ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์
เริ่มแรกในระบบการพิมพ์จะใช้ช่างศิลป์ ช่างทำแม่พิมพ์ที่มีทักษะและความชำนาญในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งพิมพ์เริ่มแรกนั้นเป็นการแกะสลักตัวอักษรลงหิน จากนั้นก็เขียนบนผ้าไหม หนังสัตว์ จากนั้นพัฒนาการมาเป็นการเขียนบนกระดาษโดยในปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้การสร้างงานสิ่งพิมพ์ง่ายขึ้นก่อนที่จะเรียนรู้ถึงกระบวนการทำจะขอกล่าวถึงความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทของโประแกรมที่ใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ การเตรียมงานพิมพ์ก่อนส่งโรงพิมพ์ บทบาทของสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน
1.1 ความสำคัญและประวัตของสื่อสิ่งพิมพ์
1.1.1 ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับ “สื่อสิ่งพิมพ์” ไว้ดังนี้ คำว่า “สิ่งพิมพ์” หมายถึงสมุด แผนกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผังภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
“สิ่งพิมพ์” หมายถึง ข้อความ ข้อเขียน หรือภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด ข้อมูล สารคดีบันเทิง ซึ่งถ่ายทอดด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ ฟิล์ม หรือวัสดุพื้นเรียบ
“สื่อ” หมายถึง การติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน หรือตัวกลางที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน
“พิมพ์” หมายถึง ถ่ายแบบ ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ ให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือ หรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์ หินเครื่องกลวิธีเคมีหรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา รูปร่าง ร่างกาย แบบ
ดังนั้น “ สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือนต้นฉบับขึ้นหลายสำเนา ในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อหรือชักนำให้บุคคลอื่นให้เห็นหรือทราบข้อมูลต่าง ๆ” สิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสารหนังสื่อเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
1.1.2 ประวัติสื่อสิ่งพิมพ์
ประวัติสื่อสิ่งพิมพ์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะได้ปรากฏบนผนังถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปนและถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส มีผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนัง ถ้าเป็นรูปสัตว์ลายเส้นจึงเป็นหลักฐานในการแกะพิมพ์ เป็นครั้งแรกของมนุษย์หลังจากนั้นได้มีบุคคลคิดวิธีการทำกระดาษขึ้นมาจนมาเป็นการพิมพ์ในปัจจุบันนั่นคือไชลั่น ซึ่งมีเชื้อสายจีน ชาวจีนได้ผลิตทำหมึกแท่งซึ่งเรียกว่า “บั๊ก”
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
ในสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่ง และพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ ในเมืองไทย พ.ศ. 2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรกคือหมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2387 ได้ออกหนังสื่อฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับและใน 15 มิ.ย. พ.ศ. 2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย และได้เริ่มต้นการซื้อขายลิขสิทธิ์จำหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก้กรรมในเมืองไทย กิจการการพิมพ์ของไทยจึงได้เริ่งเป็นต้นของไทย หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2500 ประเทศไทยจึงนำเครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซต (Rotary off set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ (Monotype) มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทยธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทขึ้นใช้เอง
1.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์และบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
1.2.1 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
ในปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ได้มามายหลายประเภท โดยทั้งสิ่งพิมพ์ 2 มิติ และสิ่งพิมพ์ 3 มิติ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ ใช้วัสดุจำพวกกระดาษและมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอเนื้อหาข่าวสารต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ โบชัวร์ ใบปลิว นามบัตร แมกกาซีน พ็อกเก็ตบุ๊ค เป็นต้น ส่วนสิ่งพิมพ์ 3 มิติ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษที่ต้องอาศัยระบบการพิมพ์แบบพิเศษ และส่วนใหญ่จะเป็นการพิมพ์โดยตรงลงบนผลิตภัณฑ์ที่สร้างรูปทรงมาแล้ว สำหรับตัวอย่างการพิมพ์แบบ 3 มิติได้แก่ การพิมพ์สกีนบนภาชนะต่าง ๆ เช่น แก้ว กระป๋อง พลาสติก การพิมพ์ระบบแพดบนภาชนะที่มีผิวต่างระดับ เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ไฟฟ้า การพิมพ์ระบบพ่นหมึก เช่น การพิมพ์วันหมดอายุของอาหารกระป๋องต่าง ๆ โดยสามารถจำแนกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ได้ ดังนี้
สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
หนังสือสารคดีตำราแบบเรียน
เป็นหนังสือสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายด้านความรู้ที่เป็นจริงจึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
หนังสือบัยนเทิงคดี เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ PocketBook ได้
สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราวข่าวสารภาพ และความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกับ ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน
วารสาร นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการกำหนดระยะเวลาการออกแบบเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และรายเดือน
จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านศึกษาหาความรู้ ที่กำหนดออกแบบเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
สิ่งพิมพ์โฆษณา
โบชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่มจำนวน 8 หน้า เป็นอย่างน้อยมีปกหน้า และปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศ มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่านแล้วเข้าใจง่าย
แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการผลิตโดยเน้นการเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้นเป็นเนื้อหาที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะเป็นการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดเด่นดึงดูดความสนใจ
สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือกระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุหรือลัง
สิ่งพิมพ์มีค่า
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ บัตรเครดิต เช็คธนาคาร ตั๋วแลกเงิน หนังสือเดินทาง โฉนด เป็นต้น
สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่นามบัตร บัตรอวยพร ปฏิทิน ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน สิ่งพิมพ์บนแก้ว สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น
สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเมื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น
1.1.2 บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น
บทบาทสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษา โดยทั่วไปซึ่งทำให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหักสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมาย ใบเสร็จรับเงิน /ใบส่งของ โฆษณาหน้าเดียว นามบัตร เป็นต้น
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน และงานที่เกี่ยวกับหลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่นใบนำฝาก ใบถอน ธนบัตร เช็คธนาคาร ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว แผ่นพับ จุลสาร
1.3 ประเภทของโปรแกรมที่ใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และการออกแบบจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมสำเร็จรูปที่นำมาใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มากมายที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการออกแบบหรือจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ ทำการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการผลิตสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยมีโปรแกรมต่าง ๆ ดังนี้
1.3.1 โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดเป็นโปรแกรมที่ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟต์โดยผลิตรุ่น 2.0 มาก่อน จากนั้นพัฒนาเป็นรุ่น 6.0 ซึ่งทำงานบนระบบวินโดวส์ 3.1 ต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ โดยมีการพัฒนาโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดให้รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้ Word 95, 97, 98, 2000, 2003, XP เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการสิ่งพิมพ์หน่วยงานต่าง ๆ มักจำใช้โปรแกรมนี้ไปใช้ในเอกสาร รายงานต่าง ๆ มากมาย
1.3.2 โปรแกรมโฟโต้ช้อพ (Adobe Photoshop)
เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการกับภาพ หรืองานกราฟิกที่ต้องการความละเอียดสูงและเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการแต่งภาพสามารถเปิดไฟล์รูปได้หลากหลาย เช่น JPEG, TIFF, DNG, Traga, BMP, PICT นอกจากนี้ยังสามารถตกแต่งสีให้กับรูปภาพที่คมชัดขึ้น
1.3.3 โปรแกรม Illustrator
เป็นโปแรกรมที่ช่วยในการสร้างภาพ กราฟิกแบบเวกเตอร์เพื่อใช้ในการประกอบข้อความที่ได้จากการพิมพ์โดยโปรแกรม Ms – word
1.3.4 โปรแกรม Page Maker
เป็นโปรแกรมแบบ Desktop Publishing เป็นการจัดและนำข้อมูลมาประกอบลงบนหน้าสิ่งพิมพ์
1.4 ประเภทของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
1.4.1 การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่งโดยทั่งไปจะต้องทำงานร่วมกับวิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิกรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรมได้แก่
- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์วิหาร ฯลฯ
- สถาปัตยกรรมโครงสร้างเป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
- สถาปัตยกรรมภายในเป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้างเป็นส่วนประกอบของอาคาร
- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่
ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อนซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
1.4.2 การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆ งานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของผลิตภัณฑ์งานออกแบบประเภทนี้ ได้แก่
- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- งานออกแบบครุภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่าง ๆ
- งานออกแบบเครื่องประดับอัญมณี
- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
- งานออกแบบภาชนะบรรจุภัณฑ์
- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ
1.4.3 การอกแบบวิศวกรรม (Engineering Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกรซึ่งจะรับผิดชอบในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัย และกรรมวิธีในการผลิตบางอย่างต้องทำงานร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วยงานออกแบบประเภทนี้ ได้แก่
- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
- งานออกแบบเครื่องยนต์
- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
- งานออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ฯลฯ
1.4.4 การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย มากขึ้น นักออกแบบเรียกว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ไก้แก่
- งานตกแต่งภายใน (InteriorDesign )
- งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design)
- งานจักสวยและบริเวณ (Landscape Design)
- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
- งานจักนิทรรศการ (Exhibition)
- งานจัดบอร์ด
- งานตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ
1.4.5 การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design)
เป็นการออกแบบเพื่อผลิตงานผลิตงานสิ่งพิมพ์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ
1.5 หลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ที่พบเห็นโดยทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ตัวอักษรหรือข้อความภาพประกอบเนื้อที่ว่าง และส่วนประกอบอื่น การออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ต้องคำนึงถึงการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันโดยใช้หลักการ ดังนี้
1.5.1 ทิศทางและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement)
เมื่อผู้รับสารมองดูสื่อสิ่งพิมพ์ การรับรู้เกิดขึ้นเป็นลำดับตามการมองเห็น กล่าวคือ เกิดตามการวาดสายตาจากองค์ประกอบหนึ่งไปยังอีกองค์ประกอบหนึ่ง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการดำเนินการวางแผน กำหนดและชักจูงสายตาผู้รับสารให้เคลื่อนไหวในทิศทางที่ถูกต้อง ตามลำดับขององค์ประกอบที่ต้องการให้รับรู้ก่อนหลัง โดยทั่วไปหากไม่มีการสร้างจุดเด่นขึ้นมา สายตาของผู้รับสารจะมองดูหน้ากระดาษที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ในทิศทางที่เป็นตัวอักษร (Z) ในภาษาอังกฤษ คือ จะเริ่มที่มุมบนด้านขวาตามลำดับการจัดองค์ประกอบที่สอดคล้องกับธรรมชาติการมองนี้ เป็นส่วนช่วยให้เกิดการรับรู้ตามลำดับที่ต้องการ
1.5.2 เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony)
เอกภาพคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งในการจัดทำเลย์เอาต์หมายถึงการเอาองค์ประกอบที่แตกต่างกันมาวางไว้ในพื้นที่หน้ากระดาษเดียวกันอย่างกลมกลืน ทำหน้าที่สอดคล้องและส่งเสริมกันและกันในการสื่อสารความคิดรวบยอด และบุคลิกภาพของสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ๆ การสร้างเอกภาพนี้สามารถทำได้หลายวิธีเช่น
- การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเลือกใช้แบบตัวอักษรเดียวกัน การเลือกใช้ภาพขาว ดำทั้งหมด เป็นต้น
- การสร้างความต่อเนื่องกันให้องค์ประกอบ เช่น การจัดให้พาดหัววางทับ ลงบนภาพการใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความ ล้อตามทรวดทรงของภาพ เป็นต้น
- การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด ซึ่งจำทำให้พื้นที่ว่างนั้นทำหน้าที่ เหมือนกรอบสีขาวล้อมรอบองค์ประกอบทั้งหมดไว้ภายใน ช่วยให้องค์ประกอบทั้งดูเหมือนว่าอยู่กันอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน
1.5.3 ความสมดุล (Balance)
หลักการเรื่องความสมดุลนี้เป็นการตอบสนองธรรมชาติของผู้รับสาร ในเรื่องของแรงโน้ม
ถ่วง โดยการจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษ จะต้องไม่ขัดกับความรู้สึกนี้ คือจะต้องไม่ดูเองเอียงหรือหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยไม่มีองค์ประกอบมาถ่วงในอีกด้าน การจัดองค์ประกอบให้เกิดความสมดุลแงได้เป็น 3 ลักษณะคือ
- สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) เป็นการจัดวางองค์โดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวาพื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองข้าง ซึ่งองค์ประกอบที่เหมือนกันในแต่ละด้านนี้จะถ่วงน้ำหนักกันและกันให้ความรู้สึกสมดุล
- สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance) เป็นการจักวางองค์ประกอบโดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวาพื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง แม้องค์ประกอบจะไม่เหมือนกันในแต่ละด้านแต่ก็จะถ่วงน้ำหนักกันและกันให้เกิดความสมดุล
- สมดุลแบบรัศมี (Radial Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบ โดยให้องค์ประกอบแผ่ไปทุกทิศทางจากจุดศูนย์กลาง
1.5.4 สัดส่วน (Proportion)
การกำหนดสัดส่วนนี้เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ในเรื่องของขนาดซึ่งมีความสัมพันธ์โดยเฉพาะในหน้ากระดาษของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการให้มีจุดเด่น เช่น หน้าปกหนังสือเป็นต้น เพราะองค์ประกอบที่มีสัดส่วนแตกต่างกันจะดึงดูดสายตาได้ดีกว่าการใช้องค์ประกอบทั้งหมดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในการกำหนดสัดส่วนจะต้องกำหนดองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษไปพร้อม ๆ กันว่าควรจะเพิ่มหรือลดองค์ประกอบใดไม่ใช่ค่อย ๆ ทำไปทีละองค์ประกอบ
1.5.5 ความแตกต่าง (Contrast)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่มขนาดใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกดูองค์ประกอบใหญ่ก่อน
- ความแตกต่างโดยขนาด เป็นวิธีการที่ง่ายที่สด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่มขึ้นมาด้วยการเพิ่มขนาดใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกดูองค์ประกอบใหญ่ก่อน
- ความแตกต่างโดยรูปร่าง เป็นวิธีที่เน้นองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้รูปร่างที่แตกต่างกันออกไปจากองค์ประกอบอื่นในหน้ากระดาษ เช่น การได้ตัดภาพคนตามรูปร่างของร่างกายแล้วนำไปวางที่หน้ากระดาษที่มีภาพแทรกเล็ก ๆ ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม เป็นต้น
- ความแตกต่างโดยความเข้ม เป็นวิธีการที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้เพิ่มหรือลดความเข้มหรือน้ำหนักขององค์ประกอบนั้นให้เข้มหรืออ่อนกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อยู่รวมกันในหน้ากระดาษ เช่น การใช้ตัวอักษรที่เป็นตัวหนาในย่อหน้าที่ต้องการเน้นเพียงย่อหน้าเดียวในหน้ากระดาษ เป็นต้น
1.5.5 จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition)
การจัดวางองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นโดยกำหนดตำแหน่งให้เกิดมีมีช่องว่าเป็นช่วง ๆ ตอน ๆ อย่างมีการวางแผนล่วงหน้า จะทำให้เกิดลีลาขึ้น และหากว่าองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นนั้นมีลักษณะซ้ำกันหรือใกล้เคียงกัน ก็จะยิ่งเป็นการเน้นให้เกิดจังหวะลีลา ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นลักษณ์ตรงข้ามกับแบบแรก จังหวะและลีลาลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึก ที่ตื่นเต้นดูเคลื่อนไหวและมีพลัง
1.6 หลักการใช้สีและแสง
สีมีความสำคัญอย่างมากต่องานกราฟิก สีทำให้ภาพหรือสิ่ง ๆ ต่าง ๆ มีความสดใส สวยงาม น่าสนใจ ในการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานกราฟิก ควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบกับงานกราฟิก ให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์
ระบบสีของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับการเสดงผลของแสงในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผลคือ ถ้าไม่มีการแสดงผลสีใด บนจอภาพและแสดงผลเป็น “สีดำ” หากสีทุกสีแสดงพร้อมกันจะเห็นสีบนจอภาพเป็น “สีขาว” ส่วนสีอื่น ๆ เกิดจากการแสดงสีหลาย ๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้เรียกว่า “การแสดงสีระบบ Additve”
1.6.1 การแสดงสีระบบ Additive
สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) เรียกรวมกันว่า RGB หรือเม่สี
1.6.2 ระบบสีกับงานสิ่งพิมพ์
ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) คือระบบ CMYK
1.6.3 สี (Color)
แสงสีขาวจากธรรมชาติหรือแสงจากดวงอาทิตย์เกิดจากการผสมแม่สีสามสี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งเหมือนกับสีปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ หากนำภาพดิจิตอลที่ทำจากคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ เช่น หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สีสันจะผิดเพี้ยนไป เพราะทางพิมพ์ใช้แม่สี ไวแอน มาเจนต้า และเหลือง (CMYK) ซึ่งผสมกันแล้วจะเป็นสีดำ นอกจากนี้ขอบเขตสีก็ปรากฏแตกต่างกันจอมินิเตอร์สามารถแสดงสีได้สูงสุด 16.7 ล้านสี น้อยกว่าที่ตาคนเราสามารถมาองเห็น เป็นการพิมพ์อยู่ในระดับหมื่นสีเท่านั้น
รูปที่ 1.1 การผสมสีทางการพิมพ์
1.7 การเตรียมงานก่อนส่งโรงพิมพ์และการจัดการภาพสำหรับงานพิมพ์
1.7.1 การเตรียมงานก่อนส่งโรงพิมพ์
ปัจจุบันระบบการพิมพ์มีความก้าวหน้าขึ้น โดยได้นำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดการกับงานพิมพ์มีความกว้าหน้าขึ้น ทำให้การสร้างสรรค์งานพิมพ์ง่ายขึ้น แต่ยังมีปัญหาที่ตามมาคือ ไฟล์ต้นฉบับสร้างขึ้นจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ส่งมาไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานของโรงพิมพ์
ดังนั้น ผู้ที่สร้างสรรค์งานพิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้วต้องการจัดพิมพ์ให้เป็นหนังสือ นิตยสารหรือสิ่งพิมพ์แบบอื่น ๆ นั้น สามารถทำได้ดังนี้
- จัดส่งไฟล์งานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูล ไฟล์ภาพ หรือฟอนต์ให้กับโรงพิมพ์
- พิจารณาถึงความละเอียดและฟอร์แมทของไฟล์ภาพที่ส่งไป
- เลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับการทำงาน เช่น พิมพ์ข้อความผ่านโปรแกรม Word สร้างภาพกราฟิกแบบโปรแกรม Illustrator ตกแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop จัดและวางข้อมูลประกอบบนหน้าสิ่งพิมพ์ด้วย Page Maker
1.7.2 การจัดการภาพสำหรับงานพิมพ์
การนำภาพมาประกอบลงบนสิ่งพิมพ์อาจนำมาได้หลายแหล่ง เช่น สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล แผ่ซีดี อินเทอร์เน็ต ใช้โปรแกรมจับภาพ หรือแม้แต่การสร้างภาพที่ต้องหารขึ้นมาเอง โดยการทำงานของภาพกับการสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์มีความสำคัญและข้อควรพิจารณามากมาย ดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความแตกต่างระหว่างภาพเวพเตอร์และบิตแม็พ
ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่องรูปภาพมาเรียนรู้ข้อแตกต่างของภาพเวกเตอร์และภาพบิตแม็พภาพทั้ง
2 ประเภทนี้มีข้อแตกต่าง ดังนี้
- ภาพเวกเตอร์ (Vector) เกิดจากการคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์ มักถูกสร้างขึ้นมาโดยอาศัยการทำงานของโปรแกรม Illustrator, Core Draw ภาพที่ได้จึงมีลักษณะเป็นการ์ตูนหรือเรียกว่า Clip Art สำหรับข้อดีและภาพเวกเตอร์คือ ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเล็กผลงานมีความคมชัด เมื่อขยายก็จะไม่ทำให้คูณภาพของานลดลง
- ภาพบิตแม็พ (Bitmap) เกิดจากพิกเซล ซึ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียงต่อกัน ดังนั้นเมื่อขยายก็ส่งผลทำให้คูณภาพของงานลดลง จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดของสีมาก ๆ เช่น รูปถ่าย เป็นต้น
ความละเอียดที่เหมาะสมของภาพ
ในกรณีที่นำภาพจากเครื่องสแกนเนอร์หรือการจับภาพควรมีความละเอียด 300 dpi ส่งผลทำให้งานเข้าโรงพิมพ์ ภาพที่ปรากฏขึ้นมาจะมีคมชัด และส่วนของภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอลควรมีความละเอียดระดับปานกลาง 2-5 ล้านพิกเซล ส่วนรายละเอียดสูง ควรกำหนดความละเอียดที่ 6 ล้านพิกเซล
ในกรณีทีกำหนดโหมดสี สามารถกำหนดโหมดสีสองโหมดสีคือ RGB และ CMYK โดยปกติภาพที่นำเข้ามาใช้งานที่จะอยู่ในโหมด RGB (Red-Green-Blue) ซึ่งเป็นโหมที่แสดงบนหน้าจอทั่วไปแต่เมื่อต้องการส่งไฟล์งานให้โรงพิมพ์ควรกำหนดให้เป็นโหมด CMYK (Cyan-Magenta-Yellow-Black) เนื่องจากภาพที่อยู่ในโหมด RGB จำมีความสว่างมากกว่าโหมด CMYK ซึ่งการแสดงโหมดสีสามารถทำได้จากโปแกรมตกแต่งภาพทั่วไป เช่น Photoshop เพียงแค่เลือกเมนู Image> Made> CMYK Color
เลือกภาพประกอบสิ่งพิมพ์
ในการเลือกภาพประกอบสิ่งพิมพ์นั้นปัจจุบันเลือกภาพใด ๆ มาประกอบสิ่งพิมพ์ที่เราผลิตนั้นควรเลือกภาพที่มีความระเอียดสูง ประเภทของภาพมีหลากหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่เหมาะกับการสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ได้แก่
ไฟล์สกุล TIF, BMP และ EPS โดยมีรายละเอียดดังนี้
ไฟล์สกุล TIF, BMP และ EPS โดยมีรายละเอียดดังนี้
- TIFF (Tag Image File Format) เป็นรูปแบบที่นิยมในการสร้างสิ่งพิมพ์ เนื่องจากรองรับการแสดงผลบนหน้าจอ ซึ่งภาพที่ได้จะมีลักษณะเป็นบิตแม็พ
- EPS (Encapsulated PostScript) เหมาะกับการส่งโรงพิมพ์เนื่องจากเป็นการคำนวณค่าสี ตามแบบของโรงพิมพ์ 4 สี หรือเรียกว่า CMYK อีกทั้งยังรองรับทั้งเวกเตอร์บิตแม็พ แต่เมื่อแสดงผลบนหน้าจอจะมีความละเอียดที่ต่ำเพียงแต่ 256 สีเท่านั้น
ประเภทของไฟล์
|
นามสกุลไฟล์
|
Al (Adobe lllustrator), Al sequence |
.Al
|
Autodesk Animation |
.FLC, .FLI
|
Bitmap, Bitmap sequence |
.BMP, .RLE, .DIB
|
Compuserve |
.GIF
|
Encapsulated Postscript |
.EPS
|
Filmstrip |
.FLM
|
GIF, animated GIF |
.GIF
|
JPEG |
.JPG, .JPE, .JFIF
|
Macintosh PICT, PICT sequence |
.PIC, .PCT
|
Painbrush |
.PCX
|
Photoshop, Photoshop sequence |
.PSD
|
Targa, Targa sequence |
.TGA, .ICB, .VDA, .VST
|
TIFF, TIFF sequence |
.TIF
|
Windows Meta File |
.WMF
|
1.8 กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
หลังจากการสร้างงานพร้อมทั้งจัดเตรียมไฟล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันแล้ว จากนี้ก็ต้องจัดโรงพิมพ์ หรือศูนย์ที่จะต้องบริการงานพิมพ์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสามารถสรุปได้ ดังนี้
- ระบุลักษณะงาน – ออกแบบจัดหน้า – ตกแต่งภาพ – ออฟเซต – ตัด
- กะต้นฉบับให้กับ – ตรวจแก้ไข – จัดประกอบแบบ – เลตเตอร์เพรลล์ – พับ
เนื้อที่ – เครื่องต้นฉบับ – แยกสี – เฟล็กโซกราฟฟี – ปิ้น
- ระบุเวลาแล้วเสร็จ – กำหนดรายละเอียด – ปรู๊ฟ – กราวัวร์ – ปะ
- ฟิล์ม – อินทาลโย – เข้าเล่ม
- เพลท – ฉลุลายผ้า – ประกอบ
สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยกระจายความรู้ ข่าวสาร เรื่องราว แนวความคิด ประเพณีวัฒนธรรม และธุรกิจต่าง ๆ ไปสู่สังคมมนุษย์อย่างเป็นประสิทธิภาพ และสังคมยิ่งมีความก้าวหน้ามากเพียงใดยิ่งต้องการแพร่กระจายข่าวสารข้อมูลมากขึ้นเพียงนั้น ซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลมาก และเป็นที่ยอรับกันว่าโลกมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารหรืออินเฟอร์เมชั่นเอจ ที่ต้องการความรู้และข้อมูลต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาและตัดสินใจ การให้บริการด้านข่าวสารที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งทำให้เกิดศาสตร์แขนงใหม่มานั้นคือ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
บทสรุป
ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายที่เกี่ยวกับ “สื่อสิ่งพิมพ์” ไว้ดังนี้ คำว่า “สิ่งพิมพ์” หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง ภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
หลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
1. ทิศทางและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement)
2. เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony)
2.1 การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ
2.2 การสร้างความต่อเนื่องกันให้องค์ประกอบ
3. การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด
3.1 ความสมดุล (Balance)
3.1.1 สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance)
3.3.2 สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance)
3.3.3 สมดุลแบบรัศมี (Radial Balance)
4. สัดส่วน (Proportion)
4.1 ความแตกต่าง (Contrast)
4.2 ความแตกต่างโดยขนาด
4.3 ความแตกต่างโดยรูปร่าง
4.4 ความแตกต่างโยความเข้ม
4.5 ความแตกต่างโดยทิศทาง
5. จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition)
ระบบสีของคอมพิวเตอร์
การเลือกภาพประกอบสิ่งพิมพ์
- TIFF (Tag Image File Format) เป็นรูปแบบที่นิยมในการสร้างสิ่งพิมพ์
- EPS (Encapsulated PostScript) เหมาะสำหรับการส่งโรงพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น