ประวัติการพิมพ์ offset
Offset หรือ การพิมพ์พื้นราบ
มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois
Senefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ ใช้น้ำบางๆ
หรือความเปียกชื้นลงไปคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพก่อนแล้วจึงคลึง
หมึกตามลงไปไขมัน ที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึกและผลึกดันน้ำ
และน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปทาบและใช้น้ำหนักกดพิมพ์พอควร
กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน
ปัจจุบันการพิมพ์พื้นราบที่รู้จักกันในนามพิมพ์หินได้พัฒนาจากการใช้คนดึง
แผ่นหินที่หนาและหนักกลับไปกลับมา เพื่อทำการพิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น
ต่อมาได้มีความ เปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ
จากการใช้แรงคนเป็นเครื่องจักร ไอน้ำและจากเครื่องจักร
ไอน้ำเป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์จากหินเป็นโลหะ
ที่บางเบาสามารถโค้งโอบรอบไม่ได้และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing)
กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ้์(plate cylinder)โดยตรง
แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder)กับโมกดพิมพ์ (imoression
cylinder) ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า
”’ลิโธกราฟี”(Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน
ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ ”ออฟเซต” (offset)
ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น
แล้วเตรียมรับหมึกพิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า
”ออฟเซตลิโธกราฟี”(offset lithography)
ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระดาษผิวหยาบ
พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ
หลักในการพิมพ์ offset
หลักของการพิมพ์ offset คือ
น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสอง ส่วนคือ
บริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่
เป็นพวกเดียวกับหมึก
• หน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์
1. ส่วนที่ไร้ภาพและรับน้ำ จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหรึอความชื้น และผลักดันหมึกให้ออก
นอกบริเวณ
2. ส่วนที่เป็นภาพจะทำหน้าที่รับหมึกและผลักดันน้ำมันออกนอกบริเวณของตน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ๆแตกต่างกัน
• หลักในการถ่าย ทอดภาพของเครื่องพิมพ์ออฟเซต
ออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปในระบบ 3 โม คือ
1. โมแม่พิมพ์
2. โมผ้ายาง
3. โมแรงกด
•
พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แกแม่พิมพ์เมื่อมีการเคลื่อน
ไหว แม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือ ความชื้น แล้วจึงหมุนไปรับน้ำ
แล้วจึงไปรับหมึก เมื่อแม่พิมพ์รับหมึก
ในบริเวณภาพแล้วจะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายาง แล้วจึงถ่านลงวัสดุพิมพ์
โดยมีโมกดพิมพ์รองรับอยู่เป็นระบบการพิมพ์ทางอ้อม
• ประโยชน์ของการพิมพ์ทางอ้อม
1. ในการพิมพ์ภาพลงสู่ผ้ายาง
ผิวของผ้ายางมีความอ่อนนุ่มจึงสามารถแนบกระชับกับผิว
ของของการดาษที่เป็นแอ่ง และขรุขระได้ดีกว่าการใช้แม่พิมพ์โดยตรง
2. ผ้ายางจะไม่ทำให้ตัวของแม่พิมพ์ชำรุด เหมือนกับการพิมพ์ทางตรง
3. สะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของภาพ และข้อความบนแม่พิมพ์เพราะเป็นตัวตรง
ไม่ใช่ตัวกลับอย่าง เลตเตอร์เพลส ซึ่งตรวจสอบได้ยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น