีทำให้กระดาษมีสีต่าง ๆ กัน ผสมแป้งหรือยางไม้ บางชนิดทำให้หมึกไม่ซึมเวลาพิมพ์ เป็นต้น จากนั้นจะถูกผ่านไปบนตะแกรงลวด ซึ่งทำเป็นสายพานเกลี่ยให้เป็นแผ่นกว้าง น้ำจะถูกดูดซึมออก เกิดเป็นแผ่นกระดาษเปียก ๆ จากนั้นจึงนำไปผ่านลูกกลิ้งเพื่อทำให้เรียบ แล้วนำไปผ่านลูกกลิ้งอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้น้ำในกระดาษระเหยจนแห้งและในที่สุดกระดาษจะมีผิวเรียบ มัน แล้วจึงม้วนเข้าเป็นม้วนใหญ่พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป
            วิวัฒนาการของการผลิตกระดาษ และความต้องการใช้กระดาษในปัจจุบัน ทำให้เราใช้กระดาษเพิ่มมากขึ้น นอกจากทำกระดาษสมุดและหนังสือธรรมดาแล้ว เรายังทำกระดาษแข็ง ทำประตู ฝากั้นห้อง ท่อระบายน้ำ หรือแม้กระทั่งกางเกงชั้นในชนิดใช้แล้วทิ้ง ไม่ต้องซัก ในอนาคตเราอาจมีผลิตผลอื่น ๆ ที่ทำด้วยกระดาษเพิ่มขึ้นอีกมาก
กระบวนการผลิตกระดาษ
           กระบวนการผลิตกระดาษในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักร ขนาดใหญ่มีผล ผลิตมากและมีประสิทธิภาพการผลิตสูง แต่ก็ยังมีโรงงานขนาดกลางและย่อมที่ผลิตกระดาษเฉพาะอย่าง กระบวนการผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ
           1.ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ
           2.ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ
           3.ขั้นตอนการทำแผ่น
           4.ขั้นตอนการตกแต่งผิว
ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ (Pulping)
           ทำเยื่อกระดาษเริ่มจากการนำไม้มาตัดเป็นท่อน ๆ ลอกเปลือกไม้ออก ทำความสะอาด แล้วสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สามารถทำเยื่อกระดาษได้ 3 ประเภทคือ
           เยื่อ เชิงกลหรือเยื่อบด (Mechanical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้พลังงานกล โดยนำชิ้นไม้ไปบดด้วยหินบดหรือจานบด เยื่อที่ได้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ สั้นและขาดเป็นท่อน ทำให้กระดาษที่ได้มาไม่แข็งแรง อีกทั้งยังมีสารลิกนินคงเหลืออยู่ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กระดาษเปลี่ยนเป็นสี เหลืองเมื่อได้รับแสง กระดาษที่ได้จากกรรมวิธีนี้มีความทึบสูงดูดความชื้นได้ดี มีราคาถูก แต่ไม่แข็งแรงและดูเก่าเร็ว มักจะนำไปใช้ทำสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ เพื่อพัฒนาเยื่อบดให้ดีขึ้น ได้มีการนำชิ้นไม้ไปอบด้วยความร้อนก่อนนำไปบด เพื่อให้เยื่อไม้กับลิกนินแยกออกจากกันได้ง่าย คุณภาพกระดาษที่ได้ก็จะดีขึ้น
           เยื่อเคมี (Chemical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมีและความร้อนในการแยกเยื่อและขจัดลิกนิน เยื่อกระดาษที่ได้จากวิธีการนี้มีความสมบูรณ์กว่าเยื่อบด แต่ได้ผลผลิตที่ต่ำกว่า ราคาก็สูงกว่า เยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลเฟต ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลเฟต (Sulfate Pulp) จะเป็นเยื่อที่เหนียวมีสีคล้ำอมน้ำตาล มักจะนำไปใช้ทำกระดาษเหนียว (Kraft Paper) สำหรับทำถุงและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ส่วนเยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลไฟต์ ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลไฟต์ (Sulfite Pulp) จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเยื่อซัลเฟต นิยมนำไปฟอกให้ขาวเพื่อใช้เป็นกระดาษสำหรับเขียนและกระดาษเพื่อใช้ในงาน พิมพ์
           เยื่อกึ่งเคมี (Semi-chemical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยนำไม้ชิ้นมาต้มในสารเคมีเพื่อให้เยื่อแยกออกจากกันง่าย ขึ้นและเพื่อละลายลิกนิน เสร็จแล้วจึงนำมาบดด้วยจานบด กรรมวิธีนี้ทำให้ได้เยื่อที่มีคุณภาพดีกว่าเยื่อบดและได้ผลผลิตมากกว่าเยื่อ เคมี เยื่อกึ่งเคมีมักนำไปใช้ในการผลิตกระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่
           นอกจากนี้ยังมีการทำเยื่อจากกระดาษใช้แล้ว โดยนำมาปั่นเพื่อให้เยื่อกระจายออกจากกันและมีการผ่านขบวนการขจัดสิ่งที่ ติดกระดาษมาด้วยเช่น หมึก กาว ฯลฯ เยื่อที่ได้นี้จะไม่สมบูรณ์ สั้น เส้นใยขาด จึงไม่มีความแข็งแรง การผลิตกระดาษจึงมักนำเยื่อบริสุทธิ์มาผสม เนื่องจากมีสารปนเปื้อนตกค้างไม่สมารถกำจัดได้หมด เยื่อจากกระดาษเก่ามักนำไปใช้ทำกระดาษหนา กระดาษกล่อง และมักจะมีสีคล้ำ
           เยื่อที่ผ่านขั้นตอนการผลิตข้างต้น หากต้องการนำไปผลิตกระดาษที่มีเนื้อสีขาว ก็จะนำไปผ่านขบวนการฟอกเพื่อกำจัดลิกนินออก เยื่อที่ได้ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ จะต้องผ่านการเตรียมน้ำเยื่อก่อนที่จะนำไปทำแผ่นกระดาษ
ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ (Stock Preparation)
           การเตรียมน้ำเยื่อ เป็นการทำให้เยื่อกระจายตัวและเติมส่วนผสมให้เหมาะกับการทำกระดาษประเภทที่ ต้องการ การเตรียมน้ำเยื่ออาจมีการนำเยื่อไม้มากกว่า 1 ชนิดมาผสมเข้าด้วยกันเพื่อควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมและเพิ่มสมบัติบางประการ ให้กับกระดาษที่จะผลิต การเตรียมน้ำเยื่อเริ่มจากการตีเยื่อให้กระจายอย่างสม่ำเสมอในน้ำเยื่อไม่ จับเป็นก้อน เสร็จแล้วนำไปบดให้เส้นใยแตกเป็นขลุยเพื่อช่วยการเกาะยึดระหว่างกันดีขึ้น จากนั้นก็นำสารปรับแต่งต่าง ๆเพื่อเพิ่มสมบัติของกระดาษตามที่ต้องการพร้อมกันนี้จะมีการปรับความเข้มข้น ของน้ำเยื่อก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำแผ่น
ขั้นตอนการทำแผ่น (Sheet Formation)
           ขั้นตอนนี้เริ่มด้วยการนำน้ำเยื่อลงในถังจ่ายน้ำเยื่อซึ่งจะ ถูกปล่อยลงบน สายพานตะแกรง น้ำส่วนใหญ่จะเล็ดรอดผ่านช่องของตะแกรงเหล่านี้ เยื่อจะเริ่มเป็นรุปร่างกระดาษ สายพานตะแกรงจะพาเยื่อกระดาษเข้าสู่ส่วนที่เป็นลูกกลิ้งเพื่อรีดน้ำที่ยัง ค้างอยู่ออกให้มากที่สุดพร้อมกับกดทับให้เยื่อประสานติดกัน ต่อจากนั้นกระดาษจะถูกพาไปอบโดยผ่านลูกกลิ้งร้อนหลาย ๆ ลูกจนเหลือน้ำอยู่น้อยมาก (ประมาณ 4 – 6 % โดยน้ำหนัก)
ขั้นตอนการตกแต่งผิว (Finishing)
           กระดาษที่ผ่านการอบแห้งจะถูกนำมาตกแต่งผิวตามที่ต้องการเช่น การขัดผิว (Calendering) การเคลือบผิวให้เรียบเงาหรือด้าน กระดาษที่แล้วเสร็จจะถูกจัดเก็บเป็นม้วนเข้าโกดัง เมื่อมีการออกจำหน่ายก็จะตัดเป็นม้วนเล็กตามหน้ากว้างที่ต้องการ หรือตัดเป็นแผ่น ๆ ตามขนาดที่ต้องการแล้วห่อเป็นรีม ๆละ 500 แผ่น
กระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์
           ความเข้าใจในเรื่องกระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์ จะช่วยให้ท่านสามารถเลือกกระดาษได้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ความสวยงาม และราคาของงานพิมพ์ เรื่องที่ควรรู้จัก ได้แก่
           1. ชนิดของกระดาษ
           2. ความหนาของกระดาษ
           3. ขนาดของกระดาษ
1. ชนิดของกระดาษ
กระดาษที่นิยมใช้ในงานพิมพ์ทั่วไป ได้แก่
1.1 กระดาษอาร์ต
           กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไปแล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่
กระดาษอาร์ตมัน
เนื้อกระดาษเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี
ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม , 130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม
กระดาษอาร์ตด้าน
เนื้อกระดาษเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู
ความหนาของกระดาษมีดังนี้ คือ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม , 130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม
กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า
เป็นกระดาษอาร์ตที่หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา
กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า
เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษ อาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
1.2 กระดาษปอนด์
           เป็นกระดาษเนื้อเรียบสีขาว นิยมใช้พิมพ์งานสีเดียว หรือพิมพ์สี่สีก็ได้แต่ไม่สวยเท่ากระดาษอาร์ต สามารถเขียนได้ง่ายกว่าทั้งปากกาและดินสอ เหมาะสำหรับพิมพ์เนื้อในหนังสือ กระดาษหัวจดหมาย ฯลฯ ความหนากระดาษที่นิยมใช้พิมพ์หนังสืออยู่ที่ 70-100 แกรม
1.3 กระดาษปรู๊ฟ
           กระดาษปรู๊ฟ มีเนื้อกระดาษหยาบ สีน้ำตาล หรือขาวหม่น ฉีกขาดง่าย ราคาถูกที่สุด เหมาะสำหรับพิมพ์งานจำนวนมากๆ เช่น หนังสือพิมพ์
1.4 กระดาษแบงค์
           กระดาษแบงค์เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า นิยมใช้พิมพ์บิลต่างๆ หรือใบปลิว ความหนาประมาณ 55 แกรม ขึ้นไป
1.5 กระดาษแอร์เมล์
           เนื้อกระดาษบางประมาณ 38 แกรม สำหรับพิมพ์บิล
2. ความหนาของกระดาษ
          
การวัดความหนาของกระดาษทำ ได้ยาก เพราะกระดาษแต่ละแผ่นบางมาก ดังนั้นแทนที่จะวัดจากความหนาโดยตรง ก็ใช้วิธีชั่งนํ้าหนักของกระดาษแทน โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า กระดาษหนาย่อมมีนํ้าหนักมากกว่ากระดาษบาง โดยพิจารณาจากน้ำหนักของกระดาษขนาด 1 ตารางเมตร ในหน่วยวัดเป็น แกรม (gsm: gram per square-metre) กระดาษชนิดเดียวกัน 120 แกรมจึงหนากว่ากระดาษ 80 แกรม
ควรเลือกใช้กระดาษกี่แกรมจึงเหมาะสม

           การเลือกความหนาของกระดาษต้องพิจารณาตามงานที่เอาไปใช้ เช่นถ้าใช้ทำปกก็ต้องใช้กระดาษหนา แต่ถ้าเป็นใบเสร็จมีหลายชั้นเมื่อเขียนแล้วต้องการให้ทะลุถึงชั้นล่าง อย่างนี้กระดาษก็ต้องบาง ตัวอย่างที่นิยมใช้ ได้แก่

ใบเสร็จ และสิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนา
นิยมใช้กระดาษประมาณ 40-50 แกรม
กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด
นิยม ใช้กระดาษประมาณ 70-80 แกรม
โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์
นิยมใช้กระดาษประมาณ 120 – 160 แกรม
ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า
นิยมใช้กระดาษประมาณ 300 แกรมขึ้นไป
3. ขนาดของกระดาษ
การออกแบบงานโดยไม่ทราบขนาด กระดาษนั้น ทำให้ต้นทุนในการพิมพ์งานนั้นสูงขึ้น เพราะว่ากระดาษจะไม่สามารถตัดให้ลงตัวได้ และจะเป็นเศษทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ขนาดของกระดาษในที่นี้หมายถึง กระดาษแผ่นใหญ่ ที่ตัดมาจากม้วนแล้วซึ่งมีขนาดต่างๆ ดังนี้
- กระดาษปอนด์, อาร์ตมัน, อาร์ตด้าน, ปรู๊ฟ โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ขนาดคือ
24 นิ้ว x 35 นิ้ว
25 นิ้ว x 36 นิ้ว
31 นิ้ว x 43 นิ้ว
- กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า, อาร์ตการ์ด 1 หน้า โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาดคือ
25 นิ้ว x 36 นิ้ว
31 นิ้ว x 43 นิ้ว
- กระดาษกล่องแป้ง (หลังขาว, หลังเทา) โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาดคือ
31 นิ้ว x 43 นิ้ว
35 นิ้ว x 43 นิ้ว
- กระดาษเคมี (ก็อปปี้ในตัว) ที่นิยมมีอยู่ 1 ขนาดคือ
24 X 36 นิ้ว
- กระดาษแบงค์สี โดยทั่วไปมีอยู่ขนาดเดียวคือ
31 นิ้ว x 43 นิ้ว
 กว่าจะเป็นหนังสือ 1 เล่ม
           ป๊อบ ในฐานะที่คลุกคลีกับวงการนี้มาหลายปีก็มีประสบการณ์พอจะเล่าได้ไม่น้อย แต่สิ่งที่ป๊อบจะเล่าต่อไปนี้อยากให้ทุกคนรู้ว่ามันคือ “ภาพรวม” นะครับ ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นสำนักพิมพ์ไหน เพราะป๊อบก็ไม่ได้อยู่แค่สยามอินเตอร์ฯ แต่ป๊อบตระเวนไปหลายที่หลายแห่ง รวมทั้งยังทำหนังสือเล่มล่าสุดเองด้วย ( เอ่อ ไม่มีสำนักพิมพ์เองนะครับผม หลายคนเข้าใจผิด ป๊อบแค่ทำงานทุกอย่างและมีทีมงานเองแต่จ้างโรงพิมพ์ต่างหากนะครับ ) ดังนั้นป๊อบจะนำประสบการณ์จากที่ต่างๆมาสรุปให้ฟังกัน ทุกสิ่งเริ่มขึ้นจาก…
1. ต้นฉบับ
           ต้นฉบับก็คือ “ผลงาน” ของ “นักเขียน” และสำหรับบางคน คำสั้นๆนี้อาจเป็นโครงการณ์ข้ามชาติที่ไม่รู้ว่าจะเสร็จทันวันโลกาวินาศหรือ ไม่ ? ระยะเวลาของต้นฉบับ เป็นอะไรที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับฟิลลิ่ง ความสุนทรีย์ ความอิสระ ความมุมานะของตัวนักเขียน ซึ่งสิ่งต่างๆที่เน้นตัวหนานั้นจะมีมากถึงจุดสุดยอดในช่วง 2 เดือนก่อนกำหนดส่งต้นฉบับ หรือหลังจากที่เหล่านักเขียนได้รับการสารกระตุ้นพิเศษอันมีชื่อว่า “สายตรงจากบอกอ” นั่นแล พวกเราจะเริ่มตะบี้ตะบันแหกขี้ตาเขียนกัน
            ดังนั้นสิ่งแรกที่ป๊อบจะพูดในหัวข้อนี้ก็คือทริคเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับต้นฉบับ ครับผม
(อันนี้อ้างอิงจากประสบการณ์ตรงนะครับ)
1.1 ) โครงเรื่อง
           เป็นหัวใจหลัก หรือ Core Concept ของงานทุกชนิด – สำหรับป๊อบโครงเรื่องคือการวาดแผนที่จินตนาการ เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมาย เราต้องรู้ว่าเรื่องของเราจะเริ่มยังไง ? จบยังไง ? คิดไว้ก่อนคร่าวๆ ตรงนี้จะเป็นจุดที่ง่ายมาก เพราะนักเขียนส่วนใหญ่จะมีเนื้อเรื่องอยู่ในหัวหมดแล้ว วิธีการก็คือเขียนออกมา ไม่ต้องมีระเบียบก็ได้ครับ เขียนออกมาเลย มั่วๆนั่นแหละ เอาให้รู้ว่า 1 ถึง 10 เป็นยังไงแค่นั้นพอ
แล้วจากนั้นค่อยมาใส่ความตื่นเต้น
          
การขับรถบนทางด่วนย่อมไม่ตื่นเต้นเท่าการขับรถในป่าแสนวิบาก งานเขียนก็เช่นกัน หลังจากที่เรารู้ทุกอย่าง 1-10 เราก็ควรใส่รายละเอียดเพิ่ม 1.1, 1.2, 2.5,8.3 อะไรก็ว่าไป เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องอันหมายถึง ความซับซ้อน ความพลิกผัน จุดหักมุม ปริศนา ความเร้าใจ ความลุ้นระทึก ต่างๆนานาลงไป เพื่อไม่ให้เราหลงทางระหว่างการเขียน ซึ่งตรงจุดนี้ นักเขียนต้องอาศัยประสบการณ์เองล่ะครับ สอนกันไม่ได้จริงๆ เพราะที่ป๊อบเป็นอยู่ก็ทำได้แค่ในมาตรฐานของตัวป๊อบ ถามว่าสู้นักเขียนรุ่นพี่ในยุทธจักรได้ไหม ตอบได้เลยครับว่า “ไม่” เด็ดขาด
           ในส่วนของโครงเรื่อง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ “การดำเนินเรื่อง” – “ตัวละคร” – “ฉาก” , มันจะเป็นจุดที่นักเขียนคิดสร้างตัวละครต่างๆขึ้นมา ยกตัวอย่างไวท์โรดของป๊อบ ซึ่งมีตัวละครเยอะมาก ดังนั้นป๊อบต้องเขียนชื่อตัวละครทั้งหมด รายละเอียดของเขา ภูมิหลัง ปริศนา การแสดงออก Character รวมถึงการปรากฏตัวของเขาในลักษณะค่อนข้างละเอียด เพื่อให้เราจำเขาได้ ใช้เขาได้ถูกสถานการณ์ สำหรับรูปแบบของตัวละครป๊อบคิดว่าแต่ละคนคงมีแนวคิดต่างออกไป เงียบขรึม สนุกสนาน อะไรก็ตาม ป๊อบไม่ขอเข้าไปยุ่งตรงนั้นเพราะบางทีทำได้ดีกวาป๊อบด้วยซ้ำ เพียงแต่ข้อสำคัญก็คือ “คุณต้องไม่ลืมตัวละคร” เท่านั้นเอง ส่วนเรื่อง “ฉาก” หลายคนติดปัญหากับจุดนี้ เพราะนึกออก แต่บรรยายไม่ถูก
ทำไมไม่วาดล่ะครับ ?
วาดสวยไม่สวย ไม่เป็นไร แค่เราอ่านแล้วรู้ก็พอ เมื่อเราวาดภาพ เราจะแต่งเติมไปเรื่อย แล้วคราวนี้เราจะสามารถบรรยายมันได้งายขึ้นเยอะ เชื่อเถอะครับผม ป๊อบลองมาแล้ว
หลังจากเราได้โครงเรื่องมั่ว + การใส่จุดเพิ่มเติม + รายละเอียด + ตัวละคร + ฉาก + การดำเนินเรื่อง ก็มาถึงจุด “การสรุปโครงเรื่อง” นั่นก็คือการจัดระบบและระเบียบแบบแผนให้โครงเรื่องของเราอย่างมีรูปแบบ ทำมันให้สวยงาม อ่านเข้าใจง่าย และมีที่ว่างสำหรับการเพิ่มเติมเยอะ
           เพราะถึงวันนี้คุณจะได้โครงเรื่องที่เพอร์เฟค แต่พรุ่งนี้ใครจะรู้คุณอาจจะมีอะไรที่ดีกว่าก็ได้ เพราะฉะนั้นเว้นเผื่อความคิดใหม่ๆด้วยนะครับ อ้อ แนะนำให้นักเขียนทุกคนมีสมุดพกติดตัวคนละเล่มครับ ป๊อบพกตลอด เผื่องอะไรดีๆก็จดเลย หรือจะเป็นการอัดเสียงก็ได้ครับ ป๊อบทำบ่อยเหมือนกัน ความคิดเราจะได้ไม่ตกหล่นระหว่างทางนะครับ
ซึ่งหลังจากที่เรามีโครงเรื่องแสนสมบูรณ์แล้วเราก็จะมาเขียนกัน
1.2 ) การเขียนเนื้อเรื่อง
           ก็คือการเอาโครงเรื่องที่มีอยู่มาเพิ่มเติมเรียงร้อยให้กลายเป็น นิยายนั่น เอง ตรงจุดนี้ป๊อบจะไม่ขอแนะนำมาก เพราะทุกคนมีสไตล์ภาษา การคิดเป็นของตัวเอง แต่ที่ป๊อบจะแนะนำก็คือสิ่งที่ถูกถามมาทางเมลล์
“แรงบันดาลใจ”
แรงบันดาลใจในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งแม้เราจะมีโครงเรื่องหรูเลิศแล้ว แต่ก็เขียนไม่ได้ซักที พยายามนั่งหน้าคอมหลายต่อหลายครั้งมันก็เล็ดรอดออกมา สำหรับคนที่เขียนไม่ออก หรือที่เขาเรียกว่า “ตัน” ป๊อบมีวิธีแก้ไขครับ
โดย ขั้นแรกที่เราต้องทำก็คือ
           - เลิกเขียน ใช่ เลิกเขียนไปก่อน ปิดคอม หยุดไปเลย เงียบไปเลย ไม่ต้องยุ่งกับมัน มันไม่ได้ก็คือไม่ได้ครับ จะไปดันทุรังทุกรังทำไม
จากนั้น
           - ไปเที่ยว ดูผู้คน ศึกษาสังคม ตากแอร์เย็นฉ่ำ ช๊อปปิ้งให้สนุก เข้าป่า กางเต็นท์ มันจะมีเรื่องให้เขียนเองแหละครับ
           - อ่านหนังสือ เพื่อหาแนวทาง บางเล่ม อาจจะทำให้เรางอะไรเด็ดๆ บางเล่มอาจทำให้เราอยากเปลี่ยนแนวก็ได้ครับ
           - ดูหนัง เวลาป๊อบจะเขียนหนังสือป๊อบจะซื้อหนังเป็นสิบๆแผ่นแล้วดูตั้งแต่ตื่นจนนอน รวมทั้งจะออกไปโรงหนังตั้งแต่ 11 โมงเช้า เพื่อดูหนังประมาณ 3 -4 เรื่อง และเสร็จเที่ยงคืน (บางครั้งตี 1 ) เพื่อให้เรามีแรงหึกเหิม มีความอยากจะสร้างโลกของเราครับ
           - เล่นเกมส์ เป็นหนทางที่น่าสนใจครับ เพราะเกมส์คือ “นิยายที่ถูกถ่ายทอดเป็นภาพ” อยู่แล้ว ได้เล่น ได้คิดด้วย เจ๋งครับ
           - เมาธ์แตก เชื่อเถอะครับ งานเขียนส่วนหนึ่งมาจากการนินทาทั้งนั้น ไม่งั้นพวกหนังสือเมาธ์ดาราจะเต็มแผงรึ ?
           - พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับนักเขียน จะทำให้เราได้เห็นความแตกต่างมากขึ้น เผลอๆเขาจะเป็นแรงหนุนให้เราอยากมีต้นฉบับเป็นของตัวเองเร็วๆด้วยครับ
           - ฟังเพลง สำหรับบางคนการฟังเพลงก็เป็นปลุกใจอย่างหนึ่งเหมือนกันนะ
นี่ แค่คร่าวๆนะครับ บางคนอาจจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ก็แล้วแต่ครับผม แต่นี่วิธีของป๊อบอ่ะนะครับ ซึ่งหลังจากที่เราตะบี้ตะบันจนต้นฉบับเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ
2. ) Re Write (โดยนักเขียน)
           หลังจากพิมพ์ทุกอย่างเสร็จ ให้พักซัก 2 วันครับ เพื่อ “เคลียร์ความคิด” ลบความคิดแง่บวกเกี่ยวกับนิยายของเราไปให้หมด ไปทำกิจกรรมอะไรต่างๆก็ได้ให้ลืมมันซะ จากนั้นค่อยกลับไปอ่าน เราจะพบว่ามี “ข้อผิดพลาด” ตูมเลยครับผม ทั้งสำนวน การสะกด วรรคตอน ย่อหน้า โอ้ว สารพัดสารเพ ให้ค่อยๆแก้ไปครับ แก้ตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้าย จนหมด แล้วก็แก้อีกรอบ เพราะนิยายหนึ่งเล่มไม่ได้มีแค่ 5 หน้านะคับ ดูรอบเดียวไม่ถ้วนหรอกครับ ต้องสองรอบขึ้นไป ถ้ามากกว่านั้นก็ดีครับแล้วแต่ความอึดของนักเขียน ( ไม่ได้โม้นะ ไวท์โรดภาค 3 แปดร้อยหน้า ป๊อบแก้เอง 6 รอบเลยนะครับ แต่คำผิดก็ตูมอยู่ดี)
หลังจากแก้จนอิ่มหนำสำราญแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ
3.) ส่งงาน Editor
           Editor หรือ “บรรณาธิการ” ก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจตรา “ต้นฉบับ” ของนักเขียนครับ อาชีพนี้จะมีหูตาที่ละเอียดถี่ถ้วนมากครับผม อย่างพี่นีแห่งนานมีบุ๊คที่เป็นบรรณธิการให้ girl and a doll ที่ป๊อบลงในเล่มโปรด จัดว่าเป็นบรรณาธิการที่เยี่ยมากครับ คำโน่นคำไหนไม่เหมาะจะแนะนำหมด คำไหนควรใช้ ไม่ควรใช้ พี่เขาจะละเอียดจริงๆ อย่าคิดว่าการที่เราตรวจหลายๆรอบจะเพอร์เฟคนะครับ ไม่เลยครับ มันอาจจะเหลือคำผิดเป็นร้อยเป็นพันก็ได้ บรรณาธิการจะทำหน้าที่แก้ไข แนะนำ อะไรที่สมควรต่างๆ แล้วจากนั้น “ต้นฉบับ” ที่ถูกแก้ไขแล้วของเราจะถูกปริ๊นท์ใส่กระดาษ A4 เพื่อส่งกลับมาที่นักเขียนอีกทีครับ – ระยะเวลาตรงนี้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ครับ
           สำหรับนักเขียนที่ส่งงานครั้งแรก (คือไม่ได้เป็นนักเขียนในสังกัด) การพิจารณาต้นฉบับจะกินเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ – 6 เดือนขึ้นไปครับ แล้วแต่ดวงแล้วแต่โอกาสจริงๆครับผม และถ้าเขาไม่ติดต่อมาใน 6 เดือน ก็ควรทำใจครับ แต่ก็ไม่แน่นะอาจจะมีปาฏิหาริย์ อิอิ สามารถเลือกได้ว่าจะ “ลุ้นต่อ” หรือ “ส่งที่ใหม่” แล้วแต่ครับผม
5. ) ส่งกลับไปบรรณาธิการ เพื่อตรวจดูสิ่งที่เราแก้ไขอีกครั้ง
6. ) ส่งกลับนักเขียนเพื่อตรวจตราครั้งสุดท้าย
           ตรงนี้การแก้ไขจะไม่ค่อยเกิดขึ้นแล้วนะครับ ผลงานจะสมบูรณ์ 95% แล้ว ดังนั้นหน้าที่มีแค่ตรวจดูความละเอียดของเนื้อเรื่องเท่านั้นครับ (ยกเว้นกรณีปีอบหน่อยแล้วกันครับ ป๊อบแก้ 5-6 ครั้งเลยแหละ) ซึ่งเมื่อเราส่ง “ต้นฉบับ” กลับไปที่บรรณาธิการ มันก็จะกลายเป็น “ต้นฉบับ 100%” ครับ
7.) การจัดหน้ากระดาษ
           หลังจากที่”ต้นฉบับ” A4 ถูกตรวจตราครบถ้วนแล้ว จะมีทีมงานฝ่ายบรรณาธิการที่ต้องทำหน้าที่จัดการกับหน้ากระดาษให้ออกมาเป็น แอบ A5 ซึ่งก็คือขนาดมาตรฐานของพ๊อกเก็ตบุ๊คทั่วไป ตรงนี้จะมีการกำหนดรูปแบบของหนังสือด้วยนะครับว่า
           - ขอบบน ขอบล่าง ด้านข้างทั้งสอง เว้นเท่าไหร่ ?
           - ตัวหนังสือแบบไหน ? ไซส์อะไร ?
           - ขนาดช่องไฟ ช่องว่างการเว้นบรรทัดเท่าไหร่ ?
           - การย่อหน้าเท่าไหร่ ?
           ส่วนใหญ่กระบวนการนี้จะอิงตามมาตรฐานของสำนักพิมพ์แต่ละที่ครับ เพราะทุกที่มีรูปแบบการพิมพ์หนังสือต่างกันอยู่แล้วครับผม
แต่ป๊อบอยากจะแนะนำอะไรบางอย่าง ?
สำหรับคนที่คิดจะพิมพ์เอง เราอาจจะเจอปัญหาการจัดรูปแบบด้วยนะครับ เพราะว่าคอมส่วนใหญ่ที่เราใช้เป็นวินโดวส์ แต่บางโรงพิมพ์เขาใช้ MAC ในการจัด เพราะฉะนั้นถ้าไม่จัดการดีๆ ขยะจากวินโดว์จะไปโชว์เพียบเลยนะครับ นี่คือความผิดพลาดโดยตรงที่ป๊อบเจอ ป๊อบส่งไฟล์ไปปรากฏว่าเว้นวรรค ย่อหน้าอะไรหายหมดเลยครับ ทุกสิ่งทุกอย่างติดกันเป็นพรืด มีสระ ขยะ บ้าบอเป็นพันเป็นหมื่นตัวเลยครับ ซึ่งถ้าทีมงานไม่ชำนาญจะเสียเวลาตรงนี้มากครับ อยากให้ศึกษาดีๆด้วย แต่ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ทั่วไป เขาจะมีโปรแกรมแปลง อะไรของเขาอยู่แล้วอ่ะครับ ไม่ต้องห่วง
หลังจากจัดหน้ากระดาษแล้ว ส่วนมากเราจะได้ดูอีกรอบครับ เพื่อตรวจว่าเขาจัดการถูกต้องไหม ? แล้วแก้ไขส่งกลับไป
8. ) การยิงแผ่นเพลท
           เพลทจะมีลักษณะเหมือนแผ่นใสครับแต่หนากว่า หลังจากที่จัดหน้ากระดาษเสร็จสิ้นสมบูรณ์เขาจะยิงทุกสิ่งทุกอย่างที่จัดไว้ ลงในแผ่นเพรท ซึ่งแผ่นเพรทตัวนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้แล้วนะครับผม เขาจะเอามันไปใช้เพื่อการพิมพ์รูปเล่มครับ เพราะฉะนั้นใครที่เข้าใจว่าเขาเอาต้นฉบับไปปริ๊นท์เป็นพันๆแผ่น ผิดนะครับเขาผม อิอิ
9.) การเข้ารูปเล่ม
           หลังจากที่ต้นฉบับถูกพิมพ์เพรทออกมาเรียบร้อย เขาก็เอาต้นฉบับพวกนี้ไปเข้ารูปเล่ม แบบที่เราเห็นตรงสันจะมีการใส่กาวด้วยอะไรประมาณนั้น ซึ่งตรงนี้นี่ต้องมีความวชาญอย่างสูงครับ เนื่องจากผิดนิดเดียว อาจเกิดกรณีหน้าสลับ หน้าหาย หน้าขาว (ขาวจริงๆ โอเลย์ตายไปเลย แบบว่าหน้าเปล่า) หน้ายับ ทำนองนั้น ซึ่งไวท์โรดเล่มล่าสุดของป๊อบก็โดนมาทุกรูปแบบเรียบร้อยครับ อิอิ ในขั้นตอนนี้เขาจะเอาปกเข้ามาเย็บด้วยนะครับผม จะมีการเย็บอีกประเภทที่เรียกว่า “เย็บกี่” ซึ่งเป็นการเย็บที่ทนทานมาก จะเห็นเวลาเราเปิดแล้วถึงสันอ่ะครับ มันการเย็บกี่ ซึ่งจะคงสภาพหนังสือไว้ค่อนข้างนานเลยครับ แต่เสียค่าใช้จ่ายเยอะพอสมควร ใช้กับพวกอย่างหนาทั้งหลายครับ
เมื่อเสร็จการเข้ารูปเล่ม – “ต้นฉบับ” ของคุณ ก็จะกลายเป็น “ผลงาน” ครับ

           แต่ยังไม่จบ เพราะป๊อบยังไม่ได้เจาะลึกบางสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการทำหนังสือนะ ครับ
โอเค คุณทราบหมดแล้วว่าหนังสือ 1 เล่ม กว่าจะได้มามันลำบากแค่ไหน แต่ไม่ใช่แค่คุณ หรือ บรรณาธิการ หรือ โรงพิมพ์นะครับ ที่ลำบาก มีอีกหลายคนเลยที่จะมาร่วมชะตากรรมกับคุณ 1. ) ประชุมสโคป project
           ส่วนมากขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ต้นฉบับเสร็จและได้รับการ ยืนยันว่าจะ ตีพิมพ์ชัวร์ ทีมงานอันประกอบด้วย ประชาสัมพันธ์ ผู้จัดการ บรรณาธิการ กราฟฟิค การตลาด และอีกมามาย รวมทั้งตัวนักเขียนจะมารวมกันอยู่ในห้องเดียวเพื่อกำหนดทิศทางของหนังสือ จะมีการวางแผนว่า
           - เราจะออกหนังสือเมื่อไหร่ ?
อาจจะในงานสัปดาห์หนังสือ หรือ มหกรรมหนังสือ เพราะเป็นช่วงที่สำนักพิมพ์จะได้รายได้เต็มๆโดยไม่ต้องผ่านตัวแทนจำหน่าย (ซีเอ็ด บีทูเอส ดอกหญ้า ดวงกมล และอื่นๆ) นักเขียนกับผู้อ่านมีโอกาสได้พบปะกัน แลกเปลี่ยนความเห็น ได้แจกลายเซ็น เช็คเรตติ้ง สนุกสนานเฮฮารื่นเรงยิ่งนัก ซึ่งหนังสือที่อ่านช่วงนี้จะขายได้เยอะนะครับ บางทีเป็นพัน บางทีเป็นหมื่นก็มี แต่ข้อก็อาจจะเป็นที่โอกาสติด “ชาร์ตหนังสือ” ตามร้านหนังสือก็ลดลง เพราะคนหันไปซื้อในงานหมด เนื่องจากถูกกว่าครับ ซึ่งบางทีกำหนดการออกหนังสือก็อาจจะเป็นเดือนที่ใกล้ๆกับงาน เพื่อสร้าง Awareness หรือ ให้ผู้อ่านได้เห็นก่อน มันจะได้เป็นการกระตุ้น ให้เขาไปหาข้อมูล เพื่อนำไปสู่ Purchase Intention การตัดสินใจซื้อในที่สุดครับผม
           - ปกเป็นยังไง ?
ปกเป็นสิ่งที่สำคัญสุดๆๆๆๆๆๆของหนังสือ เพราะมันคือ “หนังหน้า” เป็นอะไรที่คนจะเห็นอย่างรแก ถ้าปกห่วยมากกกก ต่อให้เนื้อเรื่องดีถึงขึ้นเทพบนโอลิมปัสคีรีอ่าน ก็ไม่ถูกหยิบหรอกครับ ฉะนั้นเราต้องคุยเรื่องปก, ตามประสบการณ์, ป๊อบจะวาดปกคร่าวๆให้ฝ่ายกราฟิค (คร่าวจริงๆ เส้นๆเลยอ่ะ) แล้วเล่าว่า ทำไมถึงเลือกฉากนี้ ทำไมต้องเป็นเหตุการณ์นี้ มันสำคัญยังไง ฝ่ายกราฟิคเขาจะถามเราตตลอดว่า สีตรงนี้อะไรครับ ? หน้าตาตัวนี้ยังไง ? เป็นการคุยที่สนุกและละเอียดมาก ซึ่งส่วนใหญ่ปกจะไม่ได้ถูกวางไว้แบบเดียว จะมีหลายตัวเลือกสำหรับสำรองด้วย ดังนั้นทางที่ดีนักเขียนควรจะทำการบ้านให้หนักเรื่องปกครับ เพราะมันจะเป็นตัวสื่อความคิดของนักเขียนให้คนอ่านรับรู้เป็นอย่างแรก ป๊อบเห็นนักเขียนหลายคนที่ให้เขาวาด โดยไม่ได้ปรึกษากัน ผลก็คือ ผิดคอนเซปต์ ไม่โดนใจนักเขียน แล้วใครผิดอ่ะครับ คุณไม่พูดเองนิ อิอิ เพราะฉะนั้น เราต้องขอมีส่วนร่วมกับปกให้มากที่สุดครับ อ้อ รวมถึงรูปประกอบด้วยนะครับ อย่าคิดว่าให้เขาไปคิดเอง อ่านเอง เขาไม่มีเวลาขนาดนั้นหรอกครับ เขาไม่ได้ทำงานให้เราคนเดียว ดังนั้นถ้าเป็นตัวละคร ต้องบอกสีผม สีตา ความสูง สีผิว เอาเป็น Reference ก็ได้ครับ เช่น
           ”อยากได้หุ่นแบบโดราเอม่อนอ่ะครับ ขอต่างๆแบบเซลเลอร์มูน เอาผ้าคลุมแบบแบทแมน กางเกงแบบฮัลก์ แอ๊บแบ๊วประมาณโฟร์มด ล่ำประมาณสไปเดอร์แมนก็พอพี่ อ้อๆ ทรงผมโงกุนนะครับ มีรอยยิ้มแบบลูฟี่ เปลือยอกแบบสังทอง ผิวแทนแบบข้าวนอกนา แล้วอย่าลืม อันนี้สำคัญขอสะดือจุ่นแบบเทเลทับบี้อ่ะครับ”
           เพียงเท่านั้น ฝ่ายกราฟฟิคก็จะเนรมิตตัวละครของคุณได้ตามที่คุณหวังครับผม บนตัวปกนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า “บาร์โค๊ด” ด้วยนะครับ ซึ่งบาร์โค๊ะจะต้องขึ้นทะเบียน ISBN เพื่อจดหมายเลขหนังสือของคุณด้วย เวลายิงที่เครื่องตามร้าน มันก็จะขึ้นรายละเอียดมาครับ ว่า หนังสือชื่ออะไร – ใครแต่ง – แนวอะไร – กี่หน้า ซึ่งป๊อบก็ได้หาข้อมูลจาก http://www.nlt.go.th/th_isbn.htm มาให้สำหรับคนที่สนใจครับ ลองอ่านเป็นเกล็ดความรู้ก็ได้ครับผม
           - การตลาด + ประชาสัมพันธ์
ใช่ว่าหนังสือ 1 เล่มจะวางขายในตลาดนัดซะเมื่อไหร่ หนังสือก็เหมือน product ทั่วไปที่ต้องการ Marketing มาหนุนครับ นักเขียนที่ดีจะต้องเก่งการตลาด จำป๊อบเอาไว้นะ นักเขียนที่ดีต้องรู้เรื่องนี้ด้วยทุกคนครับ ทีมงานจะวางแผนให้เราว่า จะมีการสัมภาษณ์เมื่อไหร่ ? – ออกสื่อไหนบ้าง ? – เว้นระยะเวลาห่างเท่าไหร่ ? – นักเขียนต้องออกไปแจกลายเซ็นต์เมื่อไหร่ ? – ต้องพบปะแฟนเมื่อไหร่ ? – ถ้านักเขียนไม่เป็นการตลาด ไม่รู้จักจุดยืนของตัวเอง แย่เลยนะครับ เราต้องรู้จัก Target หรือ กลุ่มเป้าหมายของเรา อย่างป๊อบ ป๊อบเสนอเลยว่า “พี่ป๊อบจะไปทัวร์ที่นี่ๆ โรงเรียนนั่นนี่นะ” เพื่อเราจะได้พบกับกลุ่มคนอ่านจริงๆ ไม่ใช่ว่าไวท์โรดไปโปรโมตใน “สถานบำเพ็ญธรรม” จะมีคนฟังไหมอ่ะครับ ? เราต้องรู้เวลา สถานที่ เสนอเขาได้ครับผม เขาไม่ตบนะ ป๊อบลองแล้ว จากนั้นเขาจะสรุปแผนให้เรา มีตารางกิจกรรมน่ารักๆให้เรา – ประชาสัมพันธ์จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลหนังสือเราไปให้นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ ต่างๆเพื่อลงข้อควมโปรโมตให้ครับ อันนี้เขาทำให้เอง เราไม่เสียค่าใช้จ่ายนะครับผม บางคนอาจมีออกทีวี ออกวิทยุ อะไรก็ตามแต่นโยบายของแต่ละที่ไปครับ
           นั่นก็คือเรื่องราวคร่าวๆที่ เกิดในห้องประชุมนะครับผม คงจะเห็นแล้วว่าการเป็นนักเขียนนั้นต้องเจออะไรมากมายก่ายกองเลยครับ เพราะฉะนั้นป๊อบอยากให้ทุกคนเตรียมตัว ศึกษาอะไรต่างๆดี โดยเฉพาะผลงานของตัวเอง ต้องตีให้แตกครับ เราจะได้พูดคุยกับทีมงานได้ถูกต้องครับผม อ้อ แล้วอย่าลืมที่ป๊อบบอก หมั่นศึกษาเรื่อง “การตลาด” ของตัวเองด้วย มันจะเป็นแนวทางที่ทำให้หนังสือประสบความสำเร็จได้ไม่ยากครับ