กระบวนการผลิตกระดาษ
กระบวนการผลิตกระดาษในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักร
ขนาดใหญ่มีผล ผลิตมากและมีประสิทธิภาพการผลิตสูง
แต่ก็ยังมีโรงงานขนาดกลางและย่อมที่ผลิตกระดาษเฉพาะอย่าง
กระบวนการผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ
1.ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ
2.ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ
3.ขั้นตอนการทำแผ่น
4.ขั้นตอนการตกแต่งผิว
ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ (Pulping)
ทำเยื่อกระดาษเริ่มจากการนำไม้มาตัดเป็นท่อน ๆ
ลอกเปลือกไม้ออก ทำความสะอาด แล้วสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สามารถทำเยื่อกระดาษได้
3 ประเภทคือ
เยื่อ เชิงกลหรือเยื่อบด (Mechanical Pulp)
เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้พลังงานกล โดยนำชิ้นไม้ไปบดด้วยหินบดหรือจานบด
เยื่อที่ได้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ สั้นและขาดเป็นท่อน
ทำให้กระดาษที่ได้มาไม่แข็งแรง
อีกทั้งยังมีสารลิกนินคงเหลืออยู่ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กระดาษเปลี่ยนเป็นสี
เหลืองเมื่อได้รับแสง
กระดาษที่ได้จากกรรมวิธีนี้มีความทึบสูงดูดความชื้นได้ดี มีราคาถูก
แต่ไม่แข็งแรงและดูเก่าเร็ว มักจะนำไปใช้ทำสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์
เพื่อพัฒนาเยื่อบดให้ดีขึ้น ได้มีการนำชิ้นไม้ไปอบด้วยความร้อนก่อนนำไปบด
เพื่อให้เยื่อไม้กับลิกนินแยกออกจากกันได้ง่าย
คุณภาพกระดาษที่ได้ก็จะดีขึ้น
เยื่อเคมี (Chemical Pulp)
เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมีและความร้อนในการแยกเยื่อและขจัดลิกนิน
เยื่อกระดาษที่ได้จากวิธีการนี้มีความสมบูรณ์กว่าเยื่อบด
แต่ได้ผลผลิตที่ต่ำกว่า ราคาก็สูงกว่า เยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลเฟต
ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลเฟต (Sulfate Pulp)
จะเป็นเยื่อที่เหนียวมีสีคล้ำอมน้ำตาล มักจะนำไปใช้ทำกระดาษเหนียว (Kraft
Paper) สำหรับทำถุงและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
ส่วนเยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลไฟต์ ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลไฟต์ (Sulfite
Pulp) จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเยื่อซัลเฟต
นิยมนำไปฟอกให้ขาวเพื่อใช้เป็นกระดาษสำหรับเขียนและกระดาษเพื่อใช้ในงาน
พิมพ์
เยื่อกึ่งเคมี (Semi-chemical Pulp)
เป็นเยื่อที่ผลิตโดยนำไม้ชิ้นมาต้มในสารเคมีเพื่อให้เยื่อแยกออกจากกันง่าย
ขึ้นและเพื่อละลายลิกนิน เสร็จแล้วจึงนำมาบดด้วยจานบด
กรรมวิธีนี้ทำให้ได้เยื่อที่มีคุณภาพดีกว่าเยื่อบดและได้ผลผลิตมากกว่าเยื่อ
เคมี เยื่อกึ่งเคมีมักนำไปใช้ในการผลิตกระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ยังมีการทำเยื่อจากกระดาษใช้แล้ว
โดยนำมาปั่นเพื่อให้เยื่อกระจายออกจากกันและมีการผ่านขบวนการขจัดสิ่งที่
ติดกระดาษมาด้วยเช่น หมึก กาว ฯลฯ เยื่อที่ได้นี้จะไม่สมบูรณ์ สั้น
เส้นใยขาด จึงไม่มีความแข็งแรง การผลิตกระดาษจึงมักนำเยื่อบริสุทธิ์มาผสม
เนื่องจากมีสารปนเปื้อนตกค้างไม่สมารถกำจัดได้หมด
เยื่อจากกระดาษเก่ามักนำไปใช้ทำกระดาษหนา กระดาษกล่อง และมักจะมีสีคล้ำ
เยื่อที่ผ่านขั้นตอนการผลิตข้างต้น
หากต้องการนำไปผลิตกระดาษที่มีเนื้อสีขาว
ก็จะนำไปผ่านขบวนการฟอกเพื่อกำจัดลิกนินออก เยื่อที่ได้ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ
จะต้องผ่านการเตรียมน้ำเยื่อก่อนที่จะนำไปทำแผ่นกระดาษ
ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ (Stock Preparation)
การเตรียมน้ำเยื่อ
เป็นการทำให้เยื่อกระจายตัวและเติมส่วนผสมให้เหมาะกับการทำกระดาษประเภทที่
ต้องการ การเตรียมน้ำเยื่ออาจมีการนำเยื่อไม้มากกว่า 1
ชนิดมาผสมเข้าด้วยกันเพื่อควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมและเพิ่มสมบัติบางประการ
ให้กับกระดาษที่จะผลิต
การเตรียมน้ำเยื่อเริ่มจากการตีเยื่อให้กระจายอย่างสม่ำเสมอในน้ำเยื่อไม่
จับเป็นก้อน
เสร็จแล้วนำไปบดให้เส้นใยแตกเป็นขลุยเพื่อช่วยการเกาะยึดระหว่างกันดีขึ้น
จากนั้นก็นำสารปรับแต่งต่าง
ๆเพื่อเพิ่มสมบัติของกระดาษตามที่ต้องการพร้อมกันนี้จะมีการปรับความเข้มข้น
ของน้ำเยื่อก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำแผ่น
ขั้นตอนการทำแผ่น (Sheet Formation)
ขั้นตอนนี้เริ่มด้วยการนำน้ำเยื่อลงในถังจ่ายน้ำเยื่อซึ่งจะ
ถูกปล่อยลงบน สายพานตะแกรง น้ำส่วนใหญ่จะเล็ดรอดผ่านช่องของตะแกรงเหล่านี้
เยื่อจะเริ่มเป็นรุปร่างกระดาษ
สายพานตะแกรงจะพาเยื่อกระดาษเข้าสู่ส่วนที่เป็นลูกกลิ้งเพื่อรีดน้ำที่ยัง
ค้างอยู่ออกให้มากที่สุดพร้อมกับกดทับให้เยื่อประสานติดกัน
ต่อจากนั้นกระดาษจะถูกพาไปอบโดยผ่านลูกกลิ้งร้อนหลาย ๆ
ลูกจนเหลือน้ำอยู่น้อยมาก (ประมาณ 4 – 6 % โดยน้ำหนัก)
ขั้นตอนการตกแต่งผิว (Finishing)
กระดาษที่ผ่านการอบแห้งจะถูกนำมาตกแต่งผิวตามที่ต้องการเช่น
การขัดผิว (Calendering) การเคลือบผิวให้เรียบเงาหรือด้าน
กระดาษที่แล้วเสร็จจะถูกจัดเก็บเป็นม้วนเข้าโกดัง
เมื่อมีการออกจำหน่ายก็จะตัดเป็นม้วนเล็กตามหน้ากว้างที่ต้องการ
หรือตัดเป็นแผ่น ๆ ตามขนาดที่ต้องการแล้วห่อเป็นรีม ๆละ 500 แผ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น