วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้ภาพประกอบ
           ภาพประกอบของสื่อเป็นสิ่งที่ช่วยเร้าความ สนใจ และทำให้สิ่งพิมพ์หน้าสนใจ
มากยิ่งขึ้น เพราะผู้ดูจะให้ความสนใจในเบื้องแรกต่อภาพมากกว่าข้อความที่ต้องอ่าน
เพราะใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยกว่า ฉะนั้นหากภาพที่ใช้ประกอบในการออก
แบบมีคุณภาพ สามารถสื่อคามหมายได้ดี และมีความเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุ
ประสงค์ของการใช้สื่อสิ่งพิมพ์นั้นๆแล้ว จะทำให้สิ่งพิมพ์ได้ประโยชน์ตรงตามความ
ต้องการยิ่งขึ้น
หลักในการใช้ภาพประกอบ

     1.1 การคัดเลือกภาพ เพื่อ ใช้ในการประกอบแบบนั้น ต้องพิจารณาถึง
เนื้อหา ข่าวสาร เนื้อความที่สำคัญ และองค์อื่นที่จะช่วยให้เกิดการรับรู้ของ
ผู้อ่านได้ดีขึ้น ไม่ควรคำนึงถึงความรู้สึกของช่างภาพมากเกินไปว่าเขาจะรู้
สึกอย่างไรที่ไม่ใช้ภาพที่เขาถ่ายมา เพราะการฝืนเลือกใช้ภาพที่ไม่มีความ
เหมาะสมจะทำให้สิ่งพิมพ์นั้นลดคุณค่าลงไป

     1.2 ภาพที่คมชัด สวยงาม ไม่จำเป็นต้องเป็นภาพที่เหมาะสมกับการ,
ออกแบบเสมอไปหากไม่เข้ากับเนื้อเรื่อง ภาพที่ตรงกับเรื่องและสามารถ
อธิบายหรือเสริมเนื้อเรื่องได้จะเป็นภาพที่เหมาะสมในการนำมาใช้มากที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ได้ภาพที่คมชัดสวยงามมาแล้วและยังไม่มีโอกาสที่
จะใช้ก็ควรเก็บรักษาไว้และจัดระบบการจัดเก็บให้ดี เพื่อสามารถนำมาใช้ได้ใน
โอกาสต่อไป

     1.3 ภาพคุณภาพต่ำ บางครั้งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาพที่มีคุณภาพต่ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ก็อาจใชเทคนิคการออกแบบมาช่วยโดยการจัดให้ภาพนั้นอยู่ทางด้านล่างของหน้าและ
ไม่พยายามเน้นหรือทำให้เป็นจุดสนมากเกินไป และใช้ตัวอักษรพาดหัวที่มีขนาดใหญ
่เพื่อหันเหความสนใจออกไป หรือใช้สกรีนแบบต่างๆที่แปลกออกไปมาใช้ในการทำ
ภาพให้ดูแปลกตามากขึ้น

     1.4 การบังภาพ (cropping) ในบางกรณีภาพถ่ายที่ได้มาเป็นภาพที่ถ่ายใน
ระยะไกลเกินไป ทำให้ครอบคลุมส่วนอื่นๆที่ไม่ต้องการติดตามมาด้วย ฉะนั้นจึงจำเป็น
ต้องปิดหรือบังส่วนที่ไม่ต้องการออกไป แล้วนำภาพนั้นมาขยายเฉพาะส่วนที่ต้องการ
เท่านั้น ซึ่งเป็นความจำเป็นที่จำต้องทำเช่นนี้เพราะส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องนั้น บางครั้ง
กลายเป็นสิ่งที่ลดความสนใจของผู้อ่านลงไปเพราะเมื่อดูภาพนั้นแล้วหาจุดที่ เป้นจุดเด่น
ของภาพไม่ได้ ถึงแม้ว่าการบังภาพจะทำให้ขนาดของภาพเล็กลงแต่จะได้รายละเอียด
ของภาพมากขึ้น

     1.5 การคัดเลือกภาพ การคัดเลือกภาพเพื่อใช้ประกอบการออก
แบบสื่อสิ่งพิมพ์นั้นจะต้องคิดอยู่เสมอว่างานที่เรากำลังทำอยู่นั้น คือ การ
เลือกภาพใช้ภาพเพื่อธุรกิจของการพิมพ์มิใช่การพิจารณาว่าภาพนั้นมี
ศิลปะหรือมีความสวยงามในแง่ของภาพนั้นมากน้อยเพียงไร นั่นคือ ภาพ
นั้นจะต้องให้ผลดีต่อเนื้อเรื่องที่จะพิมพ์เป็นสำคัญ ถึงแม้บางครั้งภาพที่
ได้จะมิใช่ภาพที่ดีในแง่ของศิลปะการถ่ายภาพก็ตาม
ในกรณีที่มีภาพที่มีคุณภาพดีให้เลือกหลายภาพ เกณฑ์การตัดสิน
ใจก็คือ เลือกภาพที่มีความหมายตรงกับเนื้อความ และเสริมเนื้อหามากที่สุด

     1.6 การทำให้ภาพน่าสนใจขึ้นโดยการจัดเรียงภาพ การใช้ภาพเดี่ยวใน
บางกรณีอาจดูไม่น่าสนใจ หากใช้ภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องมาจัดเรียงลำดับกันขึ้น
จะทำให้ภาพนั้นดูสะดุดตา และน่าสนใจ ซึ่งอาจจัดเรียงในลักษณะใดก็ได้ เช่น เรียง
ตามลำดับไปอย่างปกติ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เรียงในแนวทแยง เป็นต้น

     1.7 การจัดภาพขนาดเล็กให้รวมกันเป็นกลุ่ม
การใช้ ภาพขนาดเล็กสอดแทรกอยู่ในเนื้อความทั่วไป อาจ
ไม่เป็นที่น่าสนใจเท่าที่ควร จึงอาจพิจารณาจัดให้ภาพเหล่า
นั้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ในรูปทรงที่น่าสนใจ ซค่งจะทำให้
เรียกความสนใจได้มากกว่า แต่ต้องคำนงด้วยว่า การจัดเป็น
กลุ่มอาจทำได้หลายวิธีต่างๆเช่น
1)จัดวางภาพทั้งหมดไว้บนแบรคกราวด์เดียวกัน
2)จัดให้ภาพทั้งหมดอยู่ในกรอบที่ปิดทุกด้าน
3)จัดวางบนเส้นตารางห่างๆ
4)จัดเรียงภาพให้มีลักษณะรูปร่างเดียวกันซ้ำๆกันทั้งกลุ่ม
5)จับคู่ภาพที่มีความต่อเนื่องกันหรือใกล้เคียงกันเข้ากัน

    
1.8 การเร้าความสนใจโดยการทำภาพให้มีความต่อเนื่อง บ่อยครั้งการใช้
ภาพเพียงภาพเดียวไม่สามารถอธิบายเรื่องราวได้ทั้งหมด ไม่ว่าภาพที่ใช้จะเป็นภาพที่ดี
เพียงใดก็ตาม จึงจำเป็นต้องใช้ภาพหลายภาพมาจัดเรียงไว้ในลักษณะคล้ายกับการจัดลำดับ
เป็นระยะๆแต่ไม่ต่อเนื่องบนหน้าเดียวกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น และพัฒนา
ความคิดของผู้อ่านตามลำดับซึ่งในการพิจารณาใช้ภาพมาประกอบมาสร้างความคิอให้ เกิด
เป็นลำดับ จะต้องพิจาณาภาพให้ดีและต้องอธิบายเหตุผลของการใช้ภาพแต่ละภาพได้เสมอ
ว่า ทำไมถึงได้ใช้ภาพนั้นๆ ต้องแน่ใจว่ามีความสอดคล้องและสร้างเสริมความเข้าใจเนื้อหา
ได้มากกว่า และที่สำคัญต้องไม่ใช่ภาพมากเกินไป ควรใช้ภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น