การออกแบบโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์
สำหรับการโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์นั้น
ในปัจจุบันนี้ก็ได้แพร่หลายขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้
เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์และรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์มีวิวัฒนาการก้าวหน้าไป
กว่าเดิมอย่างรวดเร็ว
อาจครอบคลุมไปถึงสื่อตัวกลางทุกประเภทที่จะสามารถใช้เป็นพื้นที่ที่พิมพ์ข้อ
ความโฆษณาลงไปได้ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ใบปลิว เอกสารแผ่นพับ
ป้ายประกาศโฆษณา(โปสเตอร์) หีบ ห่อ กล่องบรรจุสินค้า ฯลฯ
ในการออกแบบโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภท
ใด หลักพื้นฐานที่นักออกแบบโฆษณาควรจะต้องทราบ ก็คือ
เรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ขั้นตอนของการทำงานออกแบบ
และหลักเกณฑ์ในการออกแบบ อย่างไรก็ดีแบบของตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาหนึ่ง ๆ
ก็ไม่ควรจะมีมากเกินไปนัก เพราะถ้าหากมากแบบไป อาจจะทำให้แลดูยุ่งเหยิง
ด้อยรสนิยม และอาจทำให้หาจุดเด่น คือ พาดหัวสำคัญไม่พบก็ได้
อาจกล่าวได้ว่าพาดหัวโฆษณาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชิ้นงานโฆษณา
เพราะเป็นส่วนที่นำเสนอแก่น หรือหัวใจของงานโฆษณานั้น
ถ้าผู้อ่านเพียงแต่อ่านพาดหัวก็อาจจะ
องค์ประกอบของโฆษณาในสิ่งพิมพ์
โดยทั่วไปองค์ประกอบของโฆษณาในสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยองค์ ประกอบใหญ่ 4
ประการ ดังนี้
1. พาดหัวโฆษณา (headline) คือ
ส่วนที่เป็นตัวอักษรมักมีลักษณะเป็นประโยคที่ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่
อาจมีประโยคเดียว บรรทัดเดียว หรือหลายบรรทัด หรือหลายประโยค
หลายบรรทัดก็ได้ ในกรณีที่พาดหัวโฆษณายาว
อาจจัดแบ่งเป็นพาดหัวใหญ่และพาดหัวรอง พาดหัวรองก็จะเป็นส่วนขยายพาดหัวใหญ่
ใช้ตัวอักษรขนาดเล็กกว่า หรืออาจจะให้แบบตัวอักษรต่างจากพาดหัวใหญ่ก็ได้
ดังนั้นในพาดหัวโฆษณาจึงอาจมีแบบของตัวอักษรได้มากกว่าหนึ่งแบบอย่างไรก็ดี
แบบของตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาหนึ่ง ๆ ก็ไม่ควรจะมีมากเกินไปนัก
เพราะถ้าหากมากแบบไป อาจจะทำให้แลดูยุ่งเหยิง ด้อยรสนิยม
และอาจทำให้หาจุดเด่น คือ พาดหัวสำคัญไม่พบก็ได้
อาจกล่าวได้ว่าพาดหัวโฆษณาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชิ้นงานโฆษณา
เพราะเป็นส่วนที่นำเสนอแก่น หรือหัวใจของงานโฆษณานั้น
ถ้าผู้อ่านเพียงแต่อ่านพาดหัวก็อาจจะสามารถรู้ทุกสิ่งที่ผู้โฆษณาต้องการจะ
บอกกล่าวก็ได้
ดังนี้ในบางครั้งโฆษณาทั้งชิ้นอาจมีเพียงแต่พาดหัวโฆษณาแล้วมีชื่อผู้โฆษณา
ต่อท้ายเท่านั้น ก็เรียกว่าเป็นชิ้นงานโฆษณาที่สมบูรณ์ชิ้นหนึ่งแล้ว
พาดหัวโฆษณาอาจจะปรากฎที่ตำแหน่งใดในพื้นที่ชิ้นงานโฆษณานั้นก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นส่วนบน ส่วนกลาง หรือส่วนกลาง หรืออาจจะตะแคงพาดมุมซ้าย
มุมขวาก็ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเมื่อประกอบกับองค์ประกอบนั้น ๆ
และวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบว่าต้องการจะใช้พาดหัวโฆษณานั้นให้เกิดผลประการ
ใดต่อผู้อ่าน
นอกจากเรื่องการออกแบบและการกำหนดขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับเนื้
หาและอารมณ์ ของโฆษณาแล้ว
สิ่งที่ผู้ออกแบบพึงระวังเกี่ยวกับเรื่องพาดหัวโฆษณาก็คือ
การแบ่งประโยคของพาดหัว หากเป็นกรณีที่พาดหัวมีขนาดยาว
หรือพื้นที่โฆษณาจำกัด จำต้องแบ่งพาดหัวเป็นหลายบรรทัด ถ้าแบ่งประโยคผิด
ก็อาจทำให้ความหมายของพาดหัวนั้นคลาดเคลื่อนและทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ
ผิดก็ได้ อีกประการหนึ่ง คือ เรื่องเครื่องหมายวรรคตอน
ควรจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักภาษาด้วย
2. เนื้อหาความโฆษณา (copy block) คือ
ส่วนที่เป็นเนื้อหารายละเอียดของโฆษณาทั้งหมด เป็นส่วนขยายของพาดหัวโฆษณา
มักจะเรียงเป็นคอลัมน์หรือบล็อก ขนาดตัวอักษรของเนื้อหาความจะมีขนาดเล็ก
บทบาทหน้าที่ของเนื้อความ คือ
ช่วยย้ำความมั่นใจของผู้อ่านส่วนมากวิธีการเขียนเนื้อความ
มักจะเขียนให้สั้น กะทัดรัด และรวบรัด
แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับการโฆษณาสินค้าบางชนิดที่จำเป็นจะต้องเขียนให้ยาวและ
อธิบายละเอียด เช่นการโฆษณาบริการที่ไม่อาจจะแสดงภาพให้เห็นชัด
และจำเป็นต้องอธิบายชักจูงใจให้มาก เพื่อสร้างความมั่นใจกับลูกค้า เช่น
บริการประกันชีวิต เป็นต้น และนอกจากนี้
การโฆษณาบางประเภทก็อาจจะเน้นที่เนื้อความโดยตรง เช่น
โฆษณาส่งถึงลูกค้าโดยตรงทางไปรษณีย์และสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์
จำเป็นจะต้องใช้เนื้อความยาวและอธิบายละเอียด
ในกรณีที่เนื้อความมีความยาวมาก
ผู้ออกแบบควรจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นบล็อกสั้น ๆ
แต่ละบล็อกอาจมีหัวเรื่องซึ่งเป็นใจความสำคัญของบล็อกนั้นเป็นบรรทัดนำ
แล้วล้อมรอบทั้งหัวเรื่องและบล็อกนั้นไว้ด้วยพื้นที่ว่างสีขาว
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้พักสายตาเป็นช่วง ๆ
3. ภาพ (art) ที่จริง คำว่า “art” ในที่นี้มีความหมายกว้างขวาง
ครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ได้เป็นตัวอักษร คือ หมายความถึง ภาพถ่าย
ภาพลายเส้น ภาพวาด ภาพระบายสี กรอบของภาพ เครื่องประดับตกแต่ง แท่งสีต่าง ๆ
พื้นสีเทาโทนต่าง ๆ ที่เป็นพื้นหลังของชิ้นงานโฆษณานั่น พื้นที่ว่างสีขาว
ตลอดจนแบบของตัวอักษรเอง
ก็สามารถจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะในงานโฆษณาได้
สำหรับภาพถ่ายและภาพวาดนั้น
ต่างก็มีประโยชน์ต่องานโฆษณาไปในแง่มุมที่แตกต่างกัน
ภาพถ่ายสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และให้ความรู้สึกกับคนดูภาพว่า
เป็นของจริงและพร้อมจะเชื่อถือ
ส่วนภาพวาดนั้นสามารถที่จะแสดงจินตนาการทุกอย่างได้ในขณะที่ภาพถ่ายอาจจะทำ
ไม่ได้
นอกจากนี้ภาพวาดก็ไม่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพฤดูกาลดินฟ้าอากาศเหมือนอย่างการ
ถ่ายภาพด้วยกรอบภาพเป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่น่าคำนึงถึง
เพราะนอกจากใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งแล้ว
ยังมีประโยชน์มากในแง่แยกโฆษณาซึ่งงานของเราไม่ได้ไปปะปนกับงานโฆษณา
ซึ่งมีขนาดเท่ากันหรืออยู่ข้างเคียงกัน
4. ชื่อผู้โฆษณา (signature) องค์ประกอบสุดท้าย
เป็นส่วนที่จะบอกกล่าวกับผู้อ่านโฆษณาว่า ใครเป็นเจ้าของโฆษณาชิ้นนั้น
โดยปกติชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณามักจะใช้แบบตัวอักษรที่แตกต่างไปจาก
ตัวอย่างของเนื้อความโฆษณา
เพราะเมื่อจบเนื้อความโฆษณาแล้วในบางชิ้นงานโฆษณาก็จะต่อท้ายด้วยชื่อและที่
ออยู่ของผู้โฆษณาเลย ดังนั้น ก็ควรจะเล่นลวดลายตัวอักษรให้ต่างกัน
อย่างไรก็ตามชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณาไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ท้ายเนื้อความ
โฆษณาเสมอไป อาจจะไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม
ส่วนมากมักจะอยู่ตอนล่างสุดของเนื้อที่ โฆษณา
ศัพท์คำว่าชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณานี้ อาจจะมีศัพท์คำอื่นที่ใช้แทนได้
และก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว้างขวางในวงการโฆษณาด้วย เช่น คำว่า
“logotype” หรือ “logo”
นอกจากชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณาแล้ว
ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญอีกสองประการสำหรับองค์ประกอบสุดท้ายนี้ คือ
เครื่องหมายการค้าและคำขวัญ
ซึ่งมักจะอยู่รวมกับกลุ่มกันกับชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณา
ขั้นตอนในการปฏิบัติงานออกแบบโฆษณา
การปฏิบัติงานออกแบบโฆษณาซึ่งเรียกกันว่า
ทำเลย์เอ้าท์นั้นมีหลายขั้นตอนและมีคุณภาพหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นหยาบ
หรือคร่าวๆ ที่สุดขึ้นไป จนถึงขั้นละเอียดที่สุด
จนอาจจะมองไม่ออกว่าเป็นการวาดหรือเป็นการพิมพ์กันแน่น
การทำงานออกแบบจะหยาบหรือละเอียดอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่า
จะใช้การออกแบบนั้นเพื่ออะไร เช่น
ถ้าหากว่าเพื่อจะส่งให้คนเขียนเนื้อความโฆษณาเอาไปพิจารณาเรื่องขนาด
เนื้อที่ที่เขาควรจะเขียนข้อความหรือให้ช่างภาพดูเพื่อเป็นแแนวทางว่าควรจะ
จัดภาพอย่างไร หรือเป็นแนวทางให้ช่างพิมพ์ให้ขนาดตัวพิมพ์ ถ้าเป็นเช่นนั้น
การออกแบบก็ไม่ต้องละเอียดมาก
แต่ถ้าเป็นกรณีเสนอต่อลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจก่อนที่เขาจะต้องจ่าย
เงินเป็นจำนวนมาก
เพื่อโฆษณาสินค้าของเขาการออกแบบก็ควรจะต้องละเอียดมากขึ้น
การทำเลย์เอ้าท์ ไม่ใช่ว่าคิดแบบแรกได้แล้ว ก็จะสามารถใช้ได้ทันที
กว่าที่กระบวนการการทำเลย์เอ้าท์จะเสร็จสิ้นเป็นที่ตกลงใจกันได้ทุกฝ่ายนั้น
โฉมหน้าของเลย์เอ้าท์
อาจจะเปลี่ยนไปจากความคิดครั้งแรกห่างไกลจนเป็นคนละภาพเลยก็เป็นได้
ระดับขั้นตอนความละเอียดของการทำเลย์เอ้าท์
2.1 ภาพร่าง (thumbnail) เป็นขั้นตอนแรกของการทำเลย์เอ้าท์
ส่วนมากมักจะใช้ขนาดพื้นที่ราว 1/4 ของพื้นที่จริงของโฆษณา
ในพื้นที่ย่อส่วนจากของจริงนี้ นักออกแบบก็จะสะดวกเข้าในการสเก็ตคร่าว ๆ
เช่น ลากเส้นขยุกขยิกแทนภาพ ใช้ดินสอแรเงาเป็นฟันปลาแทนตัวอักษร
ในขั้นภาพร่างนี้ เรื่องที่สำคัญกว่าละเอียดของภาพ คือ
เรื่องสัดส่วนไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของรูปภาพ ขนาดตัวอักษร
ความยาวของเนื้อความโฆษณา
ถึงจะย่อลงมาจากของจริงก็จะต้องย่อลงมาในลักษณะที่ถูกสัดส่วน
2.2 รูปแบบสำเร็จ (finished layout) เป็นการทำเลย์เอ้าขั้นละเอียดขึ้นมากกว่าภาพร่าง
แต่ก็ยังไม่ละเอียดที่สุด
ในขั้นนี้มีการออกแบบตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาเห็นชัดทั้งในรูปแบบ
สไตล์และขนาด สำหรับภาพก็ไม่ใช้เส้นขยุกขยิกแสดงสัดส่วนภาพเท่านั้น
แต่เป็นการแสดงภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพวาด – ภาพเขียน – ภาพถ่าย
ก็ได้เหมือนกัน เมื่อโฆษณาจะออกสู่สายตาสาธารณชน
ขนาดตัวอักษรของข้อความโฆษณาตลอดจนกรอบเนื้อที่ก็จะกำหนดอย่างถูกต้อง
2.3 รูปแบบสมบูรณ์ (comprehensives)
เป็นการออกแบบพื้นที่ละเอียดกว่า ข้นที่ 2
เป็นการนำเสนอชิ้นงานโฆษณาต่อลูกค้า ดังนั้น จึงต้องมีรายละเอียดที่สมบูรณ์
เพื่อให้ลูกค้าพิจารณาก่อนตกลงใจเสียเงินเป็นจำนวนมาก
ในขั้นนี้ตัวอักษรพาดหัวจะต้องเขียนเหมือนของจริงทุกประการ
ส่วนภาพถ้าใช้วาดก็จะต้องวาดให้เหมือนจริง
หากเป็นภาพถ่ายก็จะถูกปะไว้ในจุดที่เป็นจริง
ข้อความโฆษณาจะต้องทำให้เห็นขนาดเนื้อที่ถูกต้อง
ถ้าไม่พิมพ์ให้เหมือนจริงก็จะต้องลากเส้นคู่แสดงขนาดตัวอักษรให้แน่นอน
เมื่อเสร็จแล้วก็มีการเข้ากรอบปิดด้วยแผ่นพลาสติกใส
เพื่อให้ปลอดภัยคงสภาพดีจนไปถึงมือลูกค้าถ้าชิ้นงานโฆษณานั้นจะต้องพิมพ์ใน
ระบบออฟเซต การทำเลย์เอ้าท์ก็ต้องมีขั้นตอนเพิ่มอีกขั้นหนึ่ง คือ
การตัดองค์ประกอบทุกอย่างที่จัดทำไว้ปะ (paste
up)ลงไปในขนาดพื้นที่เท่าจริง
ให้ทุกอย่างประกอบกันในลักษณะที่เหมือนของจริงที่สำเร็จรูปแล้ว ทุกประการ
เพื่อเอาไปทำแม่พิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น