วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การออกแบบหนังสือพิมพ์
           หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่รวมเรื่องราว บทวิเคราะห์ ภาพเหตุการณ์ และการโฆษณา
ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถูกจัดไว้อย่างขาดความมีระเบียบลงบนหน้าหนังสือ ก็จะให้ผู้อ่านเกิดความสับสนในเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนได้ว่าในแต่ละหน้าจะบรรจุอะไรไว้บ้าง และในตำแหน่งใด เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบเพื่อให้อ่านได้ง่าย อ่านได้เร็ว และอ่านได้มาก
หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ต้องแข่งขันกับสื่ออื่น ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวในการเสนอข่าวอยู่
ตลอดเวลา เช่น วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง เพื่อให้ข่าวสารต่าง ๆ ที่เสนอต่อผู้อ่านมีความใหม่สดอยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับนิตยสาร วารสาร และหนังสือเล่มแล้วสิ่งพิมพ์เหล่านี้ก็จะอ่านได้ง่ายและดูสวยงามน่าสนใจกว่า หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะนิตยสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นนั้นมีเวลาที่ใช้ในการออกแบบตบแต่ง ทำอาร์ตเวอร์คและเตรียมการมากกว่าหนังสือพิมพ์ แต่ผู้อ่าน ผู้อ่านมักจะสนใจในความยากง่ายของการทำจะสนใจแต่เพียงว่าสิ่งพิมพ์ใดอ่าน ง่าย อ่านสนุก และน่าสนใจมากกว่าเท่านั้น ฉะนั้น เพื่อให้หนังสือสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจให้ได้ ผู้ออกแบบจึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้หนังสือพิมพ์เป็นที่น่าสนใจ ของผู้อ่าน และได้ประโยชน์จากเนื้อหาในขณะเดียวกัน
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น อาจกำหนดแนวคิดของการจัดหน้าได้ดังนี้
           1. บรรณาธิการจะต้องจัดข่าวให้อยู่ในลักษณะที่มีความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อ
ให้ผู้อ่านรู้สึกว่าสามารถอ่านและติดตามข่าวได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เช่น ควรให้ผู้อ่านเข้าใจและติดตามได้ว่าข่าวเริ่มจากจุดใดต่อไปที่คอลัมน์ใดและ ไม่สิ้นสุดที่คอลัมน์ใดโดยง่าย ต้องจัดให้ข่าวพิเศษอยู่ในตำแหน่งที่สะดุดตา หาดูได้สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาค้นหามาก ฉะนั้น การจัดวางข่าวให้ระเบียบจึงเป็นมาตรการสำคัญข้อแรกของการออกแบบ
           2. การจัดวางรูปแบบของข่าวต่าง ๆ ควรให้อยู่รูปแบบที่คงที่สม่ำเสมอและ
สอดคล้องกับหนังสือพิมพ์อื่นตามสมควร เพื่อให้ผู้อ่านสะดวกในการติดตามข่าว โดยไม่ต้องเริ่มต้นหาตำแหน่งของเรื่องราวต่าง ๆ ใหม่ เมื่อไปอ่านหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบในการจัดหน้าและเสนอข่าวจะต้องทำให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์ต่อหน งัสือพิมพ์นั้นตาม
ที่ผู้ทำหนังสือพิมพ์นั้นต้องการ ภาพพจน์นี้เป็นความรู้สึก ทัศนคติ และความคิดเห็นของผู้อ่านต่อหนังสือพิมพ์นั้น ๆ เช่น เกิดความรู้ ความเข้าใจว่าหนังสือพิมพ์นั้น ๆ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด ๆ

           3. จะต้องออกแบบให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้นยิ่งขึ้นต่อสิ่งที่หนังสือพิมพ์นั้น เสนอ
ต่อผู้อ่านเพราะความจริงแล้วหนังสือพิมพ์จะต้องแข่งขันกับสื่อ อื่น ๆ ที่น่าสนใจกว่า เช่น วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะมีความเร้าใจมากกว่าโดยธรรมชาติเพราะมีเสียงพูดเสียงดนตรี หรือภาพประกอบด้วย สิ่งพิมพ์ประเภทวารสาร นิตยสาร ก็สามารถทำให้เห็นจริงเห็นจึงได้มากกว่าโดยการใช้ภาพสี ฉะนั้นเพื่อให้สามารถแข่งขันกับสื่อต่าง ๆ ได้หนังสือพิมพ์จึงจำเป็นที่จะต้องคิดค้นการจัดหน้า และการเสนอข่าวให้น่าสนใจ และน่าทึ่งมากยิ่งขึ้น เช่น การพาดหัวข่าว การใช้ภาพที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ และความสดของข่าว
           การออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นการนำเอาถ้อยคำ ภาพ สี และเส้น และสิ่งประกอบอื่น ๆ มารวมกันให้เป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ การเสนอข่าวสาร โฆษณาและข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้อ่านให้มีความสวยงาม น่าสนใจ และเกิดประโยชน์ใช้สอบมากที่สุดโดยที่สื่อสิ่งพิมพ์ก็เป็นสิ่งพิมพ์ประเภท หนึ่ง ฉะนั้นผู้ออกแบบอาจใช้หลักเกณฑ์ในการออกแบบดังได้กล่าวแล้วในเรื่องมาใช้ได้ นั่นคือ การออกแบบต้องคำนึงถึง ส่วนสัดความสมดุล ความแตกต่าง และความมีเอกภาพอยู่เสมอ
หลักการของการจัดหน้าหนังสือพิมพ์
           การจัดหน้า หมายถึง การออกแบบหน้าแต่ละหน้าของหนังสือพิมพ์ โดยการกำหนด
ตำแหน่งของส่วนต่าง ๆ ในหน้า เช่น พาดหัวข่าว เนื้อข่าว ส่วนโฆษณา ซึ่งในการจัดหน้านี้จะต้องประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ

           1. การจัดทำโครงร่างของหน้า (dummy) เพื่อให้รู้ว่าองค์ประกอบใดควรอยู่ใน
ตำแหน่งใด ซึ่งโครงร่างนี้จะต้องทำให้เรียบร้อยชัดเจน แน่นอน และรัดกุมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะถ้าจัดทำไม่ดีแล้วจะเป็นปัญหาในการเรียงพิมพ์และจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ลงบนหน้าอย่างมาก

           2. การกำหนดตำแหน่ง (positioning) การกำหนดตำแหน่งของข่าว ภาพ และองค์ประกอบต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ โดยปกติดเรื่องราวหรือข่าวที่สำคัญมักจะจัดไว้ ณ จุดศูนย์ กลางของความสนใจ เพราะผู้อ่านจะมองในส่วนนี้ก่อนส่วนอื่น โดยทั่วไปแล้วส่วนบนด้านซ้ายและส่วนบนด้านขวาของหน้าเป็นจุดศูนย์กลบางของ ความสนใจ ส่วนล่างของหน้าทั้งสองข้างก็เป็น
จุดสนใจเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าส่วนบน

          
หลักการที่สำคัญของการกำหนดตำแหน่ง ก็คือ การชักนำให้อ่านอ่านเรื่องราวอย่างเป็นระบบโดยไม่รู้ตัว โดยการกำหนดให้เรียงภาพ หรือข่าวอยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดสนใจและน่าติด
ตาม ผู้อ่านบางคนอาจไม่สนใจตำแหน่งของข่าว แต่จะเลือกหาอ่านเรื่องราวที่ตนสนใจเป็นหลัก แต่ถ้าเรื่องราวหรือข่าวถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่อ่านง่าย เห็นง่าย ไม่สับสน ก็จะช่วยทำให้น่าอ่านยิ่งขึ้น

           3. การจัดหน้าแบบกริดหรือแบบแบ่งเป็นส่วน ๆ (grid) การจัดแบ่งหน้าในระบบกริดนี้เป็นการจัดแบ่งหน้าออกเป็นส่วน ๆ ให้มีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันออกไป การจัดแบ่งทำได้โดยการลากเส้นตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมเป็นช่อง ๆ ซึ่งในการจัดหน้าหนังสือนั้นเส้นกริดจะหมายถึง ช่องว่างที่อยู่ระหว่างคอลัมน์นั่นเอง การลากเส้นกริดเพื่อแบ่งหน้าหนังสือออกเป็นส่วน ๆ นั้นจะต้องคิดวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้การจัดวางคอลัมน์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างชัดเจน
           โดยปกติเนื้อข่าวต่าง ๆ ก็จะถูกจัดให้เป็นรูปเหลี่ยมประกอบด้วยคอลัมน์ย่อย ๆ อาจเป็นการจัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ แต่การแบ่งพื้นที่ต่าง ๆ มักจะไม่เท่ากัน เช่น จะไม่มีการแบ่งให้มี 4 คอลัมน์ ทางซ้าย และ 4 คอลัมน์ทางขวาเลย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะจัดให้มีการแบ่งจำนวนคอลัมน์ของแต่ละข่าวกันดังนี้ คือ 2 และ 4 คอลัมน์หรือ 1 และ 5 คอลัมน์ เป็นต้น และในทำนองเดียวกันก็จะไม่แบ่งให้ส่วนบนกับส่วนล่างเท่ากันด้วย

การจัดหน้าแบบการออกแบบรวม (total design) การจัดหน้าแบบนี้แตกต่างไปจาก

           การจัดแบบระบบกริด โดยมุ่งให้การจัดหน้ามีลักษณะที่น่าทึ่ง น่าสนใจยิ่งขึ้น ด้วยการคิดวางแผนการจัดหน้าและข่าวไว้ล่วงหน้าโดยการจัดวางรูปแบบพื้นฐาน ทั่วไปของหน้าก่อนแล้วจึงพิจารณาบรรจุข่าวลงในรูปแบบที่กำหนด ซึ่งรูปแบบของหน้าที่จัดนั้นก็จัดไว้เป็นพื้นที่กว้าง ๆ ที่มีสัดส่วน

           พอเหมาะที่จะเรียกร้องความสนใจได้ เช่น การจัดให้มีพื้นที่รูปเหลี่ยมขนาดต่าง ๆ อยู่ด้วยกันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ที่มีการเฉลี่ยน้ำหนักของคอลัมน์ที่พอเหมาะเมื่อมองภาพรวมทั้งหน้า แต่อย่างไรก็ตามการจัดการแบบนี้ก็ยังเน้นความเรียบง่าย แต่น่าสนใจการจัดที่มีที่ว่างระหว่างคอลัมน์บ้างจะช่วยให้ดูโปร่งตาและสวย งามมากขึ้น ซึ่งโดยปกติช่องว่างระหว่างคอลัมน์ไม่ควรน้อยกว่า 14 พอยท์ ซึ่งบางครั้งอาจให้กว้างได้ถึง 2 ไพก้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น