วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 ข้อคิดในการออกแบบสิ่งพิมพ์

ความละเอียดของ file ภาพ (File Resolution)ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ก่อนทำการพิมพ์งาน
           ความละเอียดของ file ภาพ (File Resolution)ของการออกแบบสิ่งพิมพ์ มีหน่วยวัดเป็น dots per inch (DPI) หรือ pixels per inch (PPI) คือความหนาแน่นของเม็ดสีต่อความยาว 1 นิ้ว ในแนวตั้ง/แนวนอน ความหนาแน่น (DPI) ยิ่งมาก ความละเอียดและความคมชัดของภาพจะยิ่งสูงขึ้น ความละเอียดของภาพที่แสดงบนจอ monitor จะอยู่ที่ 72 DPI ก็เพียงพอ แต่สำหรับงานพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแล้ว การออกแบบสิ่งพิมพ์จำเป็นต้องใช้ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 DPI ภาพพิมพ์ที่ได้จึงจะมีความคมชัดและให้รายละเอียดที่ดี และถ้าสามารถกำหนดให้การออกแบบสิ่งพิมพ์ละเอียดยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ภาพพิมพ์ออกมามีคุณภาพดียิ่งขึ้น
อนึ่ง หากในช่วงการจัดทำการออกแบบสิ่งพิมพ์ file ภาพ มีการขยายจากภาพที่มีความละเอียด 300 DPI หรือต่ำกว่า ภาพใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีปัญหาด้านความคมชัดได้ หรือ หากภาพเดิมมีความละเอียดต่ำกว่า 300 DPI แล้วมาแปลงเป็น 300 DPI ก็จะประสพปัญหาด้านคุณภาพเช่นกัน
การเลือกใช้ Color Mode ในการออกแบบสิ่งพิมพ์
           เนื่องจากระบบสีที่ ใช้ในการพิมพ์ เป็นแบบ CMYK ในขณะที่ระบบที่ใช้บนจอ monitor เป็นแบบ RGBในช่วงการจัดทำการออกแบบสิ่งพิมพ์ file งานเพื่อใช้ทำสิ่งพิมพ์บนคอมพิวเตอร์นั้น ท่านสามารถทำงานใน RGB color mode ทุกครั้งที่ท่านต้องการตรวจสอบสีที่จะเกิดขึ้นเมื่อนำไปพิมพ์ ท่านสามารถทำได้โดยกด ปุ่ม ‘Ctrl’ กับ ‘Y’ ในโปรแกรม Photoshop เมื่อท่านจัดทำ file งานจนเป็นที่เรียบร้อยพร้อมที่จะส่งมายังโรงพิมพ์ ท่านก็แปลงภาพทั้งหมดให้อยู่ใน CMYK color mode แล้วจึงจัดส่ง file งานให้กับทางโรงพิมพ์ข้อ ควรระวังคือ ไม่ควรแปลง file ภาพกลับไปมา ระหว่าง RGB mode กับ CMYK mode เพราะการแปลงแต่ละครั้ง จะเกิดการเพี้ยนของสีเล็กน้อย การแปลงกลับไปมาหลาย ๆ ครั้ง ยิ่งทำให้ความเพี้ยนมากขึ้น
การเผื่อพื้นที่รอบขอบของงานออก แบบสิ่งพิมพ์
           ในการจัดทำ อาร์ตเวิร์คสำหรับงานพิมพ์นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงภาพหรือสีส่วนที่ปรากฏโดยรอบขอบของชิ้นงานพิมพ์ หากเราออกแบบสิ่งพิมพ์ให้ภาพ/สีบริเวณนั้นไปสิ้นสุดที่แนวขนาดของชิ้นงาน พิมพ์ ชิ้นงานพิมพ์ที่ออกมาอาจจะปรากฏขอบขาวได้ทั้งนี้เกิดจากความคลาดเคลื่อนช่วง ตัดเจียนขอบชิ้นงานพิมพ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในขบวนการผลิต การทำอาร์ตเวิร์คจึงต้องเผื่อพื้นที่ของภาพ/สีเกินออกนอกบริเวณขอบที่เป็น แนวของขนาดชิ้นงานพิมพ์ ดังนั้นจึงมีการกำหนดขอบเขตโดยรอบชิ้นงานดังนี้
           ขอบนอกสุดของการออกแบบสิ่ง พิมพ์ คือแนวสิ้นสุดของภาพ/สีของชิ้นงาน พิมพ์นั้น แนวนี้จะห่างออกมาจากแนวตัดเจียน (แนวที่เป็นขนาดจริงของชิ้นงาน) อย่างต่ำ 0.125 นิ้ว บางครั้ง เราเรียกบริเวณนี้ว่าบริเวณเผื่อตัดตก ในการจัดทำอาร์ตเวิร์คถ้ามีภาพ/สีปูถึงบริเวณแนวขอบตัดเจียน ให้ขยายพื้นที่ภาพ/สีเลยออกจากแนวตัดเจียนมาสิ้นสุดที่ขอบนอกสุดนี้
           ขอบตัดเจียน/ขอบขนาดของชิ้นงาน ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ คือแนว ที่เป็นขนาดจริงของชิ้นงานพิมพ์/ขนาดที่ใช้อ้างอิงในการสั่งซื้อ
ขอบทำงานของการออกแบบสิ่ง พิมพ์ คือกรอบของพื้นที่ที่ ปลอดภัยจากความคลาดเคลื่อนในการตัดเจียน แนวของขอบทำงานจะร่นเข้าไปในเนื้องาน ไม่ต่ำกว่า 0.125 นิ้ว จากแนวตัดเจียน ดังนั้นเนื้องานที่สำคัญ เช่น ข้อความต่าง ๆ จะไม่ถูกตัดขาดหายไปถ้าถูกจัดวางไม่เลยออกนอกขอบทำงานนี้ สำหรับงานหนังสือ (โดยเฉพาะหนังสือที่เย็บมุงหลังคา) แนวด้านข้างของขอบทำงานต้องห่างจากแนวตัดเจียนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการซ้อนกันของหน้าหนังสือตามแนวสัน ทำให้หน้าที่อยู่ใน ๆ แคบกว่าหน้าที่อยู่นอก ๆ
ปัญหาเรื่อง Fonts และ Transparency ของการออกแบบสิ่งพิมพ์
           สำหรับ file งานที่ทำในโปรแกรม InDesign และ Illustrator หรือโปรแกรมที่เป็น vector format ก่อนที่จะทำการส่ง file งานให้โรงพิมพ์ ควรใช้คำสั่ง Flatten ส่วนที่เป็น transparency หรือ ส่วนที่เป็น effect ทั้งหลาย อีกทั้งให้ทำ outline สำหรับ font ของตัวอักษรทั้งหลาย ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการตกหล่นของส่วนที่เป็น transparency หรือความคลาดเคลื่อนของ font ที่อาจเกิดขึ้นได้
Background สีดำของงานออกแบบสิ่งพิมพ์
           ในการให้สีพื้นหลัง (Background) ที่เป็นสีดำ (K 100) ให้ตรวจสอบดูว่าบริเวณดังกล่าวมีเปอร์เซ็นต์ของแม่สีอื่น ๆ ติดอยู่เท่าไร หากมีเปอร์เซ็นต์ของแม่สีอื่น ๆ อยู่สูง เช่น Y 100 M 100 C 100 จะทำให้การพิมพ์มีปัญหา เวลาพิมพ์งาน ชั้นของหมึกบริเวณนั้นจะหนามากและจะแห้งช้า ทำให้สีไปเลอะบนแผ่นพิมพ์ที่อยู่ติดกันและจะทำให้งานเสียหาย เพื่อป้องกันไม่เกิดอาการนี้ ควรตั้งเปอร์เซ็นต์ของสีสำหรับพื้นที่สีดำ ดังนี้ K 100 Y 40 M 50 C 40 (เปอร์เซ็นต์ของ Y M และ C สามารถลดต่ำกว่านี่ได้) หรืออาจ จะตั้งค่า K เท่ากับ 100 แล้ว เลือกสีอื่นสีใดสีหนึ่ง ตั้งค่าไม่เกิน 50
           ในตามความเป็นจริงนั้น การตั้งค่า K เท่ากับ 100 เพียงสีเดียวในส่วนที่เป็นพื้นดำก็น่าจะเพียงพอ แต่ที่มีเปอร์เซ็นต์ของสีอื่นเพิ่มเข้ามาเป็นเพราะในช่วงเวลาพิมพ์ บางครั้งอาจเกิดมีฝุ่นผงในภาพของหมึกพิมพ์ทำให้หมึกสีดำที่จุดนั้นไม่ไปเกาะ บนกระดาษ เกิดเป็นจุดขาวซึ่งมองดูสดุดสายตา แต่ถ้ามีหมึกสีอื่นปูซ้อนทับอยู่ด้วย จะทำให้จุดนั้นลดความเด่นลง และยังช่วยให้พื้นดำนั้นมีน้ำมีนวลมากขึ้นมีความเงามากขึ้นอันเนื่องมาจาก ชั้นของหมึกหนาขึ้น อนึ่ง การเพิ่มสีอื่นลงไปในพื้นดำในเปอร์เซ็นที่ไม่สูงมาก จะไม่ทำให้พื้นสีดำนั้นมีความดำที่ผิดเพี้ยนไปจนเป็นที่สังเกตุ
ตัวอักษรเจาะขาว
           บ่อย ครั้งที่นักออกแบบนิยมทำตัวอักษรเจาะขาวบนพื้นสีเข้มเพื่อดูสะดุดตา หากตัวอักษรดังกล่าวมีขนาดเล็กและบางมากจะสร้างปัญหาให้กับการพิมพ์ทำให้ตัว อักษรขาดหายอ่านไม่ออก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดได้จากการจ่ายหมึกมากเกินไป และหรือมีการเหลื่อมกันของสีแต่ละสีอันเนื่องจากการพิมพ์ซ้อนทับของสีคลาด กันหรือเนื่องจากปัญหาจากกระดาษยืดหดในระหว่างพิมพ์ จึงทำให้พื้นที่ที่เจาะขาวมีสีเข้าไปทับเป็นเหตุให้ตัวอักษรขาดหายไป ดังนั้นการทำตัวอักษรเจาะขาวไม่ควรให้เส้นบางจนเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ดังกล่าว
ภาพต่อระหว่างหน้าของงานออกแบบสิ่งพิมพ์
           การ ออกแบบหน้าหนังสือโดยมีภาพขนาดใหญ่ต่อกันระหว่างสองหน้าที่อยู่ติดกันไม่ได้ เป็นข้อจำกัดใด ๆ ตรงข้าม การพิมพ์และการเข้าเล่มหนังสือที่มีภาพต่อดังกล่าวเป็นความท้าทายสำหรับโรง พิมพ์ การควบคุมการพิมพ์ให้สีคล้ายกันที่สุด (โดยส่วนใหญ่พิมพ์คนละกรอบกัน) และการเข้าเล่มให้ภาพต่อกันได้สนิทจึงต้องอาศัยประสบการณ์และการดูแลอย่าง ใกล้ชิด สิ่งที่ควรระวังเป็นเพียงให้มั่นใจว่าภาพทั้งสองฝั่งมาจาก file เดียวกัน ไม่ได้มีการปรับแต่งฝั่งใดฝั่งเดียว หากมีการตัดภาพออกจากกัน ให้มั่นใจว่าการต่อภาพถูกต้องสมบูรณ์
สีบนจอกับสีในงานพิมพ์ของการออกแบบสิ่ง พิมพ์
           มักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าทำไมภาพบนจอ monitor จึงดูสดใสกว่างานพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจาก ภาพที่เห็นบนจอ monitor เกิดจากจุดกำเนิดแสงสี 3 สี (red, green, blue) ส่องทะลุผ่านจอเข้าตาของเรา ผิดกับภาพที่เห็นบนแผ่นกระดาษพิมพ์ซึ่งเกิดจาก แสงสีขาวสะท้อนผิวขาวของกระดาษผ่านชั้นหมึกพิมพ์ 4 สี (yellow, magenta, cyan, black) แล้วจึงเข้าสู่ตาของเรา หาก file งานเป็น RGB file สีบางเฉดสีที่เห็นบนจอซึ่งเกิดจากการผสมของแม่สี RGB (สีบางสีมีความสดมาก) ไม่สามารถแปลงค่ามาอยู่ในระบบแม่สีแบบ CMYK ได้ จึงทำให้สีเพี้ยนไปไม่เหมือนหน้าจอ เพื่อให้ดูใกล้เคียงกับงานพิมพ์ ให้กด ‘Ctrl’ กับ ‘Y’ เพื่อทดสอบดูสีในระบบ CMYK และก่อนส่ง file งานให้ทางโรงพิมพ์ ให้แปลง file งานให้อยู่ใน mode CMYK
ที่มา : http://www.supremeprint.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น